ดุอาอ์ให้ได้รับเหมือนที่นบี(ซล.)ขอ
اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ مِنَ الْخَيْرِ كُلِّهِ، عَاجِلِهِ، وَآجِلِهِ، مَا عَلِمْتُ مِنْهُ، وَمَا لَمْ أَعْلَمْ، وَأَعُوْذُ بِكَ مِنَ الشَّرِّ كُلِهِ ، عَاجِلِهِ، وَآجِلِهِ ، مَا عَلِمْتُ مِنْهُ، وَمَا لَمْ
أَعْلَمْ ، وَأَسْأَلُكَ الْجَنَّةَ، وَمَا قَرَّبَ إِلَيْهَا مِنْ قَوْلٍ عَمَلٍ، وَأَعُوْذُ بِكَ مِنَ النَّارِ، وَمَا قَرَّبَ إِلَيْهَا مِنْ قَوْلٍ أَوْ عَمَلٍ ، وَأَسْأَلُكَ مِنَ الْخَيْرِ مَا سَأَلَكَ عَبْدُكَ وَرَسُوْلُكَ مُحَمَّدُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، وَأَسْتَعِيذُكَ مِمَّا اسْتَعَاذَكَ مِنْهُ عَبْدُكَ وَرَسُوْلُكَ مُحَمَّدُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، وَأَسْأَلُكَ مَا قَضَيْتَ لِي مِنْ أَمْرٍ أَنْ تَجْعَلَ عَاقِبَتَهُ رَشَدًا
คำอ่าน: อัลลอฮุมม่ะ อินนี อัสอะลุกะ มินัลค็อยริ กุลลิฮี อาญิลิฮี ว่ะอาญิลิย์ มาอะลิมตุ มินฮุ ว่ะมาลัม อะอ์ลัม ว่ะอะอูซุ บิกะ มินัชชัรริ กุลลิฮี อาญีลิฮี ว่ะอาญิลิฮ์ มาอะลิมตุ มินฮุ ว่ะมาลัม อะอ์ลัม ว่ะอัสอะลุกัล ญันนะตะ ว่ะ มาก็อรเราะบะ อิลัยฮา มินเกาลิน เอาอะมัล ว่ะอะอูซุบิกะ มินันนาริ ว่ะมา ก็อรเราะบะ อิลัยฮา มินเกาลิน เอาอะมัล ว่ะอัสอะลุกะ มินัลค็อยริ มา ซะอะละกะ อับดุกะ ว่ะเราะซูลุกะ มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะซัลลัม ว่ะอัสตะอีซุกะ มิมมัสตะอาซะกะ มินฮุ อับดุกะ ว่ะเราะซูลุกะ มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ ว่ะซัลลัม ว่ะอัสอะลุกะ มาเกาะฎีอยตะลี มินอัมริน อัน ตัจญ์อะละ อากิบะตะฮู เราะชะดา
คำแปล: “โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงฉันขอต่อพระองค์ซึ่งความดีงามทุก ประการ ทั้งในขณะนี้และหลังจากนี้ ทั้งสิ่งที่ฉันรู้และสิ่งที่ฉันไม่รู้ และฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายทุก ประการ ทั้งในขณะนี้และหลังจากนี้ ทั้งสิ่งที่ฉันรู้และสิ่งที่ฉันไม่รู้ และฉันขอต่อพระองค์ซึ่งสวนสวรรค์และสิ่งที่ทำให้เข้าใกล้มันไม่ว่า จะเป็นคำพูดหรือการกระทำ และฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ให้พ้นจากไฟนรกและสิ่งที่ทำให้เข้าใกล้มันไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือ การกระทำ และฉันขอต่อพระองค์ซึ่งความดีงามตามที่บ่าวของ พระองค์และเราะซูลของพระองค์ “มุฮัมมัด” ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ขอต่อพระองค์ และฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้ พ้นจากสิ่งที่บ่าวของพระองค์และเราะซูลของพระองค์ “มุฮัมมัด” ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ และ ฉันขอต่อพระองค์ซึ่งสิ่งที่พระองค์กำหนดให้ฉันจากการงานใด ได้ โปรดให้บั้นปลายของมันอยู่ในหนทางที่ถูกต้องด้วยเถิด”
ที่มา:
อบูบักร เราะฎิยัลลอฮุอันฮ์ ได้เข้ามาหาท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยต้องการจะพูดกับท่านขณะที่อาอิชะฮ์ กำลังละหมาดอยู่ ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ กล่าวแก่เธอว่า “เธอจงขอดุอาอ์แบบครอบคลุม” (หรือท่านได้ใช้คำอื่น) เมื่ออาอิชะฮ์ละหมาดเสร็จ เธอจึงถามท่านนบีถึงการดุอาอ์แบบครอบคลุม ว่าเป็นอย่างไร ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า “เธอ จงกล่าวดุอาอ์บทนี้” (สรุปจากหะดีษบันทึกโดยอิบนุมาญะฮ์ หมายเลข 3846 และอะหมัด หมายเลข 25137 โดยสำนวนที่ยกมาเป็นของอะหมัด, ชุอัยน์ อัลอัรนาอูฏ กล่าวว่าหะดีษนี้มีสายรายงานที่เศาะเฮียฮ์)
บทเรียน:
1. อบูบักร อัศศิดติ๊ก เราะฎิยัลลอฮุอันฮ์ เป็นสหายสนิทและเป็นที่รักของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มากที่สุด อีกทั้งยังมีความเกี่ยวดองทางการแต่งงานผ่านท่านหญิงอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ผู้เป็นภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และเป็นลูกสาวของอบูบักร เราะฎิยัลลอฮุอันฮ์ กระทั่งครั้งหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตอบคำถามของผู้ที่ถามท่านว่าใครคือบุคคลที่ท่าน รักมากที่สุด
ท่านนบีตอบ “อาอิชะฮ์”
ผู้ถามอธิบายเพิ่มเติมว่า “หมายถึงผู้ชายครับท่านนบี?”
ท่านนบีจึงกล่าวตอบว่า “คุณพ่อของเธอ (หมายถึง อบูบักร)” (บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)
ดังนั้น จึงเข้าใจได้โดยปริยายว่าดุอาอ์นี้เป็นบทที่ยอดเยี่ยมที่สุด เพราะท่านนบีได้สอนให้กับคนที่ท่านรักที่สุด
2. ครอบครัวท่านนบีและผู้อยู่ใกล้ชิดกับท่านมีโอกาสได้รับ ความดีงามมากที่สุด เราเองก็เช่นกัน ยิ่งใกล้ชิดกับซุนนะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็เท่ากับยิ่งเข้าใกล้ทางนำและความดี
3. คำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กระชับ, คมคาย และมีความหมายที่ครอบคลุม ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ฉันได้รับ แก่นของคำพูดต่างๆ” (บันทึกโดยมุสลิม)
การได้ใกล้ชิด ศึกษา คิดตาม และใคร่ครวญคำพูด, ปรัชญา และ คำสอนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะทำให้เราเป็นผู้มี ความคิด, คำพูดคมคายและครอบคลุมเช่นกัน ด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์
4. ความดีงามทุกประการอยู่ ณ อัลลอฮ์ และพระองค์คือผู้รู้ดี ยิ่งกว่าเราและปวงบ่าวทั้งผองถึงความดีงามที่มนุษย์คนหนึ่งพึงได้รับจาก โลกนี้และโลกหน้า นี่คือความจำเป็นที่เราต้องขอความดีงามจากพระองค์ และขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายด้วย
5. อิสลามไม่ปฏิเสธความดีงามในโลกนี้ที่มนุษย์พึงได้รับและสามารถขอต่อพระองค์ได้ แม้ความดีงามในโลกหน้าจะดีกว่าและยั่งยืนกว่าก็ตาม (ซูเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ อายะฮ์ที่ 32)
6. มนุษย์มีความรู้ที่จำกัดและเพียงเล็กน้อย แม้แต่ความดีที่ ตัวเองพึงได้รับและความชั่วร้ายที่ควรออกห่างก็ยังมีที่ไม่รู้อีกมาก แล้ว นับประสาอะไรจะไปแสดงความหยิ่งยโสต่ออัลลอฮ์ และแสดงการ อวดรู้ต่อผู้คน
7. ไม่มีใครปกป้องเราให้พ้นจากความชั่วร้ายได้นอกจากอัลลอฮ์ เพราะพระองค์เป็นผู้สร้างมันมาเพื่อเป็นบททดสอบแก่ปวงบ่าวให้พวก เขาได้หันไปหาและพึ่งพาพระองค์ อีกทั้งยังต้องตระหนักเสมอถึงความ อ่อนแอของตน
8. ความดีงามยอดเยี่ยมที่สุดที่มนุษย์พึงได้รับคือ “สวนสวรรค์” ของอัลลอฮ์ เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในโลกหน้าซึ่งย่อมดีกว่าและยั่งยืนกว่าสิ่ง ที่จะได้รับในโลกนี้ แม้ “ชีวิต” และ “ทรัพย์สิน” จะเป็นสิ่งดีงามและ จำเป็นที่บ่าวต้องปกป้องและรักษามันตามหลักการอิสลามที่ได้สอนไว้ กระนั้นอัลลอฮ์ ตะอาลา ก็ยังเสนอซื้อมันทั้งสองจากบ่าวผู้ศรัทธาด้วย กับ “สวนสวรรค์” ของพระองค์
“แท้จริงอัลลอฮ์ได้ซื้อจากบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขา แลกกับการที่พวกเขาจะได้รับสวนสวรรค์” (ซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ อายะฮ์ที่ 11)
ซึ่งแน่นอนว่า “สินค้า” ของอัลลอฮ์ย่อมมีมูลค่าและราคาที่แพงลิบ การตกลงซื้อขายครั้งนี้จึงคุ้มค่ายิ่งนัก
9. ปัจจัยที่จะทำให้ใครคนหนึ่งเข้าสวรรค์มีทั้งที่เป็น “คำพูด” และ “การกระทำ” ซึ่งล้วนมาจากผลผลิตแห่ง “ความคิด” และชีวิต "ความเป็น” อยู่ของเรา ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องอยู่แบบชาวสวรรค์ คิดแบบชาวสวรรค์และเป็นแบบชาวสวรรค์ ซึ่งลักษณะของพวกเขาแตกต่างจากชาวนรกโดยสิ้นเชิง
“ชาวนรกและชาวสวรรค์ย่อมไม่เท่าเทียมกัน ชาวสวรรค์ต่างหากคือผู้ได้รับชัยชนะ” (ซูเราะฮ์อัลหัชร์ อายะฮ์ที่ 20)
เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว หากมีใครมาพูดไม่ดีและทำไม่ดีกับเรา หรือ แสดงลักษณะบางอย่างของชาวนรกต่อเรา เราก็ต้องมีสติและตอบโต้ กลับไปด้วยสิ่งที่ดีกว่า นั่นคือตอบกลับด้วยลักษณะของชาวสวรรค์เท่านั้น
10. “คำพูด” และ “การกระทำ” บางประการอาจนำสู่หรือ ทำให้เข้าใกล้กับไฟนรก เราจึงต้องหมั่นขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ ขณะเดียวกันก็ต้องระวังคำพูดและการกระทำของตน หรือที่เรียกว่าการมี ตักวานั่นเอง
11. มนุษย์ที่รู้จักความดีงามและความชั่วร้ายดีที่สุดคือ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อีกทั้งท่านยังเป็นผู้ที่ปรารถนาดีกับผู้คนอย่างที่สุดและยังรู้จักอัลลอฮ์มากกว่าใคร จึงเหมาะสมยิ่งที่เราจะขอความดีในสิ่งที่นบีขอ และขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ในสิ่งที่นบีขอความคุ้มครอง
12. ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีสถานะเป็น “บ่าว” และ “เราะซูล” ของอัลลอฮ์ นี่คือแนวทางอันเที่ยงตรง ผู้ศรัทธาจะไม่ยกย่องนบีจนเกินเหตุกระทั่งกลายเป็นพระเจ้า เพราะท่านเป็นเพียง “บ่าว” ของอัลลอฮ์
และจะไม่ดูถูกเหยียดหยามท่าน เพราะท่านคือ “เราะซูล” ของพระองค์
อีกนัยหนึ่ง คำว่า “บ่าว” มาจาก “عَبْدُ” คือการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ นั่นคือภารกิจที่ท่านนบีแสดงออกและปฏิบัติตลอดชีวิต ส่วนคำ ว่า “เราะซูล” (رَسُوْلُ) คือผู้นำสารของอัลลอฮ์มายังมวลมนุษยชาติ ซึ่งก็เป็นอีกภารกิจที่ท่านได้ปฏิบัติอย่างไม่บกพร่อง
เนื้อหาและที่มาของดุอาอ์บทนี้นับเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของการที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็น “บ่าว” และ “เราะซูล” ของอัลลอฮ์
13. ทุกกำหนดของอัลลอฮ์ล้วนดีงามเสมอสำหรับผู้ศรัทธาต่อ พระองค์และศรัทธาต่อกฎกำหนดสภาวะของพระองค์ เขาย่อมสามารถ พบเห็นสิ่งที่ดีงามจากทุกความดีและความชั่วที่เกิดขึ้นเสมอ ดังที่อัลลอฮ์ ตะอาลา กล่าวไว้ความว่า “ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นได้เว้นแต่ด้วยอนุมัติของ อัลลอฮ์ และใครที่ศรัทธาต่อพระองค์ (และเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกำหนด จากพระองค์) พระองค์จะให้ทางนำแก่หัวใจของเขา และอัลลอฮ์เป็น ผู้รอบรู้ในทุกสิ่ง” (ดู ซูเราะฮ์อัตตะฆอบุน อายะฮ์ที่ 11)
14. ไม่มีใครสามารถทำให้การงานที่เราทำอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง และเที่ยงตรงได้นอกจากอัลลอฮ์ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องดุอาอ์ในทุกร็อกอะฮ์ ของเวลาละหมาด
จึงไม่เพียงแต่การปฏิบัติตัวให้เป็นชาวสวรรค์และการออกห่างไกล จากไฟนรกเท่านั้นที่เป็นหน้าที่ของผู้ศรัทธา การดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ด้วย ความบริสุทธิ์ใจเช่นกันเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะกับ ดุอาอ์ที่มีเนื้อหาที่ครอบคลุมเช่นบทนี้
บทความที่น่าสนใจ
- 11 เคล็ดลับที่ทำให้ดุอาอ์ถูกตอบรับ
- 8 ดุอาอ์ให้ลูกรักในสุญูด
- สิ่งที่ควรอ่านในคืนที่แสวงหาลัยละตุลก็อดร์
- ดุอาอ์ขอให้เกิดความง่ายดายในการงาน
- ดุอาอ์บทนี้ที่ฉันรักมาก
- ดุอาอ์ขอความสำเร็จ
- ดุอาอ์ขอไม่ให้จิตใจหันเหออกจากทางนำ
- ดุอาอ์ สัยยิดุลอิสติฆฟาร ที่สุดแห่งซุนนะฮ์ในการขออภัยโทษ
- ดุอาอ์ขอให้ได้เข้าสวรรค์ทั้งครอบครัว
Tags: