
ระวัง "ทรัพย์สินฮารอม" จะนำภัยมาโดยไม่รู้ตัว
ระวัง "ทรัพย์สินฮารอม" จะนำภัยมาโดยไม่รู้ตัว
การทุ่มเท เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์ และความรักความชอบ จนถึงทรัพย์สินนั้น มันคือ ฏอบีอัต หรือวิสัยที่ติดตัวมนุษยชาติมายาวนาน หรืออาจจะเรียกว่าเป็น “กมลสันดาน”ของมนุษย์ก็ว่าได้
อัลลอฮ์ (ซบ.ฯ) ตรัสว่า :
(وَتُحِبُّونَ الْمَالَ حُبًّا جَمًّا) الفجر٢٠
และเจ้าทั้งหลาย รักทรัพย์ กับความรักที่มากล้น
ดังนั้น การแสวงหาให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ดี ย่อมเป็นที่ชื่นชมในหลักชะรีอัต
ซึ่งพระองค์ทรงสั่งใช้ ในคำภีร์กุรอานว่า :
(هُوَ الَّذِيْ جَعَلَ لَكُمُ الْأَرْضَ ذَلُوْلًا فَامْشُوْا فِيْ مَنَاكِبِهَا وَكُلُوْا مِنْ رِزْقِهِ وَإِلَيْهِ النُّشُوْرُ) الملك: ١٥
พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.ฯ) ผู้ทรงสร้างผืนแผ่นดินที่สะดวกสบาย ให้แก่พวกเจ้า ดังนั้น เจ้าทั้งหลายจงเดินไปในพื้นแผ่นดินนี้ และเจ้าทั้งหลายจงบริโภคจากริสกี ปัจจัยของพระองค์ และยังพระองค์นั้น พวกเจ้าต้องกลับคืน
ท่านนบี (ศ็อลฯ) ได้กล่าวแก่ ท่านอัมร์ บิน อาศ ว่า :
“يَا عَمْرو: نِعْمَ الْمَالُ الصَّالِحُ مَعَ الرَّجُلِ الصَّالِحِ”. أخرجه الإمام أحمد في مسنده، وابن حبان في صحيحه.
โอ้ท่านอัมร์ ทรัพย์ที่ดีนั้น ย่อมอยู่กับคนที่ดี
ทรัพย์สิน เงินทอง ซึ่งอัลลอฮ์ทรงประทานไว้ ถือเป็นความชอบในจิตของมนุษย์ เพื่อเป็นบททดสอบ หรือบะลาอ์ ผู้มีจิตเชื่อมั่นในวันที่ถูกสอบสวน เขาจะแสวงหาและจัดสรรปันส่วน จากทรัพย์สินให้เกิดความสมดุล แห่งการได้มาของทรัพย์สินนั้นๆ
แล้วให้พวกเรา ได้สำนึกอยู่เสมอว่า : อัลลอฮ์ (ซบ.ฯ) คือ ผู้ทรงบัญญัติสิ่งที่ฮาลาล และสิ่งที่ฮารอม
พระองค์ ทรงบัญญัตว่า :
(يَا أَيُّهَا النَّاسُ كُلُوْا مِمَّا فِي الْأَرْضِ حَلَالًا طَيِّبًا وَلَا تَتَّبِعُوْا خُطُوَاتِ الشَّيْطَانِ إِنَّهُ لَكُمْ عَدُوٌّ مُبِيْنٌ) البقرة: ١٦٨
โอ้มวลเหล่ามนุษย์ เจ้าทั้งหลายจงกินสิ่งที่ฮาลาล ดี จากสิ่งต่างๆ ในพื้นดินและห้ามเจ้าทั้งหลาย ดำเนินตามก้าวเดินของชัยฏอน แท้จริงมันนั้น เป็นศรัตรูที่ชัดเจนของพวกเจ้า
และพระองค์ ตรัสอีกว่า :
(وَكُلُوْا مِمَّا رَزَقَكُمُ اللَّهُ حَلَالًا طَيِّبًا وَاتَّقُوا اللَّهَ الَّذِي أَنْتُمْ بِهِ مُؤْمِنُوْنَ) المائدة: ٨٨
เจ้าทั้งหลายจงกิน จากสิ่งซึ่งฮาลาลที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานเป็นริสกี ปัจจัยแก่พวกเจ้า และเจ้าจงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ผู้ซึ่งเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อีหม่านต่อพระองค์
คำว่า ฮาลาลัน คือ :
مُحَلَّلٌ لَكُمْ لَيْسَ مُكْتَسَبًا بِطَرِيْقٍ مُحَرَّمٍ؛ كَالْغَصْبِ، وَالسَّرِقَةِ، وَالرِّبَا، وَالرِّشْوَةِ، وَالغِشِّ، وَالْمُعَامَلَاتِ الْمُحَرَّمَةِ.
มันถูกอนุมัตแก่พวกท่าน มิใช่ขวนขวายมาด้วย หนทางที่ฮารอม เช่น แย่งชิง ขโมย ดอกเบี้ย สินบน และอาชีพการงานหรือธุรกรรม ที่ฮารอม
ส่วนคำว่า ฏ็อยญิบัน คือ :
لَيْسَ بِخَبِيْثٍ؛ كَالْمَيْتَةِ، وَلَحْمِ الْخِنْزِيْرِ، وَالْخَمْرِ، وَالْخَبَائِثِ كُلِّهَا.
มิใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือโสโครก เช่น ซากตาย เนื้อสุกร และสิ่งปฏิกูลต่างๆ หรอกหรือ ?
พี่น้องครับ ผู้แสวงหาทรัพย์ที่สะอาด และยึดอาชีพที่บริสุทธิ์ เขาคือ ผู้คงใว้ซึ่งคำว่าเขาเป็นผู้มีศาสนาในหัวใจ ชีวิตที่ไร้ขยะไร้มลทิน จิตที่พอใจตามสิ่งที่มี ใจซื่อมือสะอาดและที่สำคัญยิ่ง คือได้บะรอกัตในริสกีนั้นๆ อันที่จริง การให้ความสำคัญกับการบริโภค หรืออุปโภคสิ่งที่ฮาลาล มันคือ เครื่องประดับที่งดงามของมุอ์มิน
ดังท่านนบี (ศ็อลฯ) และเหล่าเศาะฮาบะฮ์ ซึ่งเขาเหล่านั้นจะสั่งเสียกันเป็นเนืองนิจ ให้พึงระวังสิ่งที่ฮารอมไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน หรือสัมมาอาชีพก็ตาม
ท่านอบูสอีด อั้ลคุดรีย์ รายงานจากท่านนบี (ศ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า:
“مَنْ أكَلَ طَيِّبًا وَعَمِلَ فِيْ سُنَّةٍ، وَأَمِنَ النَّاسُ بَوَائِقَهُ دَخَلَ الْجَنَّةَ”. رواه الترمذي.
ผู้ใดบริโภคสิ่งที่ดี ทำตามซุนนะฮ์ และบุคคลนั้น ปลอดภัยจากความเลวร้ายของมนุษย์ ก็จะได้เข้าสวรรค์
ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า:
“أَرْبَعٌ إِذَا كُنَّ فِيْكَ فَلاَ عَلَيْكَ مَا فَاتَكَ مِنَ الدُّنْيَا: حِفْظُ أَمَانَةٍ، وَصِدْقُ حَدِيْثٍ، وَحُسْنُ خَلِيْقَةٍ، وَعِفَّةٌ فِيْ طُعْمَةٍ”اخرجه أحمدوغيره،
สี่ประการ เมื่อมันปรากฏในตัวท่าน มันก็จะไม่เกิดผลลบในตัวท่าน จากดุนยานี้ ได้แก่ :-
1-รักษาไว้อะมานะฮ์
2-สัจจะวาจา
3-นิสัยดี
4-อาหารที่สะอาด
เป็นที่ทราบดีว่า อัลลอฮ์ (ซบ.ฯ) นั้น พระองค์จะไม่รับเว้นแต่สิ่งที่ดี คนที่อุปโภคหรือบริโภคของไม่ดี (ฮารอม) อัลลอฮ์ (ซบ.ฯ) จะไม่ทรงรับดุอาอฺที่เขาขอ เนื้อหนังมังสาที่เจริญเติบโตขึ้นมาด้วยของฮารอม มันก็เข้าอยู่
ในคำสอนของท่านนบี แก่ท่านสะอัด บิน อะบีวักก๊อศ ว่า :
“يَا سَعْدُ: أَطِبْ مَطْعَمَكَ تَكُنْ مُسْتَجَابَ الدَّعْوَةِ، وَالَّذِيْ نَفْسُ مُحَمِّدٍ بِيِدِهِ؛ إِنَّ الْعَبْدَ لَيَقْذِفُ اللُّقْمَةَ الْحَرَامَ فِيْ جَوْفِهِ مَا يُتَقَبَّلُ اللهُ مِنْهُ عَمَلاً أَرْبَعِيْنَ يَوْمًا، وَأَيُّمَا عَبْدٍ نَبَتَ لَحْمُهُ مِنْ سُحْتٍ فَالنّارُ أوّلَى. بِهِ”.أخرجه الطبراني عن ابن عباس.
โอ้ สะอัด เอ๋ยท่านจงรับประทานอาหารที่ดี ดุอาอฺของท่าน (มุสตะญับ) ถูกตอบรับ ขอสาบานต่อผู้ซึ่งชีวิต ของมุฮัมมัด อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ว่า : แท้จริงบ่าวคนหนึ่ง ที่กลืนกินของที่ฮารอมเพียงคำเดียว อัลลอฮ์จะมิทรงรับอะมัลทีเขาทำถึงสี่สิบวัน แล้วบ่าวคนใดที่เนื้อหนังมังสาเติบโตขึ้นมาจากของ ฮารอม นรกเป็นที่เหมาะสมสำหรับเขา ขณะเดียวกัน การแสวงหาอาหาร หรืออาชีพที่ฮาลาลนั้น จะถูกเป็นถามอันดับต้นๆ ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ
ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวใว้มีความว่า :
فَلَنْ تَزُوْلَ قَدَمَا عَبْدٍ يَوْمَ الْقِيَامَةِ حَتَّى يُسْأَلَ عْنْ مَالِهِ مِنْ أَيْنَ اكْتَسَبَهُ وَفِيْمَ أَنْفَقَهُ؟!
สองเท้าของบ่าวนั้น อัลลอฮ์จะยังไม่กระชับนิ่งในวันกิยามัต จนกว่าเขาจะถูกสอบสวนเรื่องทรัพย์สินของเขา ว่าเขาได้มาอย่างไรและใช้จ่ายไปในทางใด
ท่านเคาะลีฟะฮ์อะบูบักร์ อัศศิดดีก เผลอไปทานอาหารของเด็กรับใช้ ที่ได้นำมาให้ท่าน เด็กรับใช้เอ่ยขึ้นว่า : ท่านทราบหรือไม่ว่าอาหารนี้มาจากใหน?
ความจริง ฉันได้มันมาด้วยการทำนายทายทัก ในขณะยังอยู่ในยุคญาฮิลียะฮ์ มันไม่จริงเลย ฉันหลอกลวงพวกเขา พวกชื่นชม และชอบมัน และแล้วก็ได้มอบอาหารนี้มา ครั้นเมื่อ ท่านเคาะลีฟะฮ์ได้ทราบดังกล่าว ท่านได้เอามือล้วงไปในลำคอของท่าน แล้วก็อ้วกอาหารนั้นออกมา
มีบางรายงานว่า : ท่านเคาะลีฟะฮ์ กล่าวว่า :
“لَوْ لَمْ تَخَرُجْ إِلاَّ مَعَ نَفْسِيْ لَأَخْرَجْتُهَا….الحديث) أخرجه البخاري.
หากมันไม่ออกมา เว้นแต่มันออกมาพร้อมกับชีวิตฉัน ฉันก็จะนำมันออกมา
ท่านเคาะลีฟะฮ์ อุมัร บิน ค๊อฏฏ๊อบ ได้ดื่มนมซึ่งท่านชอบ เสร็จแล้วท่านนึกขึ้นได้จึงเอ่ยถามผู้เทนมให้ท่านดื่มว่า : ท่านได้มาแต่ใดกัน?ผู้นั้นตอบว่า : ฉันพบอูฐฝูงหนึ่งไม่รู้ว่าเป็นของผู้ใดแล้วฉันก็ได้รีดนมอูฐนั้นมาท่านเคาะลีฟะฮ์จึงล้วงคอด้วยมือของท่านเพื่อให้อวกนมนั้นออกมา
หญิงศอลิหะฮ์นางหนึ่ง ได้วะศิยัตสามีของนางว่า :
“يَا هَذَا: اِتَّقِ اللهَ فِيْ رِزْقِنَا؛ فَإِنَّنَا نَصْبِرُ عَلَى الْجُوْعِ وَلاَ نَصْبِرُ عَلَى النَّارِ”.
โอ้สามีของข้า ท่านจงกลัวอัลลอฮ์ในริสกีของพวกเรา แท้จริงพวกเราอดทนบนความหิว แต่พวกเรามิอาจอดทนไฟนรกได้
เหล่านี้ คือ ความวะรออ์ กลัวอัลลอฮ์ กลัวตกอยู่ในของชุบฮัตของเหล่าคนซอและห์ หากเป็นเช่นนี้ กับพี่น้องที่เรารัก ยังคงจงใจมุ่งสู่ยังสิ่งฮารอม ท้องของเขาและครอบครัวของเขาเต็มไปด้วยของฮารอม
ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า :
“لَيَأْتِيَنَّ عَلَى النَّاسِ زَمَانٌ لَا يُبَالِيْ الْمَرْءُ بِمَا أخذَ الْمَالَ أمِنَ الْحَلاَلِ أَمْ مِنَ الْحَرَامِ”. رواه البخاري.
ในยุคสมัยหนึ่ง จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ คือ ยุคสมัยซึ่งคนจะไม่ใส่ใจว่า ทรัพย์สินที่ได้มานั้น มันมาจาก ฮาลาลหรือฮารอม
คือ ขอเอาไว้ก่อน จะฮาลาลหรือฮารอมก็ชั่ง การคลุกคลีกับของชุบฮัต หรือของฮารอมนั้น ถึงขั้นอุละมาอฺ ได้ฟัตวา ว่า :
(مَرْدُوْدَةٌ وًغَيْرُمًقْبُوْلَةٍ)
ถึงแม้ จะเศาะดะเกาะฮ์สินทรัพย์ที่มาจาก เรื่องฮารอม ก็มิอาจถูกตอบรับ ณ ที่อัลลอฮ์
ท่านอิบนุอุมัร รายงานจากท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า :
“لاَ يَقْبَلُ اللهُ صَلاَةً بِغَيْرِ طُهُوْرٍ، وَلاَ صَدَقَةً مِنْ غُلُوْلٍ”. رواه مسلم.
อัลลอฮ์มิทรงรับละหมาดโดยไร้ เฎาะฮาเราะฮ์ และก็มิทรงรับการเศาะดะเกาะฮ์จากทรัพย์ที่ยักยอกมา แล้วอีกส่วนหนึ่งจากชะรีอัตของอิสลามได้บัญญัติห้าม แต่มีอีกหลายคนจากพี่น้องของเรา ยังคลุกเคล้าเหมารวมว่าเป็นทรัพย์สมนาคุณ ซึ่งความจริงแล้วมันคือ ทรัพย์สินที่ฮารอม นั้นคือ อัรริชวะฮ์
ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า :
اَلرَّاشِيْ وَالْمُرْتَشِيْ فِيْ النَّارِ.أخرجه الطبراني عن ابن عمر.
คนกินสินบาท คาดสินบน และคนให้สินบน คาดสินบนลงนรกทั้งสิ้น เพียงเงินทองทรัพย์สินที่ฮาลาล ซึ่งเราสะสมใว้ ก็มิอาจไปติดสินบน ต่อมุงกัร นะกีร ในกุโบรได้
แล้วจะอะไร กับเงินหรือทรัพย์สิน ที่ได้มาจากหนทางที่ฮารอม
บทความที่น่าสนใจ
Tags: