สูตรบำบัดจิตใจให้เป็นสุข
การรู้จักตัวเอง
พึงทราบเถิดว่า แท้จริง กุญแจที่จะไขไปสู่การรู้จักอัลเลาะฮ์นั้น(3) คือการรู้จักตัวของท่านเอง ดังที่อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ว่า
سَنُريهِم آياتِنا في الآفاقِ وَفي أَنفُسِهِم حَتّى يَتَبَيَّنَ لَهُم أَنَّهُ الحَقُّ
“ต่อไปเราจะทำให้พวกเขาได้มองเห็นสัญลักษ์ต่างๆ ของเรา ซึ่งมีอยู่ในด้านต่างๆ (ของจักวาลนี้) และในตัวของพวกเขาเอง จนกระทั่งได้ประจักษ์แจ้งชัดแก่พวกเขาว่าที่จริงแล้วพระองค์คือสัจจะธรรม”(ฟุศศิลัฟ 53) (4)
ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
من عرف نفسه فقد عرف ربه
“ผู้ที่รู้จักตัวเขาเองแล้วนั้น แน่นอน เขาย่อมรู้จักพระเจ้าของเขา”
โดยที่ไม่มีสิ่งใดที่จะใกล้ชิดมากที่สุดไปกว่าตัวของท่าน เพราะถ้าหากท่านไม่รู้จักตัวของท่านเองแล้ว แน่นอนว่า ท่านจะรู้จักพระเจ้าผู้ทรงสร้างตัวของท่านได้อย่างไร? ดังนั้น ถ้าหากท่านกล่าวว่า “แท้จริง ฉันรู้จักตัวของฉันแล้ว” ซึ่งความจริงท่านรู้จักเพียงร่างกายภายนอกเท่านั้น ซึ่งประกอบไปด้วย มือ เท้า ศีรษะและร่างกาย แต่ท่านไม่รู้ถึงสภาวะจิตวิสัยภายในตัวของท่าน ซึ่งเมื่อท่านเกิดความโทสะ ท่านก็จะทะเลาะวิวาท เมื่อมีอารมณ์ความใคร่ ท่านก็จะเสพสม เมื่อหิวท่านต้องรับประทาน เมื่อยามกระหายท่านต้องดื่ม ซึ่งบรรดาสัตว์เดรัจฉานนั้นก็ล้วนมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้เหมือนกับท่าน เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นแก่ท่านที่จะต้องรู้จักตัวของท่านเองอย่างแท้จริง จนกระทั่งสามารถรู้ได้ว่า สิ่งใดกันแน่ที่เป็นตัวของท่าน ท่านมาจากไหนในโลกใบนี้ จากสิ่งใดกระนั้นหรือที่ท่านถูกสร้างมา ด้วยเหตุใดที่ท่านมีความสุข และด้วยสิ่งใดที่ทำให้ท่านความทุกข์
แท้จริง ภายในจิตใจของท่านนั้น มีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน
- ลักษณะของสัตว์เดรัจฉาน
- ลักษณะของสัตว์ร้าย
- ลักษณะของชัยฏอน
- ลักษณะของมะลาอิกะฮ์
ดังนั้น จิตวิญญาณจึงเป็นรัตถะแก่นแท้ของท่าน สิ่งที่นอกเหนือจากจิตวิญญาณนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ และเป็นสิ่งที่ถูกให้ยืมแก่ท่าน(ที่ไม่จีรัง) เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นที่ท่านจะต้องรู้จักต่อสิ่งนี้ คือต้องรู้ว่าสิ่งเหล่านั้น ย่อมต้องการอาหารและความผาสุก ความสุขของสัตว์เดรัจฉาน คือการที่มันได้มีการกิน การดื่ม การหลับนอน การสืบพันธุ์ ดังนั้น หากท่านเป็นส่วนหนึ่งจากพวกเขา ท่านก็จงหาปัจจัยยังชีพและการสืบพันธุ์ ความสุขของสัตว์ร้าย คือการจู่โจมและสังหารเยื่อ ความสุขของชัยฏอน คือ การหลอกลวง ความชั่วและกลอุบาย ดังนั้น ถ้าหากท่านเป็นส่วนหนึ่งจากพวกเขา ท่านก็จงกระทำเหมือนกับที่พวกเขาได้กระทำ , และความผาสุกของมะลาอิกะฮ์อยู่ในการเพ่งพิศ(คุณลักษณะ)ความวิจิตรแห่งพระผู้เป็นเจ้า พวกเขาไม่มีความโทสะ ไม่มีความใคร่ ดังนั้น หากท่านเป็นส่วนจากพวกเขา ท่านก็จงเพียรพยายามในการรู้จักจุดกำเนิดของท่าน จนกระทั่งรู้หนทางในสู่พระผู้เป็นเจ้า แล้วท่านจะบรรลุไปสู่การเพ่งพิศ(คุณลักษณะ) ความยิ่งใหญ่และ(คุณลักษณะ) ความวิจิตรงดงามของพระองค์ (5) ท่านจะหลุดพ้นจากข้อผูกมัดทางอารมณ์และความโกรธ ท่านจะรู้ว่าคุณลักษณะเหล่านี้ว่ามีสิ่งใดบ้างที่ถูกประกอบขึ้นในตัวของท่าน ซึ่งอัลเลาะฮ์จะไม่ทรงสร้างมัน(คือคุณลักษณะที่สี่) เพื่อให้ท่านเป็นจำเลยของมัน แต่พระองค์จะทรงสร้างมันเหล่านั้น เพื่อให้มันเป็นจำเลยของท่าน ท่านสามารถมัน(คุณลักษณะทั้งสี่) เพื่อเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง สามารถใช้มันเป็นพาหนะ ทำให้เป็นอาวุธเพื่อทำการล่า(สัตว์) โดยหาความสุขสำราญด้วยกับมันได้ ดังนั้น เมื่อท่านบรรลุถึงเป้าหมาย (แห่งการรู้จักพระองค์) ท่านก็จงต่อสู้มันภายใต้สองเท้า(ที่มั่นคง)ของท่าน และจงหวนกลับไปยังที่พำนักอันผาสุกของท่านเถิด ซึ่งนั้นก็คือ สถานที่พำนักสำหรับบุคคลพิเศษสำหรับพระองค์ แต่ที่พำนักของคนทั่วไปเป็นเพียงชั้นของสวรรค์ธรรมดาเท่านั้นเอง ดังกล่าวนี้ ท่านจึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักความหมายต่างๆ เหล่านั้น(คุณลักษณะทั้งสี่) ด้วยการรู้จักตัวของท่านเองทีละน้อยๆ (เป็นลำดับขั้นตอน) ดังนั้น ผู้ใดที่ไม่ทำความรู้จักความหมายเหล่านี้ ส่วนที่ได้รับของเขาก็คงเป็นเพียงแค่เปลือกนอก เนื่องจากสัจจะธรรมจะถูกปิดบังด้วยเปลือกนอกนั้น
ท่านจะรู้จักตัวของท่านเองได้อย่างไร?
เมื่อท่านปรารถนาที่จะรู้จักตัวของท่าน พึงทราบเถิดว่า ท่านนั้นมาจากสองสิ่ง
- หัวใจ
- จิตวิญญาณ
จิต ก็คือ หัวใจที่ท่านรับรู้ได้ด้วยสัมผัสภายใน แก่แท้นของตัวท่านคือภายใน เพราะร่างกายคือสิ่งแรก(ที่ท่านเห็น) แต่หัวใจนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่ง ส่วนจิตก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่หัวใจเป็นสิ่งแรก(ที่จะรับรู้ได้ก่อนจิต) หัวใจที่แท้จริง ย่อมมิใช่ก้อนเนื้อที่อยู่ในทรวงอกข้างซ้าย เพราะว่าหัวใจ(ที่เป็นก้อนเนื้อนั้น) มันก็อยู่ในสิงห์สาราสัตว์ทั้งหลาย อีกทั้งอยู่ในซากที่ตายแล้ว ทุกสิ่งที่ท่านเห็นด้วยสัมผัสภายนอกนั้น มันคือโลกใบนี้ที่ถูกเรียกว่าโลกที่เห็นด้วยตา ส่วนรัตถะแก่นแท้ของหัวใจย่อมมิได้มาจากโลกใบนี้ แต่มันมาจากโลกที่เร้นลับ ดังนั้น หัวใจในโลกใบนี้ จึงเป็นสิ่งที่แปลกไปด้วย(การหยั่งรู้) ก้อนเนื้อของหัวใจดังกล่าวได้ถูกประกอบขึ้น(อย่างซับซ้อน) ทุกอวัยวะของร่างกาย คือ ไพร่พล หัวใจย่อมเป็นกษัตริย์ปกครองไพร่พลเหล่านั้น การรู้จักอัลเลาะฮ์ การ(ได้รับการเปิดจิต) ให้เพ่งพิศ(บรรดาคุณลักษณะความวิจิตรของพระองค์นั้น มันคือคุณลักษณะการเป็นอยู่ของหัวใจ การมีบทบัญญัติข้อบังคับหรือหรือการบัญชาใช้ ย่อมเกี่ยวข้องกับหัวใจ การให้คุณและให้โทษนั้นย่อมมีผลแก่หัวใจ ความสุขและความทุกข์ก็ย่อมประสบกับหัวใจ แม้วิญญาณของสัตว์เดรัจฉานและทุกสิ่งย่อมสนองตามและอยู่พร้อมกับหัวใจ การรู้จักแก่นแท้และคุณลักษณะของหัวใจ คือ กุญแจไขไปสู่การรู้จักพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น ท่านจงต่อสู้จนกระทั่งรู้ประจักษ์ถึงรัตถะแก่นแท้ของหัวใจ เพราะหัวใจนั้น คือแก่นแท้ที่มีเกียรติ ซึ่งมันมาจากชนิดเดียวกันกับแก่นแท้ของมะลาอิกะฮ์ ต้นกำเนิดของจิตใจนั้น ย่อมมาจากพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้น หัวใจย่อมมาจากฐานันดรดังกล่าว และยังฐานันดรนั้น มันย่อมกลับไป(สู่พระองค์หรือการตอบแทนของพระองค์)
อะไรคือแก่นแท้ของหัวใจ?
การรู้จักแก่แท้ของหัวใจ ก็ไม่ได้มีบทบัญญัติยืนยันที่จะมากไปกว่า คำตรัสองอัลเลาะฮ์ที่ว่า
وَيَسأَلونَكَ عَنِ الروحِ قُلِ الروحُ مِن أَمرِ رَبّي
“พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ เจ้าจงกล่าวเถิด วิญญาณนั้นเป็นการงาน(อันเร้นลับ)ของพระองค์” (อัลอิสรออ์ 85) เนื่องจากวิญญาณนั้น มันได้รวมอยู่ในพระเดชานุภาพแห่งพระผู้เป็นเจ้าซึ่งมาจากโลกแห่งคำบัญชา(คำสั่ง) พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า
أَلا لَهُ الخَلقُ وَالأَمر ُ
“พึงสังวร ! พระองค์ทรงสิทธิ์บันดาลและบัญชา” (อัลอะร๊อฟ 54)
ด้านหนึ่งของมนุษย์จึงมาจากโลกแห่งการสร้างสรรค์ (6) และอีกด้านหนึ่งมาจากโลกแห่งคำสั่ง(จากอัลเลาะฮ์)(7) ดังนั้น ทุกสิ่งย่อมมีพื้นที่(อาศัยสำหรับมัน) มีปริมาณสุทธิ และวิธีการ ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่มาจากโลกแห่งการสร้างสรรค์ แต่จิตใจย่อมไม่มีพื้นที่ ไม่ปริมาณ(8)มันจึงไม่สามารถรับการแบ่งได้ เพราะสิ่งที่รับการแบ่งได้นั้น มันย่อมมาจากโลกแห่งการสร้างสรรค์ (ถ้า)มาจากด้านแห่งความโง่เขลา มันย่อมเป็นสิ่งที่ไม่มีการรับรู้ ถ้าหากมาจากด้านของการรับรู้ มันย่อมหยั่งรู้ได้ ดังนั้น สิ่งที่มีการหยั่งรู้และความโง่เขลา(ในเวลาเดียวกัน) ย่อมเป็นไปไม่ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ หัวใจ(จิต) เป็นโลกแห่งคำสั่ง เพราะโลกแห่งคำสั่งย่อมหมายถึงสิ่งที่หนึ่งที่ไม่มีพื้นที่และปริมาณที่จะเข้าถึงมันได้เลย นักคิดกล่าวหนึ่งได้มีทัศนะว่า “วิญญาณนั้นเป็นสิ่งที่ดั้งเดิม(โดยไม่มีจุดเริ่มต้น)” ซึ่งทัศนะนี้ถือว่าผิดอย่างสิ้นเชิง แต่อีกกลุ่มหนึ่งได้ให้ทัศนะว่า “วิญญาณเป็นลักษณะอุบัติ(อะรัฏ)(9)”(ที่อาศัยกับสิ่งอื่น) ตามทัศนะดังกล่าวย่อมผิดอีกเช่นกัน เพราะลักษณะอุบัติย่อมไม่อาศัยด้วยตัวของมันเอง แต่มันต้องการอาศัยด้วยกับสิ่งอื่น ดังนั้น วิญญาณจึงเป็นรากกำเนิดของมนุษย์ ร่างกายของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับวิญญาณ เพราะฉะนั้น วิญญาณจะเป็นลักษณะอุบัติได้อย่างไร?(ในเมื่อมันไม่ได้อาศัยร่างกายแต่ร่างกายต้องอาศัยมัน) มีอีกกลุ่มหนึ่งได้ให้ความเห็นว่า “วิญญาณเป็นสสาร(วัตถุ)” ทัศนะนี้ย่อมผิดอีกเช่นกัน เพราะมวลสารย่อมรับการแบ่งได้ ดังนั้น วิญญาณที่เราเรียกมันว่า “จิตใจ” นั้น เป็นสิ่งที่ทำให้รู้จักพระเจ้า และสิ่งที่ทำให้รู้จักพระเจ้านั้น ย่อมไม่ใช่มวลสาร(วัตถุ) และย่อมไม่ใช่ลักษณะอุบัติ แต่วิญญาณจะอยู่ในชนิดเดียวกับจิตของมะลาอิกะฮ์ ดังนั้น การรู้จัก(จิต)วิญญาณจึงเป็นเรื่องที่ลำบากอย่างยิ่ง เพราะไม่มีหนทางใดเลยในศาสนาอิสลามที่จะนำไปสู่การรู้จักมันได้ และอิสลามก็ไม่มีความจำเป็นนักที่จะทำการรู้จักเรื่องวิญญาณ แต่(จิตวิญญาณใน)อิสลาม คือ การต่อสู้(มุญาฮะดะฮ์) การรู้ประจักษ์แจ้ง(มะริฟัต) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งทางนำ อัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสไว้ว่า
وَالَّذينَ جاهَدوا فينا لَنَهدِيَنَّهُم سُبُلَنا
“บรรดาผู้ต่อสู้ใน(วิถีทางของ)เรา แน่นอน เราจะชี้นำพวกเขากับหลายๆ แนวทางของเรา” (อัลอันกะบูต 69)
เพราะฉะนั้น ผู้ใดไม่เพียรพยายามที่จะต่อสู้อย่างแท้จริง เขาก็จะพูดในเรื่องแก่นแท้ของจิตวิญญาณไม่ได้ เนื่องจากการต่อสู้(ในหนทางของอัลเลาะฮ์) คือการรู้ถึงไพร่พลของหัวใจ เราะตราบใดที่มนุษย์ไม่รู้จักไพร่พลของหัวใจดีพอแล้ว เขาก็จะไม่สามารถทำการต่อสู้ในหนทางของอัลเลาะฮ์ได้
สามประการที่ก่อให้เกิดสุข
- พลังแห่งความโกรธ
- พลังแห่งอารมณ์
- พลังแห่งความรู้
ดังนั้น ทั้งสามประการนี้ ต้องอยู่ในความเป็นกลางและสมดุล (ความพอดีทำให้เกิดความสุข) เพื่อมิให้เกิดทวีความรุนแรงของอารมณ์มากเกินไป จนกระทั่งทำให้เขามีความอ่อนแอ ซึ่งเป็นเหตุให้เขาตกอยู่ในความเสียหาย หรือ ไม่ควรให้มีความโกรธมากเกินไปจนกระทั่งนำไปสู่ความดื้อรั้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เขาตกอยู่ในความเสียหาย เพื่อพลังทั้งสองดังกล่าว มีความพอดีด้วยการชี้นำของพลังแห่งความรู้ ดังนั้น พลังแห่งวิชาความรู้จึงนำไปสู่ทางนำ เฉกเช่นเดียวกัน ในเรื่องของความโกรธ เมื่อใดมันได้ทวีคูณขึ้น มันย่อมง่ายแก่การพิชิต และถ้าหากมันลดลง ความกระตือรือร้นในเรื่องศาสนาและดุนยาย่อมมลายสิ้น แต่ถ้าหากมันมีความพอดี แน่นอน มันจะทำให้เกิดความอดทน ความกล้าหาญและวิทยปัญญา เช่นเดียวกันกับอารมณ์ ซึ่งถ้าหากมันทวีคุณขึ้น มันย่อมทำให้เกิดความเลวและความชั่ว แต่ถ้าหากมันลดน้อยลง มันจะทำให้เกิดความอ่อนแอและความขลาด แต่ถ้ามันมีความพอดี ก็จะก่อให้เกิดการห่างไกลจากความชั่ว ก่อให้เกิดความพอดี และอื่นๆ
สภาวะของหัวใจที่อยู่กับไพร่พลของมัน
พึงทราบเถิด หัวใจที่มีอยู่พร้อมกับไพร่พลของมันนั้น ย่อมมีสภาวะและลักษณะต่างๆ มากมาย ซึ่งลักษณะบางส่วนจะถูกเรียกว่าจรรยาที่เลว และบางส่วนจะถูกเรียกว่า จรรยาที่งดงาม ดังนั้น จรรยาที่ดีงามย่อมทำให้เขาบรรลุถึงขั้นสุข แต่จรรยาที่เลวย่อมทำให้เขาตกอยู่ในความเสียหายและความทุกข์ระทม
อุปนิสัยได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชนิด
- อุปนิสัยของมาร(ชัยฏอน)
- อุปนิสัยของสัตว์
- อุปนิสัยของสัตว์ร้าย
- จรรยาของมะลาอิกะฮ์
ดังนั้น พฤติกรรมที่ต่ำต้อย ที่มาจากการกิน การดื่ม การนอน และสือพันธุ์ ย่อมมาจากอุปนิสัยของสัตว์เดรัจฉาน พฤติกรรมของความโกรธที่มาจากการฆ่าฟันและการวิวาท ย่อมมาจากอุปนิสัยของสัตว์ร้าย พฤติกรรมของอารมณ์ที่มาจาก เล่ห์แหลี่ยม กลอุบาย การหลอกลวง และอื่นๆ ย่อมเป็นอุปนิสัยของมาร มโนธรรมของมะลาอิกะฮ์ซึ่งมาจากความเมตตา ความรู้ และความดีงามย่อมเป็นจิตอันประเสริฐของมะลาอิกะฮ์
ที่มา : https://muslim-teenager.blogspot.com/
Tags: