การดูแลสุขภาพตามวิถีมุสลิม
การดูแลสุขภาพตามวิถีมุสลิม
สุขภาพ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะนำความสงบสุขให้กับชีวิต มุสลิมทุกคนถือว่าการมีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นนิอมัตอย่างหนึ่งจากอัลลอฮ (ซ.บ.) ที่ควรจะรักห่วงแหน ดูแลทะนุถนอมเป็นอย่างดีและจะต้องรู้จักขอบคุณผู้ให้นิอมัตชิ้นนี้ด้วย นั่นคือ อัลลอฮ (ซ.บ.) ด้วยการกล่าวซูโกรและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม คือต้องเป็นบ่าวที่ดีและต้องตักวาต่อพระองค์อย่างแท้จริง เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่จะหลงลืมไม่ใช้นิอมัตนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตาม เจตนารมณ์ของอัลลอฮ นั่นคือ เพื่อภักดี (อิบาดะห์)ต่อพระองค์
องค์การอนามัยโลกกับสุขภาพ
องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำนิยาม สุขภาพ จากเดิมที่ได้ระบุไว้ 3 มิติ มาเป็น 4 มิติ ในปี ค.ศ. 1984 ไว้ดังนี้
1. การดูแลสุขภาพร่างกาย
2. ด้านโภชนาการ
3. ด้านการออกกำลังกาย
4. การป้องกันและบำบัดโรค
การดูแลสุขภาพตามวิถีมุสลิม
กฎหมายและนโยบายของรัฐเกี่ยวกับสุขภาพ
- มาตรา 51 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้
- มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)
- ยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรง (พ.ศ. 2547 – 2558)
- เป้าหมายเมืองไทยแข็งแรง
- ความแข็งแรงของสุขภาพในมิติทางจิตใจ
- ความแข็งแรงของสุขภาพในมิติทางสังคม
- ความแข็งแรงของสุขภาพในมิติทางปัญญา/จิตวิญญาณ
ทัศนะของอิสลาม เกี่ยวกับสุขภาพ
• อิสลาม คือ การยอมจำนน ยอมตาม มอบตน แด่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)
• อิสลามเป็นวิถีในการดำเนินชีวิต ที่สมบูรณ์และครอบคลุมทุกๆด้าน (The way of life)
• เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วย อิสลามได้พูดถึงอย่างละเอียดทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ มุสลิมทุกคนต้องนำมาปฏิบัติ
การเจ็บป่วยในทัศนะอิสลาม
ความเจ็บป่วยในทัศนะอิสลาม ถือว่า…
ความเจ็บป่วยเป็นการทดสอบ
เป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ อิสลามมิได้ถือว่าความเจ็บป่วยเป็นเคราะห์กรรมหรือความโชคร้าย หากแต่เชื่อว่า ความเจ็บป่วยนั้นเป็นไปตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺ และการหายหรือไม่หายจากการเจ็บป่วยหรือการตายก็เป็นพระประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกันแต่ก็มิได้หมายความว่าให้ผู้ป่วยนอนรอจนกว่าพระองค์จะลิขิตให้หายโดยไม่พยายามเยียวยารักษาอิสลามถือว่าความเจ็บป่วยเป็นการทดสอบ วัดความศรัทธา ความอดทน ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ นอกจากนี้การที่พระองค์ให้เราเจ็บป่วยยังถือเป็นความเมตตาและไม่ให้เราท้อแท้สิ้นหวัง ให้รีบบำบัดเพื่อจะได้หายได้เคารพภักดีต่อพระองค์ต่อไป
- ความเจ็บป่วยเป็นความเมตตา
- ความเจ็บป่วยถือเป็นการลงโทษ
- การบำบัดรักษาเมื่อเจ็บป่วย
การออกกำลังกายตามหลักศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้มุสลิมเล่นกีฬาออกกำลังกาย และถือว่าการเล่นกีฬาเป็นอิบาดะฮ หากมีการตั้งเจตนาในการเล่นเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง หรือเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการภักดีต่ออัลลอฮ ทั้งยังส่งเสริมให้มุสลิมรู้จักการบริหารเวลาในชีวิตประจำวันโดยให้รู้จักแบ่งเวลาสำหรับการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ และแบ่งเวลาสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ศาสนาอิสลามห้ามการหลงใหลในกีฬาอย่างบ้าคลั่ง หรือห้ามการเล่นที่เลยเถิดหรือเกินขอบเขตจนละเมิดสิ่งวาญิบอื่นๆ ที่สำคัญกว่า เช่น เล่นจนเลยเวลาของการอิบาดะฮ หรือกระทบต่อภาระหน้าที่ของตนเองที่ต้องรับผิดชอบ
สุขภาพ(ในทัศนะของอิสลาม)
มุสลิมดำเนินชีวิตตามวิถีทางของศาสนาตลอดเวลา และมีความสัมพันธ์และศรัทธาต่อพระอัลลอฮ
ความหมายของ"สุขภาพ"ในปัจจุบันมีองค์ประกอบ4 ส่วน
1. สุขภาพกาย
2.สุขภาพจิต
3.สุขภาพสังคม
4.สุขภาพจิตวิญญาณ
อิสลามกับสุขภาพ
การให้ความสนใจต่อสุขภาพและการรักษาร่างกายในทัศนะอิสลาม
- สุขภาพพลานามัยกับความสะอาด
- สุขภาพพลานามัยกับการบริโภค
- สุขภาพพลานามัยกับการให้นมทารก
- สุขภาพพลานามัยกับการถือศีลอด
- สุขภาพพลานามัยกับสุราและการพนัน
- สุขภาพพลานามัยกับการป้องกัน
วิธีดื่มน้ำที่ถูกสุขลักษณะ
ท่านอิมามศอดิก(อ)กล่าวว่า“การยืนดื่มน้ำในตอนกลางวันจะช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นแต่การยืนดื่มน้ำในตอนกลางคืนจะทำให้เป็นโรคดีซ่านหรือโรคไต”
ทัศนะอิสลามเกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกาย
1. หลักการศรัทธาในอิสลามมี 6 ประการ
1.1 การศรัทธาต่ออัลลอฮ
1.2 การศรัทธาต่อบรรดามะลาอิกะฮ (เทวทูต)
1.3 การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์
1.4 การศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต
1.5 การศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮ(วันปรโลก)
1.6 การศรัทธาต่อกฎสภาวะ
2. หลักศาสนบัญญัติมี5ประการ
2.1 การกล่าวปฏิญาณตน
2.2 การละหมาด เป็นการสำรวมกาย วาจา และจิตใจมุ่งตรงสู่อัลลออ
2.3 การถือศีลอด
2.4 การจ่ายซะกาต (ทานบังคับ)
2.5 การประกอบพิธีฮัจย์
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกกำลังกายตามหลักศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายในรูปแบบที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม ซึ่งการออกกำลังกายตามหลักศาสนาอิสลามควรคำนึงถึง 7 ประเด็น ดังนี้
1. การตั้งเจตนา
2. การแต่งกาย
3. สถานที่
4. เวลา
5. ท่าทาง / พิธีกรรม
6. ดนตรีประกอบ
7. ความสัมพันธ์ผู้คนแวดล้อม
การมีสมรรถภาพทางกายที่ดี
การออกกำลังกายจะช่วยให้ระบบต่างๆของร่างกายมีการปรับตัวให้สามารถทำงานที่หนักขึ้นส่งผลให้กล้ามเนื้อและกระดูกมีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถประกอบภารกิจการทำงานได้มากขึ้นมีความอดทนและทำงานได้นานขึ้นมีความคล่องแคล่วว่องไวกระฉับกระเฉงกระปรี้กระเปร่าตลอดเวลามีน้ำหนักตัวที่สมส่วนเพราะการออกกำลังกายและเล่นกีฬาสามารถช่วยลดไขมันในร่างกายและลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี ทำให้มีรูปร่างและบุคลิกภาพที่ดี
ที่มา : www.prezi.com
Tags: