ปลากุเลา “ราชาแห่งปลาเค็ม” บอกเล่าเรื่องราวอันแสนอุดมของทรัพยากร“สามจังหวัดชายแดนใต้”
ปลากุเลาเค็มที่นี่ ต้องบอกว่าผลิตไม่ทันกับความต้องการ และเพิ่มมูลค่าด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม นำไปสู่วิธีการแปรรูปอาหารชั้นเลิศจนถูกจัดว่าเป็น "ราชาแห่งปลาเค็ม" ไม่น้อยหน้าที่อื่นเหมือนกัน สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่เครือข่ายประมงและชุมชนอย่างน่าภาคภูมิใจปลากุเลาเค็มที่นี่ ต้องบอกว่าผลิตไม่ทันกับความต้องการ และเพิ่มมูลค่าด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม นำไปสู่วิธีการแปรรูปอาหารชั้นเลิศจนถูกจัดว่าเป็น "ราชาแห่งปลาเค็ม" ไม่น้อยหน้าที่อื่นเหมือนกัน สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่เครือข่ายประมงและชุมชนอย่างน่าภาคภูมิใจ
เหตุนี้เองหลายคนจึงรู้จัก "ปลากุเลา" ในฐานะ "ราชาแห่งปลาเค็ม" และเคยได้ยินแต่ "ปลากุเลาตากใบ" ซึ่งหมายถึงโอทอประดับ 5 ดาวของ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส แต่จริงๆ แล้วปลากุเลายังมีในพื้นที่อื่นๆ ของชายแดนใต้ด้วย ดังเช่น "ปลากุเลา บ้านตันหยงเปาว์" ที่ ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
บ้านตันหยงเปาว์ เป็นชุมชนติดทะเล มีพื้นที่คล้ายเกาะ หน้าหมู่บ้านมีทะเลอ่าวไทยทอดยาว ส่วนด้านหลังมีคลองโอบล้อมหมู่บ้านเอาไว้ จากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จึงมีสัตว์น้ำมากมาย ชาวบ้านทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างสุขสบายด้วยการทำประมงชายฝั่ง
กระทั่งปี 2532 ถึงปัจจุบัน ชาวตันหยงเปาว์ต้องต่อสู้กับนายทุนที่ทำประมงแบบผิดกฎหมาย โดยเฉพาะ "ประมงอวนรุน" ส่งผลให้ทรัพยากรทางทะเลถูกทำลายไปเกือบหมดสิ้น แต่ชาวบ้านก็เลือกต่อสู้แบบ "สันติวิธี" และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทะเลฟื้นตัวและมอบความอุดมสมบูรณ์กลับมาให้พวกเขาอีกครั้ง ปัจจุบันอวนลากมีปริมาณลดลง ปลาเคยที่หายไปอย่าง "ปลากุเลา" เริ่มกลับมาให้เห็น
ด้วยระบบนิเวศน์บริเวณปากอ่าวปัตตานีที่มี "แพลงตอน" มากมาย โดยเฉพาะปากคลองตันหยงเปาว์ คลองบางตาวาที่บรรจบกับทะเล จึงมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ส่งผลให้ปลากุเลาชุกชุมตามไปด้วย
เดิมทีชาวประมงบ้านตันหยงเปาว์จับปลาได้ ก็นำไปขายเป็นปลาสด ส่งออกไปยังจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะนราธิวาส ทำให้ขายได้เพียงกิโลกรัมละ 250 บาท แต่เมื่อมีการรวมกลุ่มกันเป็น "วิสาหกิจชุมชน" จึงมีแนวคิดพัฒนาและแปรรูปสินค้าเป็น "โอรังปันตัย" หรือ "ชาวเล" นั่นก็คือ "ปลากุเลาเค็มกางมุ้ง"
ปัจจุบันชาวบ้านรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายชุมชนประมงพื้นบ้านจำนวน 52 หมู่บ้าน มีเรือกว่า 2,900 ลำ ชาวประมงกว่า 83,000 คน รองรับการประกอบวิสาหกิจชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการท้องถิ่นและภาครัฐในการยกระดับสินค้า เพิ่มมูลค่าพร้อมสร้างมาตรฐานในการผลิต โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูป แต่ไมทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม คือเมื่อได้ปลาสดๆ จากทะเล ก็จะแขวนปลาให้สะเด็ดน้ำ นวดเนื้อปลาเพื่อความนุ่ม ละเอียดเป็นเนื้อเดียว ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ถูกบ่มเพาะทักษะและความชำนาญจากรุ่นสู่รุ่น
มูหามะสุกรี มะสะนิง นายกสมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี บอกว่า ทุกวันนี้ปลากุเลาของบ้านตันหยงเปาว์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แม้ว่ามีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1,500-1,700 บาท ขนาดตัวละ 1-2 กิโลกรัมก็ตาม ปัจจุบันสมาคมชาวประมงบ้านตันหยงเปาว์ เป็นแหล่งรับซื้ออาหารทะเลสดจากกลุ่มสมาชิกประมงเพื่อนำไปจำหน่ายยังพื้นที่ต่างๆ
"เราไม่ทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อมีปลาสดมาส่ง ต้องดูว่าใครเอามาขาย มีวิธีการจับอย่างไร เพื่อให้เป็นมาตรฐานที่แท้จริง มีการฝึกบันทึกข้อมูล สมาชิกจะเข้าใจตรงกันว่า หากปลามาจากการทำประมงที่ผิดกฏหมาย ทางสมาคมฯจะไม่รับซื้อ" มูหามะสุกรี เล่าถึงกฎเหล็กของสมาคมฯ ที่มีไว้เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากร
"ปลากุเลาที่นี่เนื้อแน่น สมบูรณ์มาก เป็นทุนของชุมชน ชาวบ้านใช้กุเลาเป็นสื่อบอกเรื่องราวไปสู่ผู้บริโภคว่า กินกุเลาตัวหนึ่ง ได้บริจาคส่วนหนึ่งมาช่วยพี่น้องเราในการอนุรักษ์ทรัพยากร เราให้ความสำคัญกับการไม่ใช้สารเคมีและสารฟอกสี ใช้เกลือหวานปัตตานีเป็นส่วนผสมหลัก ซึ่งฮาลาลด้วยตัวเอง ต้องดูแลเหมือนลูก นวดทุกวันให้เข้าที่ เอาออกผึ่งแดด เอามาผึ่งลม ใช้ทั้งสองส่วนผสมกัน กางมุ้งให้ ปลากุเลาตัวเล็กใช้เวลาประมาณ 25 วัน ตัวใหญ่ 45 วัน รับประกันได้ว่าเป็นปลาอินทรีย์ที่สะอาด ปราศจากสีและสิ่งปลอมปน"
ปัจจุบันสมาคมประมงพื้นบ้านตันหยงเปาว์ได้ขอเครื่องหมายรับรองฮาลาล
ที่มา: https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/58384-gulao.html
Tags: