คำกล่าวซิกิรฺหลังการละหมาดห้าเวลา
หลังผู้ละหมาดได้เสร็จสิ้นจากการละหมาดด้วยการให้สลามแล้วสุนัตให้เขากล่าวซิกิรฺ ตามคำซิกิรฺหลังละหมาดที่ได้รับรายงานจากท่านนบี ด้วยเสียงดัง ซึ่งผู้ละหมาดทุกคนต่างคนต่างแยกกันอ่านเอง ไม่ต้องอ่านพร้อม ๆ กัน นั่นก็คือคำซิกิรฺว่า
«أَسْتَغْفِرُ الله، أَسْتَغْفِرُ الله، أَسْتَغْفِرُ الله»
คำอ่าน อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ
ความหมาย “ฉันขออภัยต่ออัลลอฮฺ ฉันขออภัยต่ออัลลอฮฺ ฉันขออภัยต่ออัลลอฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 591)
หลังจากนั้นให้กล่าวว่า
«اللَّهُـمَّ أَنْتَ السَّلامُ، وَمِنْكَ السَّلامُ، تَـبَارَكْتَ يَاذَا الجَلالِ وَالإكْرَام»
คำอ่าน อัลลอฮุมมะอันตัสสะลาม วะมินกัสสลาม ตะบาร็อกตะ ยาซัลญะลาลิ วัลอิกรอม
ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ พระองค์คืออัส-สลาม(ผู้เปี่ยมด้วยสันติ) จากพระองค์นั้นคือที่มาของสันติ ประเสริฐยิ่งเถิด โอ้ผู้เปี่ยมด้วยความยิ่งใหญ่และบุญคุณอันล้นเหลือ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 592)
กล่าวว่า
«لا إلَـهَ إلَّا الله وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، لَـهُ المُلْكُ وَلَـهُ الحَـمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ، اللَّهُـمَّ لا مَانِعَ لِـمَا أَعْطَيْتَ، وَلا مُعْطِيَ لِـمَا مَنَعْتَ، وَلا يَنْفَعُ ذَا الجَدِّ مِنْكَ الجَدُّ»
คำอ่าน ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮู ลา ชะรีกะละฮฺ, ละฮุลมุลกุ วะละฮุลหัมดุ วะฮุวา อะลา กุลลิชัยอิน เกาะดีรฺ, อัลลอฮุมมะ ลามานิอา ลิมาอะอฺฏ็อยตะวะลามุอฺฏิยะ ลิมา มะนะอฺตา, วะลายันฟะอุ ซัลญัดดิ มิงกัลญัดดุ
ความหมาย “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดเว้นแต่อัลลอฮฺองค์เดียวโดยไม่มีภาคีใดๆ เสมอพระองค์ เป็นสิทธิของพระองค์ซึ่งการครอบครองและการสรรเสริญสดุดี และพระองค์ทรงยิ่งด้วยเดชานุภาพเหนือทุกๆ สิ่ง โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ ไม่มีผู้ใดที่สามารถสกัดกั้นสิ่งที่พระองค์ประทานให้ และไม่มีผู้ใดที่สามารถให้ในสิ่งที่พระองค์สกัดห้ามไว้ และความมั่งมีมิอาจให้ประโยชน์แก่เจ้าของผู้มั่งมีนั้น ณ พระองค์ได้เลย” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ 844 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่ 593)
กล่าวว่า
«لا إلَـهَ إلَّا الله وَحَدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، لَـهُ المُلْكُ وَلَـهُ الحَـمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ، لا حَوْلَ وَلا قُوَّةَ إلَّا بِالله، لا إلَـهَ إلَّا الله وَلا نَعْبُدُ إلَّا إيَّاهُ لَـهُ النِّعْمَةُ وَلَـهُ الفَضْلُ وَلَـهُ الثَّنَاءُ الحَسَنُ، لا إلَـهَ إلَّا الله مُـخْلِصِينَ لَـهُ الدِّينَ وَلَوْ كَرِهَ الكَافِرُونَ»
คำอ่าน ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮู ลา ชะรีกะละฮฺ, ละฮุลมุลกุ วะละฮุลหัมดุ วะฮุวา อะลา กุลลิชัยอิน เกาะดีรฺ, ลาเหาละ วะลา กุวฺวะตะ อิลลาบิลลาฮฺ, ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วะลา นะอฺบุดุ อิลลา อิยฺยาฮฺ, ละฮุนนิอฺมะตุ วะละฮุลฟัฎลุ, วะลาฮุษ ษะนาอุล หะสัน, ลาอิลาฮะอิลลอฮฺ มุคลิศินะ ละฮุดดีน วะเลา กะริฮัล กาฟิรูน
ความหมาย “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดเว้นแต่อัลลอฮฺองค์เดียวโดยไม่มีภาคีใดๆ เสมอพระองค์ เป็นสิทธิของพระองค์ซึ่งการครอบครองและการสรรเสริญสดุดี และพระองค์ทรงยิ่งด้วยเดชานุภาพเหนือทุกๆ สิ่ง ไม่มีความสามารถและพลังใดๆ เว้นแต่ด้วยอัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และเราไม่เคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น เป็นสิทธิแห่งพระองค์ซึ่งการประทานนิอฺมัต ความประเสริฐ และการสรรเสริญที่งดงาม ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ โดยที่เรามอบความบริสุทธิ์ใจแห่งการยึดมั่นในศาสนาแด่พระองค์ แม้ว่าเหล่าผู้ปฎิเสธจะชิงชังก็ตาม”
หลังจากนั้นให้กล่าวดังที่มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า
«مَنْ سَبَّحَ الله فِي دُبُرِ كُلِّ صَلاةٍ (ثَلَاثاً وَثَلَاثِينَ)، وَحَـمِدَ الله (ثَلَاثاً وَثَلَاثِينَ)، وَكَبَّرَ الله (ثَلَاثاً وَثَلَاثِينَ)، فَتِلْكَ (تِسْعَةٌ وَتِسْعُونَ)، وَقَالَ تَـمَامَ المِائَةِ لا إلَـهَ إلَّا الله، وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، لَـهُ المُلْكُ وَلَـهُ الحَـمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ، غُفِرَتْ خَطَايَاهُ وَإنْ كَانَتْ مِثْلَ زَبَدِ البَـحْرِ»
ความว่า “ผู้ใดกล่าวตัสบีหฺ สุบหานัลลอฮฺ หลังจากการละหมาดทุกเวลา(33 ครั้ง) และกล่าวตะหฺมีด อัลหัมดุลิลลาฮฺ (33 ครั้ง) และกล่าวตักบีรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ (33 ครั้ง) ซึ่งทั้งหมดเป็น(99 ครั้ง) แล้วให้ครบ 100 ด้วยการกล่าวว่า
لا إلَـهَ إلَّا الله، وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، لَـهُ المُلْكُ وَلَـهُ الحَـمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
คำอ่าน ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮู ลา ชะรีกะละฮฺ, ละฮุลมุลกุ วะละฮุลหัมดุ วะฮุวา อะลา กุลลิชัยอิน เกาะดีรฺ
เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดทั้งหลายแม้จะมากเท่าฟองน้ำในทะเลก็ตาม” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 597)
หรือกล่าวว่า
«سُبْـحَانَ الله (خَـمْسَاً وَعِشْرِيْنَ) مَرَّةً، وَالحَـمْدُ ٬ (خَـمْسَاً وَعِشْرِيْنَ) مَرَّةً، وَالله أَكْبَرُ (خَـمْسَاً وَعِشْرِيْنَ) مَرَّةً، وَلا إلَـهَ إلَّا الله (خَـمْسَاً وَعِشْرِيْنَ) مَرَّةً»
ความว่า “สุบหานัลลอฮฺ (25 ครั้ง) และ อัลหัมดุลิลลาฮฺ (25 ครั้ง)และ อัลลอฮุอักบัรฺ (25 ครั้ง)และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ (25 ครั้ง)” (เป็นหะดีษหะสันเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ 3413 และอัน-นะสาอีย์ 1351)
หรือกล่าวดังที่ได้รับรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า
«مُعَقِّبَاتٌ لا يَـخِيبُ قَائِلُـهُنّ (أَوْ فَاعِلُـهُنّ) دُبُرَ كُلِّ صَلاةٍ مَكْتُوبَةٍ، ثَلاثٌ وَثَلاثُوْنَ تَسْبِيحَةً، وَثَلاثٌ وَثَلاثُونَ تَـحْـمِيدَةً، وَأَرْبَـعٌ وَثَلاثُونَ تَـكْبِيرَةً»
ความว่า “คำกล่าวตัสบีหฺชุดหนึ่ง ซึ่งจะถือว่าไม่มีการปิด(การตอบรับดุอาอ์)สำหรับผู้ที่กล่าวมัน(หรือผู้ปฏิบัติมัน) ทุกครั้งที่เสร็จจากการละหมาดห้าเวลาคือ การตัสบีหฺสามสิบสามครั้ง และการตะหฺมีดสามสิบสามครั้ง และการตักบีรฺสามสิบสามสี่ครั้ง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 596)
หรือกล่าวดังที่ไดรับรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า
«خَلَّتَانِ لَا يُحْصِيهِمَا رَجُلٌ مُسْلِمٌ إِلَّا دَخَلَ الْـجَنَّةَ وَهُمَا يَسِيرٌ وَمَنْ يَعْمَلُ بِهِمَا قَلِيلٌ قَالَ: قَالَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم : الصَّلَوَاتُ الْـخَمْسُ يُسَبِّحُ أَحَدُكُمْ فِي دُبُرِ كُلِّ صَلَاةٍ عَشْرًا وَيَحْمَدُ عَشْرًا وَيُكَبِّرُ عَشْرًا فَهِيَ خَمْسُونَ وَمِائَةٌ فِي اللِّسَانِ وَأَلْفٌ وَخَمْسُ مِائَةٍ فِي الْمِيزَانِ»
ความว่า “มีสองสิ่ง ซึ่งไม่มีมุสลิมคนใดที่ปฏิบัติในสองสิ่งนี้แล้ว เว้นเขาจะได้เข้าสวรรค์ ทั้งๆ ที่สองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ง่าย แต่ก็มีคนที่ปฏิบัติน้อยมาก (แล้วท่านกล่าวอธิบายในสิ่งแรกว่า) เมื่อละหมาดห้าเวลาให้พวกท่านกล่าวตัสบีหฺหลังจากเสร็จสิ้นจากการทุกเวลาสิบครั้ง แล้วกล่าวตะหฺมีดสิบครั้ง แล้วตักบีรฺอีกสิบครั้ง ซึ่งจะรวมเป็นร้อยห้าสิบคำที่ออกมาจากลิ้น และหนึ่งพันห้าร้อยความดีเมื่อขึ้นตราชั่งในวันกิยามะฮฺ” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ 3410 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของท่าน และอัน-นะสาอีย์ 1348)
มีสุนนะฮฺให้นับจำนวนตัสบีหฺด้วยการใช้ปลายนิ้วมือหรือข้อนิ้วมือทั้งสอง
มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า
«رَأَيْتُ رَسُولَ الله صلى الله عليه وسلم يَعْقِدُ التَّسْبِيحَ»
ความว่า “ ฉันเห็นท่านเราะสูลุลลอฮฺได้นับจำนวนการตัสบีหฺ” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ 3411 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของท่านและอัน-นะสาอีย์ 1355)
มีรายงานจากท่านยะสีเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่พวกเราว่า
«عَلَيْكُنَّ بِالتَّسْبِيحِ وَالتَّهْلِيلِ وَالتَّقْدِيسِ، وَاعْقِدْنَ بِالأَنَامِلِ، فَإنَّهُنَّ مَسْؤُولاتٌ مُسْتَنْطَقَاتٌ، وَلا تَغْفُلْنَ فَتَنْسَيْنَ الرَّحْـمَةَ»
ความว่า “พวกท่านต้องกล่าวตัสบีหฺ ตะหฺลีล ตักดีส และนับจำนวนคำกล่าวเหล่านี้ด้วยปลายนิ้วมือ เพราะมันจะถูกถามในวันกิยามะฮฺ แล้วมันจะกล่าวตอบอย่างนั้นอย่างนี้ และพวกท่านอย่าละเลยการตัสบีหฺดังกล่าว เพราะจะทำให้ท่านลืมเราะหฺมะฮฺ(ความเมตตา)ของอัลลอฮฺไปด้วย” (เป็นหะดีษหะสัน บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข1501 และอัต-ติรมิซีย์ 3583 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของท่าน)
ให้อ่านสองสูเราะฮฺที่ใช้ขอความคุ้มครองทุกครั้งหลังละหมาดห้าเวลา หมายถึง สูเราะฮฺ อัล-ฟะลัก (ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ) และ สูเราะฮฺ อัน-นาส و(ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ) (เป็นหะดีษเศาะหีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข1523 และอัต-ติรมิซีย์ 2903)
ให้อ่านอายะฮฺกุรสีย์ทุกครั้งหลังละหมาดห้าเวลา ทั้งนี้เพราะคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«مَنْ قَرَأَ آيَةَ الكُرْسِيِّ دُبُرَ كُلِّ صَلاةٍ، لَـمْ يَـمْنَعْهُ مِنْ دُخُولِ الجَنَّةِ إلَّا أَنْ يَـمُوتَ»
ความว่า “ผู้ใดก็ตามที่อ่านอายะฮฺกุรสียฺทุกครั้งหลังละหมาดห้าเวลา ไม่มีอุปสรรคใด ๆ สำหรับที่จะได้เข้าสวรรค์ เว้นแต่ความตาย” (บันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ ในสุนัน อัล-กุบรอ 9928 และอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ในอัล-กะบีรฺ 8/114)
อายะฮฺกุรสีย์นั้นหมายถึง
ٱللَّهُ لَآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ ٱلۡحَيُّ ٱلۡقَيُّومُۚ لَا تَأۡخُذُهُۥ سِنَةٞ وَلَا نَوۡمٞۚ لَّهُۥ مَا فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَمَا فِي ٱلۡأَرۡضِۗ مَن ذَا ٱلَّذِي يَشۡفَعُ عِندَهُۥٓ إِلَّا بِإِذۡنِهِۦۚ يَعۡلَمُ مَا بَيۡنَ أَيۡدِيهِمۡ وَمَا خَلۡفَهُمۡۖ وَلَا يُحِيطُونَ بِشَيۡءٖ مِّنۡ عِلۡمِهِۦٓ إِلَّا بِمَا شَآءَۚ وَسِعَ كُرۡسِيُّهُ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضَۖ وَلَا يَـُٔودُهُۥ حِفۡظُهُمَاۚ وَهُوَ ٱلۡعَلِيُّ ٱلۡعَظِيمُ
คำอ่าน อัลลอฮุลา อิลาฮะ อิลลา ฮุวัล หัยยุล ก็อยยูม, ลาตะอ์คุซุฮู วะลา เนามฺ, ละฮู มา ฟิซ สะมาวาติ วัลอัรฎ์, มัน ซัลละซี ยัชฟะอุ อินดะฮู อิลลา บิอิซนิฮฺ, ยะอฺละมุ มาบัยนะ อัยดีฮิม วะมา ค็อลฟะฮุม, วะลา ยุฮีฏูนะ บิชัยอิม มินอิลมีฮี อิลลา บิมาชาอ์, วะสิอะ กุรสียยุฮุส สะมาวาติ วัลอัรฎ์, วะลา ยะอูดุฮู หิฟซุฮุมา วะฮุวัล อะลิยยุล อะซีม
ความว่า “อัลลอฮ์ทรงเป็นเจ้า) ซึ่งไม่มีพระเจ้าใดๆ (อีกแล้ว นอกจากพระองค์เท่านั้น ทรงเป็นเสมอ ทรงดำรงอยู่ ความง่วงและความหลับไม่ครอบงำพระองค์ พระองค์ทรงสิทธิ์ในสรรพสิ่งที่มีอยู่ในชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน ใครเล่าที่จะให้การสงเคราะห์แก่ผู้อื่น ณ พระองค์ได้ นอกจากจะเป็นไปโดยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่มีอยู่ต่อหน้าพวกเขา และที่อยู่เบื้องหลังพวกเขา และพวกเขาไม่ครอบคลุมความรู้สักเพียงเล็กน้อยของพระองค์ นอกจากในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้พวกเขารู้) เท่านั้นกุรสีย์ของพระองค์แผ่ไพศาลทั่วทั้งชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการพิทักษ์มันทั้งสองไม่ทำให้พระองค์เหนื่อยยากเลย และพระองค์ทรงสูงส่ง อีกทั้งทรงยิ่งใหญ่” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 255)
สิ่งที่ควรกล่าวเมื่อเสร็จจากละหมาดศุบหฺ
มีรายงานจากอุมมุ สะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวหลังจากละหมาดศุบหฺว่า
«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ عِلْمًا نَافِعًا وَرِزْقًا وَاسِعًا وَعَمَلًا مُتَقَبَّلًا »
คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกะ อิลมัน นาฟิอะ, วะ ริซก็อน วาสิอา, วะอะมะลัม มุตะก็อบบะลา
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ประทานให้แก่ฉันซึ่งการมีความรู้ที่เป็นประโยชน์ การมีริซกีที่มากมาย และการมีอะมัลที่ถูกตอบรับ” (บันทึกโดยอะหฺมัด 27056 และอิบนุ มาญะฮฺ 925)
ความประเสริฐของการนั่งเพื่อการซิกิรฺหลังจากละหมาดศุบหฺและอัศรฺ
มีรายงานจากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لأَنْ أَقْعُدَ مَعَ قَوْمٍ يَذْكُرُونَ الله تَعَالَى مِنْ صَلاةِ الغَدَاةِ حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ أَحَبُّ إلَيَّ مِنْ أَنْ أُعْتِقَ أَرْبَـعَةً مِنْ وَلَدِ إَسْمَاعِيلَ، وَلأَنْ أَقْعُدَ مَعَ قَوْمٍ يَذْكُرُونَ الله مِنْ صَلاةِ العَصْرِ إلَى أَنْ تَغْرُبَ الشَّمْسُ أَحَبُّ إليَّ مِنْ أَنْ أُعْتِقَ أَرْبَـعَةً»
ความว่า “การที่ฉันได้นั่งในกลุ่มหนึ่งที่มีการซิกิรฺต่ออัลลอฮฺตะอาลาเริ่มหลังจากละหามดศุบหฺจนดวงอาทิตย์ขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ฉันชอบมากมากกว่าที่ฉันได้ปลดปล่อยทาสสี่คนจากลูกหลานของอิสมาอีลเสียอีก และการที่ฉันได้นั่งในกลุ่มหนึ่งที่มีการซิกิรฺต่ออัลลอฮฺตะอาลาเริ่มหลังจากละหามดอัศรฺจนดวงอาทิตย์ตกนั้น เป็นสิ่งที่ฉันชอบมาก มากกว่าที่ฉันได้ปลดปล่อยทาสสี่คนเช่นกัน” (เป็นหะดีษหะสัน บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 3667 โปรดดูในอัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะหีหะฮฺ 2916)
มีรายงานจากท่านญาบิรฺ อิบนุ สะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าเมื่อท่านละหมาดฟัจรฺ(ละหมาดศุบหฺ)เสร็จท่านจะนั่งในที่ละหมาดจนกว่าดวงอาทิตย์ขึ้นอย่างเด่นตระหง่าน (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 670)
ช่วงเวลาซิกิรฺและดุอาอ์
การดุอาอ์หลังจากละหมาดสุนัตนั้นไม่ได่มีบัญญัติให้ปฏิบัติและไม่ปรากฏแหล่งที่มาในศาสนา ฉะนั้นผู้ใดปรารถนาที่จะดุอาอ์ให้เขาดุอาอ์ก่อนที่จะให้สลามทั้งในการละหมาดฟัรฎูและสุนัต แต่หากเขาดุอาอ์หลังจากเสร็จละหมาดแล้วในบางเวลาด้วยเหตุบางประการนั้น ถือว่าอนุโลมให้ดุอาอ์ได้
ทุก ๆ หะดีษที่ได้รับรายงานมา ถ้ามีคำว่า (دبر الصلاة) “หลังละหมาด” หากเป็นดุอาอ์ให้อ่านก่อนสลาม แต่หากเป็นซิกิรฺให้อ่านหลังจากสลาม
บทความที่น่าสนใจ
- ผลบุญเหลือคณานับด้วยการซิกรุลลอฮฺ
- 6 ดุอาอฺ ขณะสุญูดของท่านนบี พร้อมคําอ่านและคําแปล
- น้ำละหมาดช่วยให้สะอาดกายสะอาดใจได้อย่างไร
- วิธีละหมาดสุนัตเตาบะห์ พร้อมคำเนียตละหมาดเตาบะห์
- วิธีละหมาดสุนัตก่อน-หลังละหมาดฟัรฎู ถูกต้องตามซุนนะฮ์
- ทำไมอิสลามต้องละหมาดวันละ 5 เวลา
- การละหมาดดุฮา คุณค่าและวิธีการละหมาดดุฮา ริสกีมีไม่สิ้นสุด
- ขั้นตอนการละหมาดต่าง ๆ คำกล่าวพร้อมกับคำเนียต (โดยละเอียด)
credit: islamhouse
Tags: