สิ่งที่ต้องปฏิบัติในเดือนรอมฎอน
1. ตั้งใจ (หนียต)การถือศีลอด ในเวลาส่วนหนึ่งส่วนใดของกลางคืน (ระหว่างพระอาทิตย์ตกกับแสงอรุณ) และแม้ถ้าเขาตื่นมาทานอาหารซาฮูรในเวลากลางก่อนฟาญัรหรือตื่นมาละหมาดตะฮัจญุดหรืออื่นๆ ด้วยความตั้งใจที่จะถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ ถือว่าเป็นการเหนียตในเวลากลางคืนแล้ว ท่านศาสดากล่าวว่า
مَنْ لَمْ يُبَيِّتْ الصِّيَامَ
مِنْ اللَّيْلِ فَلَا صِيَامَ لَهُ
[رواه النسائي]
ใครก็ตามไม่ตั้งเจตนาจะถือศีลอดในค่ำคืนนั้นไม่นับว่าเขาได้ถือศีลอด
ในแต่ละวันของการถือศีลอดถือเป็นอิบาดะฮฺที่อิสระต่อกัน ไม่ข้องเกี่ยวกัน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งเจตนา(เหนียต) ทุกๆ วัน ในเวลากลางคืน
2. งดเว้นทุกสิ่งที่ทำให้เสียศีลอด เริ่มจากรุ่งอรุณจริง จนถึงพระอาทิตย์ตกดิน ด้วยความตั้งใจอิบาดะฮฺต่อองค์อภิบาล ศาสดา ศ็อล ฯ กล่าวว่า
إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ
رواه الشيخان .
แท้จริงทุกๆการงานจะขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา
3. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำลายการถือศีลอด ซึ่งมีหลายประเภทดังต่อไปนี้
3.1 การมีเพศสัมพันธ์โดยการสอดใส่อวัยวะเพศของชายในช่องคลอด ถือเป็นประเภทอกุศลธรรมที่ใหญ่ที่สุดของสิ่งที่ทำลายการถือศีลอดเป็นโมฆะ
3.2 ใครก็ตามที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างวันในเดือนรอมฎอน และผู้กระทำผิดนั้น จะต้องเตาบะฮ และจะต้องชดใช้พร้อมกับต้องจ่ายค่าปรับ(กัฟฟาเราะฮ) ดังปรากฏในฮาดิษของชายคนหนึ่งที่มีเพศสัมพันธ์กับภรรยา ศาสดากล่าวกับเขาว่า
أَعْتِقْ رَقَبَةً قَالَ ما أَجِدُهَا
قَالَ فَصُمْ شَهْرَيْنِ مُتَتَابِعَيْنِ
قَالَ لَا أَسْتَطِيعُ قَالَ فَأَطْعِمْ
سِتِّينَ مِسْكِينًا [ رواه الشيخان]
จงปล่อยทาสหนึ่งคน เขาตอบว่า "ฉันไม่มีทาส" รอซูลุลกล่าวว่า "จงถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน" เขากล่าวว่า "ฉันไม่สามารถ!" ท่านรอซูลกล่าวว่า "จงให้อาหารแก่คนมิสกีน 60 คน"
3.3 สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด เช่น หลั่งอสุจิโดยเจตนา โดยการจูบ สัมผัส สำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองหรือสิ่งที่คล้ายกันในหะดิษอัลกุดซีย์พระองค์ตรัสว่า
يَتْرُكُ طَعَامَهُ وَشَرَابَهُ
وَشَهْوَتَهُ مِنْ أَجْلِي
[ رواه البخاري.]
เขางดเว้นอาหารเครื่องดื่มและอารมณ์เพื่อข้า
3.4 สำหรับการสัมผัส กอด จูบ ลูบ คลำโดยตรง โดยไม่มีการหลั่งไม่ทำให้เสียศีลอด นางอาอิฉะห์กล่าวว่า
كَانَ النَّبِيُ صَلَّى اللهُ
عَلَيهِ وَسَلَّم يُـقَبِّلُ
وَيُبَاشِرُ وَهُوَ صَائِمٌ
وَكَانَ أَمْلَكَكُمْ لإرْبِـهِ
[رواه الشيخان]
ท่านรอซูลได้จูบและสัมผัส(กับภรรยา)ขณะที่ท่านถือศีลอด ท่านเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ความใคร่ของท่านได้ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน"
กรณีหลั่งอสุจิโดยการฝันหรือจินตนาการณ์ ไม่ทำให้เสียศีลอด
4. เจตนารับประทานอาหารหรือดื่ม หรือเจตนาเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้าไปในเขตภายในของอวัยวะ เช่น หู ปาก จมูก ทวารหน้า ทรารหลัง อัลลอฮ์ตรัสว่า
وَكُلُوا وَاشْرَبُوا
حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ
الْخَيْطُ الْأَبْيَضُ
مِنَ الْخَيْطِ الْأَسْوَدِ
مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّوا
الصِّيَامَ إِلَى اللَّيْلِ
[البقرة: 187].
และจงกิน และดื่ม จนกระทั่งเส้นขาวจะปรากฏแก่พวกเจ้าจากเส้นดำจากแสงรุ่งอรุณ แล้วพวกเจ้าจงถือศีลอดให้ครบเต็มจนถึงพลบค่ำ
5. สิ่งที่อยู่ในความหมายของการกินหรือดื่ม เช่น การฉีดเลือดเข้าสู่ร่างกายของผู้ถือศีลอด เพราะเลือดช่วยหล่อเลี้ยงร่างกายและการฉีดสารอาหารเข้าเส้นเลือด เช่นการให้น้ำเกลือ การให้สารวิตามินชนิดต่างๆ เป็นต้น
สำหรับฉีดยาเพื่อการรักษา เช่น ลดอาการตัวร้อนหรือลดความดัน เป็นต้น ไม่ทำให้เสียการถือศีลอด ตามความเห็นของนักวิชาการร่วมสมัย
เจตนาทำให้อาเจียน นบี ศ็อลฯ กล่าวว่า
مَنْ ذَرَعَهُ الْقَيْءُ
فَلَيْسَ عَلَيْهِ قَضَاءٌ
وَمَنْ اسْتَقَاءَ عَمْدًا
فَلْيَقْضِ [ رواه أحمد]
ผู้ใดที่อาเจียนออกมาเองไม่ต้องถือศีลอดใช้และผู้ใดตั้งใจให้อาเจียนออกมาจะต้องถือศีลอดใช้
6. มีเลือดประจำเดือน (เฮด) หรือเลือดหลังคลอดบุตร (นิฟาส) นบีกล่าวแก่สตรีว่า
أَلَيْسَ إِذَا حَاضَتْ
لَمْ تُصَلِّ وَلَمْ تَصُمْ
[رواه البخاري]
เมื่อสตรีมีประจำเดือนเธอไม่ละหมาดและไม่ถือศีลอดไม่ใช่หรือ
7. เสียสติ โดยเป็นลม สลบ หรือเป็นบ้า ตกมุรตัด คือ สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม
การถือศีลอดจะเสียได้ด้วยเหตุดังกล่าว ต้องกระทำด้วยความสมัครใจของผู้ถือศีลอด ผู้ถือศีลอดอยู่ในภาวะหลงลืม ไม่ถูกบังคับหรือไม่ใช่ผู้ญาฮีล (ขาดความรู้) ถ้าผู้ถือศีลอดมีภาวะหลงลืม ถูกบังคับหรือขาดความรู้ในเรื่องดังกล่าว ไม่ทำให้เสียศีลอด ดังหะดิษนบี ศ็อลฯ กล่าวว่า
مَنْ نَسِيَ وَهُوَ صَائِمٌ
فَأَكَلَ أَوْ شَرِبَ فَلْيُتِمَّ
صَوْمَهُ فَإِنَّمَا أَطْعَمَهُ اللَّهُ وَسَقَاهُ
[رواه الشيخان]
ผู้ใดที่ลืมในขณะที่เขาถือศีลอด แล้วเขากินหรือดื่มก็ให้เขาถือศีลอดให้ครบ เพราะแท้ที่จริงอัลลอฮฺ ได้ทรงประทานอาหารแก่เขาและทรงประทานเครื่องดื่มแก่เขา
ที่มา: Farid Azhari
Tags: