ตดแบบไหน บ่งบอกสุขภาพของคุณได้อย่างไร?
ถ้าให้พูดถึงการผายลม หรือ “ตด” หลายคนก็คงจะยิ้มแบบเขินๆ เพราะมันดูน่าอาย แต่ของแบบนี้มันเป็นของระบบการทำงานในร่างกายซึ่งธรรมชาติมากพอๆ กับ การขับถ่ายในรูปแบบของปัสสาวะ และอุจจาระ แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า บางครั้งการตด ก็บ่งบอกถึงสุขภาพของคุณได้เป็นอย่างดีเลยเชียวล่ะ
คนเราจะผายลมเฉลี่ยประมาณ 10-20 ครั้งต่อวัน การผายลมที่มากหรือน้อยกว่านั้น อาจแสดงว่าเกิดความผิดปกติขึ้น ซึ่งมีทั้งที่ไม่ได้ก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกาย และความผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย ซึ่งเราควรจะต้องใส่ใจและรู้เอาไว้นะคะ
ตดบอกอะไรได้บ้าง??
1. ถ้าเรารับประทานอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ชีส กระหล่ำปลี หัวหอม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม จะทำให้เกิดแก๊สในร่างกายมากเกินไป
2. อาหารสุขภาพที่มีปริมาณซัลเฟตสูง เช่น บร็อคโคลี่ ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี ทำให้ตดมีกลิ่นเหม็น สารประกอบพวกซัลเฟอร์ที่อยู่ในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม ก็ทำให้เกิดกลิ่นได้เช่นเดียวกัน
3. การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทำให้อาหารย่อยไม่หมด จะทำให้ท้องอืด และมีแก๊สมากขึ้นในลำไส้ จากการที่มีแบคทีเรียมาช่วยย่อย ก็จะทำให้ ผายลมมากขึ้นได้
4. สุขภาพของฟัน เช่น ผู้สูงอายุที่ฟันไม่ดี ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด พูดมากหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง ทำให้ต้องกลืนลมเข้าท้องในปริมาณมาก
5. การขาดหรือการพร่องเอนไซม์ หรือน้ำย่อยแลคเตส เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีน้ำตาลแลคโตสเป็นส่วนประกอบ เช่น นม โยเกิร์ต และผลิตภัณฑ์จากนม น้ำตาลที่ไม่ถูกดูดซึมนี้ จะถูกแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ทำปฏิกิริยาการหมัก (Fermentation) ทำให้เกิดก๊าซจำนวนมากในลำไส้
6. แพ้กลูเตน กลูเตนเป็นไกลโคโปรตีนที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพด ปัจจุบันเราใช้กลูเตนเป็นส่วนผสมในขนมปัง ช่วยให้ขนมปังเหนียวนุ่ม น่ารับประทาน รวมทั้งในข้าวโอ๊ต เค้ก พาย ซีเรียล และใช้แทนเนื้อสัตว์ในอาหารเจ อาการแพ้จะเช่นเดียวกับการแพ้นมอาจมีอาการท้องอืด มีก๊าซในกระเพาะ และท้องเสีย
7. ลำไส้แปรปรวน มักมีอาการปวดท้องเกร็ง รู้สึกเหมือนมีลมในท้อง เรอ ผายลมบ่อย
8. การผายลม ร่วมกับมีอาการแน่น ปวดท้อง อาจเป็นเพราะอาหารไม่ย่อย ซึ่งมีสาเหตุ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น
9. ผายลมบ่อย ร่วมกับน้ำหนักลด อุจจาระผิดปกติ ท้องผูก หรือท้องเสีย โลหิตจาง ให้ระวังโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
10. ปวดท้องรุนแรง ไม่ถ่าย ไม่ผายลม อาจเกิดจากลำไส้อุดตัน ต้องรีบมาพบแพทย์ ถ้ารู้สึกว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับการผายลม และไม่แน่ใจว่าจะเป็นโรคอะไรหรือไม่ อย่าลังเลใจที่จะมาพบแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการตรวจวินิฉัย และรักษาที่ต้นเหตุ แต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
ที่มา: mthai
Tags: