การตั้งเจตนาและความบริสุทธิ์ใจในอิสลาม
อัลลอฮ์ตรัสว่า
﴿ مَن كَانَ يُرِيدُ ٱلۡحَيَوٰةَ ٱلدُّنۡيَا وَزِينَتَهَا نُوَفِّ إِلَيۡهِمۡ أَعۡمَٰلَهُمۡ فِيهَا وَهُمۡ فِيهَا لَا يُبۡخَسُونَ ١٥ أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ لَيۡسَ لَهُمۡ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ إِلَّا ٱلنَّارُۖ وَحَبِطَ مَا صَنَعُواْ فِيهَا وَبَٰطِلٞ مَّا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ١٦ ﴾ [هود: ١٥-١٦]
ความว่า “ผู้ใดปรารถนาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และความเพริศแพร้วของมันเราก็จะตอบแทนให้พวกเขาอย่างครบถ้วน ซึ่งการงานของพวกเขาในโลกนี้เท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกริดรอนในการงานนั้นแต่อย่างใด ชนเหล่านั้น พวกเขาจะไม่ได้รับการตอบแทนอันใดในโลกอาคิเราะฮ์ นอกจากไฟนรกและสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ในโลกดุนยาก็จะไร้ผลและสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ก็จะสูญเสียไป” [ฮูด 15-16]
รายงานจากท่านอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى فَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ إِلَى دُنْيَا يُصِيبُهَا أَوْ إِلَى امْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا فَهِجْرَتُهُ إِلَى مَا هَاجَرَ إِلَيْهِ» [البخاري برقم 1، ومسلم برقم 1907]
ความว่า "แท้จริงการงานทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับเจตนา และแท้จริงสำหรับทุกคนนั้นคือสิ่งที่เขาได้ตั้งเจตนาไว้ ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่การอพยพของเขามีเจตนาเพื่ออัลลอฮ์และเราะสูลของพระองค์ ดังนั้นการอพยพของเขาก็จะเป็นไปเพื่ออัลลอฮ์และเราะสูลของพระองค์ และผู้ใดก็ตามที่การอพยพของเขาเพื่อโลกนี้ที่เขาก็จะได้รับ หรือเพื่อผู้หญิงที่เขาจะแต่งงานด้วย ดังนั้นการอพยพของเขาก็จะเป็นไปตามความประสงค์ที่เขาได้อพยพ" [บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ : 1, มุสลิม : 1,907]
รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إنَّ أَوَّلَ النَّاسِ يُقْضَى يَوْمَ الْقِيَامَةِ عَلَيْهِ رَجُلٌ اسْتُشْهِدَ ، فَأُتِيَ بِهِ فَعَرَّفَهُ نِعَمَهُ فَعَرَفَهَا ، قَالَ : فَمَا عَمِلْتَ فِيهَا ؟ قَالَ : قَاتَلْتُ فِيكَ حَتَّى اسْتُشْهِدْتُ ، قَالَ : كَذَبْتَ ، وَلَكِنَّكَ قَاتَلْتَ لأَنْ يُقَالَ : جَرِيءٌ ، فَقَدْ قِيلَ ، ثُمَّ أُمِرَ بِهِ فَسُحِبَ عَلَى وَجْهِهِ حَتَّى أُلْقِيَ فِي النَّارِ ، وَرَجُلٌ تَعَلَّمَ الْعِلْمَ ، وَعَلَّمَهُ وَقَرَأَ الْقُرْآنَ ، فَأُتِيَ بِهِ فَعَرَّفَهُ نِعَمَهُ فَعَرَفَهَا ، قَالَ : فَمَا عَمِلْتَ فِيهَا ؟ قَالَ : تَعَلَّمْتُ الْعِلْمَ ، وَعَلَّمْتُهُ وَقَرَأْتُ فِيكَ الْقُرْآنَ ، قَالَ : كَذَبْتَ ، وَلَكِنَّكَ تَعَلَّمْتَ الْعِلْمَ لِيُقَالَ : عَالِمٌ ، وَقَرَأْتَ الْقُرْآنَ لِيُقَالَ : هُوَ قَارِئٌ ، فَقَدْ قِيلَ ، ثُمَّ أُمِرَ بِهِ فَسُحِبَ عَلَى وَجْهِهِ حَتَّى أُلْقِيَ فِي النَّارِ ، وَرَجُلٌ وَسَّعَ اللَّهُ عَلَيْهِ ، وَأَعْطَاهُ مِنْ أَصْنَافِ الْمَالِ كُلِّهِ ، فَأُتِيَ بِهِ فَعَرَّفَهُ نِعَمَهُ فَعَرَفَهَا ، قَالَ : فَمَا عَمِلْتَ فِيهَا ؟ قَالَ : مَا تَرَكْتُ مِنْ سَبِيلٍ تُحِبُّ أَنْ يُنْفَقَ فِيهَا إِلاَّ أَنْفَقْتُ فِيهَا لَكَ ، قَالَ : كَذَبْتَ ، وَلَكِنَّكَ فَعَلْتَ لِيُقَالَ : هُوَ جَوَادٌ ، فَقَدْ قِيلَ ، ثُمَّ أُمِرَ بِهِ فَسُحِبَ عَلَى وَجْهِهِ ، ثُمَّ أُلْقِيَ فِي النَّارِ» [مسلم برقم 1905، الترمذي برقم 2382]
ความว่า “แท้จริงมนุษย์กลุ่มแรกที่ถูกพิพากษาในวันกิยามะฮฺ คือ ผู้ที่แสวงหาการตายชะฮีด ดังนั้นผลงานของเขาได้ถูกนำมาเสนอแก่เขา จากนั้นได้ชี้แจงถึงความโปรดปรานต่าง ๆ ให้แก่เขา เขาก็ได้รับรู้ในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น มีเสียงกล่าวขึ้นว่า สิ่งใดบ้างที่ท่านได้ทำในเรื่องนี้? เขาตอบว่า ฉันได้ต่อสู้เพื่อท่านจนกระทั่งได้รับชะฮีด มีเสียงกล่าวว่า ท่านโกหก! ทว่าท่านได้ทำการต่อสู้เพื่อให้ผู้คนได้กล่าวสรรเสริญว่าท่านเป็นคนกล้าหาญ และท่านก็ได้รับการสรรเสริญแล้ว จากนั้นมีคำสั่งให้ลากเขาโดยการคะมำหน้าต่อจากนั้นเขาถูกโยนลงไปในนรก ผู้ที่แสวงหาวิชาความรู้แล้วได้นำความรู้ไปสอนแก่ผู้อื่นและได้อ่านอัลกุรอาน ดังนั้นผลงานของเขาได้ถูกนำมาเสนอแก่เขา จากนั้นได้ชี้แจงถึงความโปรดปรานต่างๆ ให้แก่เขา เขาก็ได้รับรู้ในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น มีเสียงกล่าวขึ้นว่า สิ่งใดบ้างที่ท่านได้ทำในเรื่องนี้? เขาตอบว่า ฉันได้แสวงหาวิชาความรู้ ฉันได้นำมันไปสอนแก่ผู้อื่นและฉันก็ได้อ่านอัลกุรอานเพื่อท่าน มีเสียงกล่าวว่า ท่านโกหก! ทว่าท่านแสวงหาวิชาความรู้เพื่อให้ผู้คนได้กล่าวยกย่องว่าท่านเป็นคนอาลิม (มีความรู้) ท่านได้อ่านอัลกุรอานเพื่อให้ผู้คนกล่าวว่าเขาเป็นนักกอรี (นักอ่าน) และท่านก็ได้รับการกล่าวขานแล้ว จากนั้นมีคำสั่งให้ลากเขาโดยการคะมำหน้าต่อจากนั้นเขาถูกโยนลงไปในนรก ผู้ที่อัลลอฮ์ได้ประทานความสะดวกให้แก่เขา พระองค์ได้ประทานทรัพย์สมบัติให้แก่เขา ดังนั้นผลงานของเขาได้ถูกนำมาเสนอแก่เขา จากนั้นได้ชี้แจงถึงความโปรดปรานต่างๆ ให้แก่เขา เขาก็ได้รับรู้ในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น มีเสียงกล่าวขึ้นว่า สิ่งใดบ้างที่ท่านได้ทำในเรื่องนี้? เขาตอบว่า ฉันไม่เคยทิ้งหนทางที่ท่านรักให้บริจาคผ่านไปเลยนอกจากฉันได้บริจาคในหนทางนั้นไปเพื่อท่าน มีเสียงกล่าวว่า ท่านโกหก! ทว่าท่านได้กระทำเพื่อที่จะให้ผู้คนกล่าวแก่ท่านว่าเขาเป็นคนใจบุญ และท่านก็ได้รับการกล่าวขานแล้ว จากนั้นมีคำสั่งให้ลากเขาโดยการคะมำหน้าต่อจากนั้นเขาถูกโยนลงไปในนรก” [บันทึกโดย มุสลิม : 1905, อัต-ติรมิซียฺ : 2382]
คำอธิบาย
การตั้งเจตนา(เหนียต) คือ รากฐานสำคัญของการงานต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากการงานของมนุษย์จะถูกตอบรับหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตั้งใจ ใครก็ตามที่ประกอบการงานใด ๆ ด้วยใจที่บริสุทธิ์ หวังในความโปรดปรานจากอัลลอฮ์องค์เดียว และตรงกับคำสอนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้ว แน่นอนการงานนั้นจะถูกตอบรับจากพระองค์ ในทางกลับกันใครก็ตามที่หันเหไปยังเป้าหมายอื่นนอกจากพระองค์ หรือตั้งภาคีกับพระองค์แล้ว การงานนั้นจะถูกปฏิเสธ และนั้นเป็นการขาดทุนที่ใหญ่หลวง
สิ่งที่ได้รับจากหะดีษ
1. ความบริสุทธิ์ใจคือการทำงานโดยตั้งเป้าอย่างแน่วแน่ว่าเพื่อภักดีต่ออัลลอฮ์องค์เดียวเท่านั้น และถือเป็นเงื่อนไขสำคัญของการตอบรับจากพระองค์
2. ความบริสุทธิ์ใจมีความสำคัญอย่างยิ่งในการงานต่าง ๆ หากไม่แล้วการงานทุกอย่างจะถูกปฏิเสธและนั้นคือความอัปยศที่ใหญ่หลวง
3. การงานที่ดูดีแค่ภายนอกหากปราศจากความบริสุทธิ์ใจแล้วย่อมไม่ถูกตอบรับจากพระองค์
4. จำเป็นต้องปรับปรุงและสร้างจิตใจเพื่อให้เกิดเจตนาที่บริสุทธิ์
credit: islamhouse
Tags: