มารยาทในการขับถ่ายและการทำความสะอาดในอิสลาม
บทว่าด้วยมารยาทในการขับถ่ายและการทำความสะอาด(الاستنجاء وآداب التخلي)
1. อัล-อิสตินญาอ์ คือ การทำความสะอาดหรือการชำระสิ่งที่ออกจากทวารหนักและทวารเบาด้วยน้ำ
2. อัล-อิสติจญ์มารฺ คือ การชำระสิ่งที่ออกจากทวารหนักและทวารเบาด้วยก้อนหิน ใบไม้ หรืออื่น ๆ
3. ควรเข้าส้วมด้วยเท้าซ้ายและกล่าวว่า...
((بِسْمِ اللّهِ، أَعُوْذُ بِاللّهِ مِنَ الخُبُثِ والخَبَائِث))
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ให้พ้นจากความชั่วร้ายของชัยฏอนมารร้ายทั้งหลาย
ควรออกจากส้วมด้วยเท้าขวา และกล่าวว่า...
((غُفْرَانَكَ، الحَمْدُ لِلّهِ الذِي أَذْهَبَ عَنِّي الأَذَى وَعَافَانِي))
ความหมาย: ฉันขออภัยโทษต่อพระองค์ การสรรเสิญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ซึ่งขจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ออกจากตัวฉัน และทรงคุ้มครองฉัน
4. ผู้ต้องการขับถ่ายควรเทน้ำหนักไปที่เท้าซ้าย และหากขับถ่ายในที่โล่ง (ไม่ใช่ในอาคาร) ควรที่จะให้ห่างจากสายตาผู้คน และปกปิด ให้มิดชิด และหาสถานที่เหมาะเพื่อมิให้เปื้อนปัสสาวะ
5. ไม่ควรนำสิ่งใดที่มีถ้อยคำรำลึกถึง (กล่าวถึง )อัลลอฮ์เข้าส้วม นอกจากมีความจำเป็น และไม่ควรรีบถลกผ้าขึ้น ไม่ควรพูด ไม่ควรปัสสาวะในรู และไม่ควรใช้มือขวาจับและทำความสะอาดทวารเบา
6. ไม่อนุญาตให้ผินหน้าหรือหลังไปทางกิบละฮฺ (ทิศที่ตั้งของกะบะฮฺ ) ขณะขับถ่ายในที่โล่ง ส่วนในอาคารนั้นเป็นที่อนุญาต แต่ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยง
7. ห้ามขับถ่ายบนทางสัญจร ใต้ร่มเงาที่เป็นที่พักสารธารณะ ใต้ต้นไม้ที่รับประทานผลของมัน
8. เช็ดด้วยก้อนหินสะอาดสามก้อน หากไม่สะอาดก็ให้เพิ่ม และควรเพิ่มเป็นจำนวนคี่ สาม ห้า หรืออื่น ๆ
9. ห้ามเช็ดด้วยกระดูก มูลสัตว์แห้ง อาหาร และสิ่งที่ควรให้เกียรติ และเพียงพอกับการล้างชำระด้วยน้ำ กระดาษชำระ และใบไม้ การเช็ดด้วยก้อนหินแล้วล้างด้วยน้ำย่อมดีกว่าการล้างด้วยน้ำเพียงอย่างเดียว
10. นะญิส(สิ่งสกปรก) ที่เสื้อผ้านั้นจำเป็นต้องล้างออกด้วยน้ำ หากไม่รู้ว่าเปื้อนจุดใด ก็ให้ล้างทั้งชิ้น
11. ผู้ชายควรนั่งปัสสาวะ และหากมั่นใจว่าไม่เปื้อน ก็ไม่เป็นไรที่จะยืนปัสสาวะ
credit: islamhouse
Tags: