เวลาที่ดีที่สุดและประเสริฐที่สุดในการกล่าวขออภัยโทษ
โดย อับดุศศอมัด อัดนาน และ ยูซุฟ อบูบักรฺ
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรอร อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
ช่วงเวลาที่จะกล่าวขออภัยโทษ
การขออภัยโทษสามารถทำในเวลาใดก็ได้ ไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน แต่อย่างไรก็ตามการขออภัยโทษจะเป็นวาญิบเมื่อบ่าวต้องการลบล้างจากกระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืน (ความชั่ว) และจะเป็นสุนัตที่สมควรกล่าวหลังจากการประกอบความดีทุกครั้ง เพื่อที่จะช่วยเสริมในข้อบกพร่องซึ่งอาจจะเกิดขึ้น เช่น การกล่าวถ้อยคำ ”อิสติฆฟาร” สามครั้งหลังละหมาด หรือการกล่าวขออภัยโทษในช่วงประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นต้น อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า...
[ثُمَّ أَفِيضُواْ مِنۡ حَيۡثُ أَفَاضَ ٱلنَّاسُ وَٱسۡتَغۡفِرُواْ ٱللَّهَۚ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ﴾ [البقرة : 199)
ความว่า “แล้วพวกเจ้าจงหลั่งไหลออกไปเหมือนกับบุคคลอื่นที่พวกเขาได้หลั่งไหลกันออกไป (จากทุ่งอะเราะฟะฮฺ-เนื่องจากชาวกุเรชจะออกไปวุกูฟที่ทุ่งมุซดะลิฟะฮฺแทนการวุกูฟที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ- และจงขออภัยต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้น เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 199)
เวลาที่ประเสริฐที่สุดในการกล่าวขออภัยโทษ
และเวลาที่ประเสริฐที่สุดในการที่จะขออภัยต่ออัลลอฮฺ คือ ช่วงเวลายามรุ่งอรุณ อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า...
[وَبِٱلۡأَسۡحَارِ هُمۡ يَسۡتَغۡفِرُونَ ﴾ [الذاريات : 18 )
ความว่า “และในยามรุ่งอรุณพวกเขาขออภัยโทษ (ต่อพระองค์)” (อัซ-ซาริยาต : 18)
และอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาตรัสอีกว่า...
وَٱلَّذِينَ إِذَا فَعَلُواْ فَٰحِشَةً أَوۡ ظَلَمُوٓاْ أَنفُسَهُمۡ ذَكَرُواْ ٱللَّهَ فَٱسۡتَغۡفَرُواْ لِذُنُوبِهِمۡ وَمَن يَغۡفِرُ ٱلذُّنُوبَ إِلَّا ٱللَّهُ وَلَمۡ يُصِرُّواْ عَلَىٰ مَا فَعَلُواْ وَهُمۡ يَعۡلَمُونَ)
[١٣٥ أُوْلَٰٓئِكَ جَزَآؤُهُم مَّغۡفِرَةٞ مِّن رَّبِّهِمۡ وَجَنَّٰتٞ تَجۡرِي مِن تَحۡتِهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُ خَٰلِدِينَ فِيهَاۚ وَنِعۡمَ أَجۡرُ ٱلۡعَٰمِلِينَ ﴾ [آل عمران : 135-136
ความว่า “บรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขากระทำความชั่วหรืออยุติธรรมแก่ตัวเองแล้ว พวกเขาก็รำลึกถึงอัลลอฮฺ แล้วขออภัยโทษต่อบรรดาความผิดของพวกเขา และไม่มีใครที่จะอภัยโทษต่อบรรดาความผิดทั้งหลายได้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น และพวกเขามิได้ดื้อรั้นปฏิบัติในสิ่งที่พวกเขาเคยปฏิบัติมาโดยที่พวกเขารู้กันอยู่ ชนเหล่านี้แหละการตอบแทนแก่พวกเขาคือการอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเขา และบรรดาสวนสวรรค์ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่ภายในสวนเหล่านั้น โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนเหล่านั้นตลอดกาล และรางวัลของผู้ทำงาน นั้นช่างเลอเลิศจริง” ( อาละอิมรอน : 135-136 )
อัล-ฟุฎ็อยลฺ บิน อิยาฎ กล่าวว่า “การขออภัยโทษโดยไม่ได้เลิกจากการกระทำความผิด เป็นการกลับตัวของคนตอแหล (จอมโกหก)” ในขณะที่ รอบิอะฮฺ อัล-อะดะวียะฮฺ ได้เปรียบเทียบว่า “การขออภัยโทษของพวกเราทุกวันนี้ ยิ่งต้องขออภัยโทษให้มากๆ อันเนื่องจากการขออภัยโทษที่ไม่จริงใจ”
Tags: