มุสลิมกับการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน
สุขภาพ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะนำความสงบสุขให้กับชีวิต มุสลิมทุกคนถือว่าการมีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นนิอมัตอย่างหนึ่งจากอัลลอฮ (ซ.บ.) ที่ควรจะรักห่วงแหน ดูแลทะนุถนอมเป็นอย่างดีและจะต้องรู้จักขอบคุณผู้ให้นิอมัตชิ้นนี้ด้วย นั่นคือ อัลลอฮ (ซ.บ.) ด้วยการกล่าวซูโกรและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม คือต้องเป็นบ่าวที่ดีและต้องตักวาต่อพระองค์อย่างแท้จริง เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่จะหลงลืมไม่ใช้นิอมัตนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตาม เจตนารมณ์ของอัลลอฮ นั่นคือ เพื่อภักดี(อิบาดะห์)ต่อพระองค์
ท่านนบีมูฮำหมัดได้กล่าวว่า
رواه البخارى ( نعمتان مغبون فيهما كثير من الناس الصحة والفراغ )
“ มีนิอมัต (ความสุข ความโปรดปราน) อยู่ 2 ประการ มีคนส่วนใหญ่จะหลงลืม นั่นคือ การมีสุขภาพที่ดีและมียามว่าง ” รายงานโดย อัลบุคอรี
การ ดูแลสุขภาพในยุคโลกาภิวัฒน์ หรือ ยุคสารสนเทศนี้ สำหรับผู้ศรัทธาต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ต้องมีความรู้ ต้องมีอีหม่าน ต้องรู้จักบริหารตนเองและเวลา ต้องมีวินัยอย่างเคร่งครัด หากศึกษาในหลักการแล้ว การดูแลสุขภาพส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการบำบัดรักษา นักปราชญ์ได้กล่าวว่า
الوقاية خير من العلاج
“การป้องกันโรค ดีกว่า การบำบัดรักษา”
การ ดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันโรค จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นหมั่นเพียรหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเกิดความตระหนักพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในทางที่ดีและนำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมอย่างสม่ำเสมอ
ท่านนบีฯ เองเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ท่านเคยประลองกับชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ รูกอนะห์ ที่มีร่างกายแข็งแรงแต่ท่านนบีสามารถล้มชายคนนั้นลงกับพื้นได้ถึง 3 ครั้ง ก่อนที่ชายคนนั้นจะยอมนับถือศาสนาในเวลาต่อมา
ท่านนบีเคยกล่าวว่า :
(المؤمن القوى خير واحب إلى الله من لمؤمن الضعيف وفى كل خير احرص على ما ينفعك واستعن بالله ولا تعجر ) رواه مسلم
“ผู้ ศรัทธาที่แข็งแรง ย่อมประเสริฐกว่าและเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮ มากกว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ และในทุกการงานที่ดี จงยึดมั่นต่อสิ่งที่ให้คุณประโยชน์และจงขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮ และจงอย่าเป็นคนที่อ่อนแอ”
องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำนิยาม สุขภาพ จากเดิมที่ได้ระบุไว้ 3 มิติ มาเป็น 4 มิติ ในปี ค.ศ. 1984 ไว้ดังนี้
สุขภาพ คือ “สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย (Physical) จิตใจ (Psycho) จิตวิญญาณ (Spiritual) และสังคม (Social) มิเพียงแต่ปราศจากโรคและความพิการเท่านั้น”
จากคำนิยามข้างต้น จะเห็นว่า ศาสนา มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ดังนั้น ในการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันควรจะอยู่ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนา อิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาเข้าด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. การดูแลสุขภาพร่างกาย
ปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพกายมีดังนี้
1.1 ดูแลเรื่องโภชนาการ
มุสลิมต้องเลือกรับประทานอาหารที่อิสลามได้กำหนดไว้คือ
- อาหารที่ฮาลาล คือ อาหารที่อิสลามได้อนุมัติให้รับประทานได้ ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาการทางด้านจิตใจและวิญญาณ
- อาหารที่ดี(ฏ็อยญีบัน) คือ อาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปลอดจากสารเคมีเจือปน อร่อย เหมาะสมกับวัยและสภาพของแต่ละคน มีผลต่อการพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ
- รับประทานตามแบบซุนนะห์ จะช่วยป้องกันโรค ได้สุขภาพและอิบาดะห์ ช่วยพัฒนาการทางด้านร่างกายและอัคลัค(จริยธรรม)
- อาหารแต่ละมื้อควรจะได้แคลอรี่ที่เหมาะสม มีวิตามินและเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ
- อาหารสำหรับผู้สูงอายุ (อายุ 40-60 ปี ) ควรจะลดอาหารประเภทแป้งและไขมัน ควรจะกินเนื้อ นม ถั่ว ผักและผลไม้มากขึ้น
- เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เพราะกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับไต เริ่มเสื่อมลง ควรงดอาหารรสเค็มจัด เพราะไตจะต้องทำงานหนักยิ่งขึ้น
1.2 การออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise For health)
2. การออกกำลังกายเพื่อการแข่งขัน (Exercise For competition)
- การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ มี 4 ชนิด คือ
1. Aerobic Exercise เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ การขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
2. Callisthenic Exercise เช่น การ Warm up และ Cool down ก่อนและหลังออกกำลังกายหรือ เล่นกีฬา วามหมาย “สุขภาพ” (Health)เช่น การบิดข้อเท้า การสะบัดข้อเท้า การบิดลำตัว เอว สะโพก การแกว่งแขน เป็นต้น
3. Relaxation Exercise เช่น โยคะ รำมวยจีน
4. High Resistencemaerobic Exercise เช่น กีฬายกน้ำหนัก เป็นต้น
- การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ควรจะเลือกออกกำลังกายที่มีผลต่อระบบหัวใจ ระบบการหายใจ กระดูก กล้ามเนื้อและข้อ เป็นสำคัญ นั่นคือ aerobic exercise โดยมีหลักเกณฑ์ “FITT FORMULA” ดังนี้
1. F = Fregurncy (ความถี่) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
2. I = Intensity (ความรุนแรง) คือ การออกกำลังกายจนกว่าการเต้นของหัวใจจะเพิ่มมากขึ้นประมาณ 60-85 % ของค่า age-predicted maximum rate (MHR) หมายถึง การออกกำลังกายจนมีเหงื่อออกและเริ่มหายใจเร็วและลึกมากขึ้น โดยไม่รู้สึกเจ็บหน้าอกหรือคล้ายจะเป็นลมค่า predicted MHR = 220 – อายุ(ปี) เช่น อายุ 45 ปี ค่า MHR = 220-45 = 175 ครั้ง/นาที
3. Type of activity (ชนิดของกิจกรรม) เลือกการออกกำลังที่ตนชอบเหมาะสมกับอายุและสภาพร่างกายของตนเอง เช่น การเดิน เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย ประหยัดและปลอดภัย
4. Time of duration (ระยะเวลา) อย่างน้อย 15-60 นาที/ครั้ง ขึ้นอยู่กับประเภทของการออกกำลังกาย ถ้า ว่ายน้ำ อย่างน้อย 20 นาที จะสูญเสียแคลอรี่เท่ากับการเดิน 60 นาที (ประมาณ 200-300 แคลอรี่) โดยจะมีการ Warm up ด้วยวิธี Callisthenic exercise 3-5 นาที ก่อนจะออกกำลังกาย aerobic และจะต้อง cool down อีก 3-5 นาที ด้วยขยับขึ้น callisthenic exercise ก่อนที่จะเสร็จสิ้นการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง
- ควรจะมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง มีแรงบีบตัวเพิ่มขึ้นและการเต้นของหัวใจจะช้าลง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ออกกำลังกาย เท่ากับเป็นการประหยัดพลังงานของเรา
ที่มา : https://muslim-teenager.blogspot.com/
Tags: