ดุอาอ์ขอให้มีชีวิตอยู่ถึงรอมฎอน
การขอดุอาอ์ เป็นอิบาดะฮ์ที่ทำได้ง่ายที่สุดและมีความสำคัญอย่างมหาศาล การขอดุอาอ์นอกจากจะเป็นการขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์(ซบ.)ในเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้ขอมีความต้องการแล้ว ยังเป็นการสร้างความผูกพันอย่างแนบแน่นระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจและพลังใจให้มนุษย์มีความมั่นคง สามารถต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้
ดังนั้นดุอาอ์จึงเปรียบเสมือนอาวุธของมุสลิมผู้ศรัทธาทุกคนที่สามารถใช้ได้ทุกครั้ง ยามที่ประสบกับปัญหาและความยากลำบาก อันเป็นบททดสอบในชีวิต ท่านรอซูล(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ ความว่า
“ดุอาอ์เป็นอาวุธของผู้ศรัทธาเป็นเสาหลักของศาสนาเป็นรัศมีแห่งฟากฟ้าและแผ่นดิน” (รายงาน โดยอัล-หากิม)
เหลือเวลาไม่มากแล้ว กำลังจะถึงเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนที่จูงใจให้ผู้ศรัทธาทำความดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดือนอื่น ๆ เน้นการบริจาคทาน หัวใจจะจดจ่ออยู่กับการแสดงความเคารพภักดี(อิบาดะฮ์) ต่ออัลลอฮ์และหันไปหาพระองค์มากขึ้น เรียกได้ว่า รอมฏอนเป็นเดือนแห่งการอบรมจิตใจนั่นเอง เพราะจะไม่ทำในสิ่งที่ไร้สาระ จะทำอะไรต้องระมัดระวังในทุกการกระทำและคำพูด มิเช่นนั้น ก็จะเป็นการถือศีลอดที่ได้แค่เพียงการอดอาหารเท่านั้นเอง รวมทั้งจะได้รับรู้ความยากลำบากคนที่ยากไร้ด้วย
บทความที่น่าสนใจ
- มัดรวมรอมฎอน ดุอาอ์ คำเนียต ละหมาด ซะกาต
- 9 ดุอาอฺ ในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐ
- องค์ประกอบหลักของการถือศีลอด
- ถือศีลอดไม่ใช่แค่อดข้าวอดน้ำ
- 22 คำถามเกี่ยวกับการถือศีลอด อะไรทำไม่ได้ อะไรทำได้
เดือนรอญับเปรียบดั่งประตูสู่เดือนรอมฎอน ฉะนั้นจึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมพร้อมในเดือนนี้ เสมือนที่ท่านอบูบักร อัลบัลคิยฺ เราะหิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า:
“เดือนรอญับ เป็นเดือนแห่งการเพาะปลูก และเดือนชะอฺบานเป็นเดือนแห่งการรดน้ำใส่ปุ๋ย ส่วนเดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการเก็บเกี่ยวผลผลิต”
ดุอาอ์ขอให้มีชีวิตอยู่ถึงรอมฎอน
اللَّهُمَّ بَارِكْ لَنَا في رَجَبَ وَشَعْبَانَ وَبَلِّغْنَا رَمَضَانَ
คำอ่าน: อัลลอฮุมมะบาริกละนา ฟีรอญับ วะชะอฺบาน วะบัลลิฆนา รอมฎอน
ความหมาย: โอ้อัลลอฮ์ ขอให้เรามีความจำเริญในเดือนรอญับและเดือนชะอฺบาน และขอให้เราบรรลุสู่เดือนรอมฎอน
ดุอาอ์บทนี้เป็นที่ท่านนบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) อ่านในเดือนรอญับและชะอฺบานเป็นประจำ เพื่อที่ให้ชีวิตของท่านได้บรรลุอยู่ถึงเดือนรอมฎอน ฉะนั้นขอเชิญชวนพี่น้องทุกท่านท่องจำและอ่านกันเยอะ ๆ อามีน
บทความที่น่าสนใจ
Tags: