ประตูแห่งความดีแด่ผู้มีชีวิตถึงรอมฎอน ตอนที่ 41-50
ประตูแห่งความดี ตอนที่ 41-50 มาสานต่อการทำอิบาดะฮ์ในเดือนรอมฎอนซึ่งเน้นการซิกรุลลอฮฺหลังละหมาดฟัรฏู ละหมาดตะรอเวี๊ยะ ละหมาดอีด ฝึกฝนลูกหลานให้ละหมาดและถือศีลอด รวมถึงการละศีลอด มาดูรายละเอียดกัน
41. การละหมาดและติดตามญะนาซะฮฺ “ผู้ที่ได้เยี่ยมญะนาซะฮฺพร้อมทั้งละหมาดให้เขาได้รับผลบุญเท่าหนึ่งกีรอต และผู้ที่เข้าร่วมจนกระทั่งฝังเขาจะได้รับผลบุญเท่าสองกีรอต มีคนกล่าวว่า : สองกีรอตนี้เท่าไหร่ ? ท่านรอซูลตอบว่า : เท่ากับภูเขาใหญ่สองภูเขา” (อัลบุคอรียฺและมุสลิม)
42. การละหมาดที่บ้านสำหรับผู้หญิง “พวกท่านอย่าได้ห้ามบรรดาผู้หญิงของพวกท่านไปละหมาดที่มัสยิด และการละหมาดที่บ้านของพวกนางย่อมประเสริฐกว่า” (อะบูดาวุด)
43. เอาใจใส่ต่อการละหมาดอีดในสนาม (มุศ็อลลา) “ปรากฏว่าท่านรอซูลออกไปละหมาดวันอีดิลฟิตรีและอีดิลอัฏฮาที่มุศ็อลลา” (อัลบุคอรียฺ)
บทความที่น่าสนใจ
- หะดีษบทที่ 37 ให้นำสตรีออกไปร่วมละหมาดอีด
- หุก่มการกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีด การจับมือและการสวมกอดหลังละหมาดอีด
- หะดีษบทที่ 36 ให้ทานอาหารเล็กน้อยก่อนออกไปละหมาดอีด
- การละหมาดชดจากละหมาดอีดทั้งสอง
- ว่าด้วยการละหมาดอีดที่บ้าน มุสลิมต้องปฏิบัติอย่างไร
- วิธีละหมาดอีดิลฟิฏรฺ (วิธีละหมาดอีด) ขั้นตอนง่ายๆ
44. ฝึกฝนลูกหลานให้ละหมาด “จงใช้ลูกหลานของพวกท่านให้ละหมาดขณะอายุของพวกเขาได้ 7 ปี และให้ตีพวกเขา (หากขาด) เมื่ออายุได้ 10 ปี และจงแยกที่นอนของพวกเขา” (อะบูดาวุด)
45. ฝึกฝนลูกหลานให้ถือศีลอด จากอัรรอบีอฺ บินติ มุเอาวัซ กล่าวว่า: "พวกเราได้ถือศีลอดและฝึกฝนให้ลูกหลานของเราถือศีลอด และเราได้ให้ของเล่นแก่พวกเขาเพื่อให้ลืมความหิวโหย” (อัลบุคอรียฺ)
บทความที่น่าสนใจ
- คำเนียต คำกล่าว หรือการตั้งเจตนา ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
- เวลาอิมซากคือเวลาใด มีเฉพาะเดือนรอมฎอนเท่านั้นหรือ
46. ซิกรุลลอฮฺหลังจากละหมาดฟัรฏู “ผู้ใดที่กล่าว ”ซุบฮานัลลอฮฺ” ทุกครั้งหลังละหมาด 33 ครั้ง “อัลฮัมดุลิลลาฮฺ” 33 ครั้ง “อัลลอฮุอักบัร” 33 ครั้ง รวมเป็น 99 ครั้ง ต่อจากนั้นเขากล่าวว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วะฮฺดาฮูลาชะรีกาละฮฺ ละฮุลมุลกุ วะลาอุลฮัมดุ วะฮูวาอะลากุลลีชัยอินกอดีร” ความผิดของเขาจะถูกลบล้างถึงแม้จะมีมากเท่าฟองน้ำในทะเล” (มุสลิม)
47. รักษาละหมาดตะรอเวี๊ยะ “ละหมาดที่ประเสริฐสุดหลังจากละหมาดฟัรฏู คือ ละหมาดในยามกลางคืน” (มุสลิม)
บทความที่น่าสนใจ
48. ให้รีบในการละศีลอด “มนุษย์จะยังคงอยู่ความดีงาม ตราบใดที่พวกเขารีบเร่งในการละศีลอด” (อัลบุคอรียฺ)
บทความที่น่าสนใจ
49. ให้ละศีลอดก่อนละหมาด “ปรากฏว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านจะละศีลอดก่อนที่ท่านจะละหมาด” (อะหฺมัด)
50. ละศีลอดด้วยอินทผลัม “ผู้ที่มีอินทผลัมก็จงละศีลอดกับมัน หากไม่มีอินทผลัมก็จงละด้วยกับน้ำ แท้จริงน้ำนั้นสะอาด” (อะหฺมัด , อะบูดาวุดและอัตติรมิซียฺ)
บทความที่น่าสนใจ
Tags: