หะดีษบทที่ 19 ความประเสริฐของการละหมาดตะรอวีหฺ
ความประเสริฐของการละหมาดตะรอวีหฺ
عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قاَلَ : قاَلَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمِ : " مَنْ قاَمَ رَمْضاَنَ إِيْماَناً وَاحْتِساَباً غُفِرَلَهُ ماَ تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ"
ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่านรอซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)กล่าวว่า "ผู้ใดที่ละหมาดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธา (ต่อคำสั่งและสัญญาของอัลลอฮ์)รวมทั้งคาดหวังผลตอบแทนจากพระองค์ แน่แท้พระองค์จะทรงอภัยโทษต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมา" (มุตตะฟะกุน อะลัยห์ : บุคอรี 2/252 และมุสลิม 1/523)
คำอธิบาย
การงานที่ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้บรรดามุสลิมกระทำในเดือนรอมฎอน คือ การละหมาดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็น "การละหมาดตะรอวีหฺ" และผลการตอบแทนในการปฏิบัตินั้นยิ่งใหญ่ไม่น้อยไปกว่าการประกอบอิบาดะฮฺประเภทอื่น ๆ ที่ใช้ให้ปฏิบัติในเดือนรอมฎอน เช่น การถือศีลอด เพราะต่างได้รับการสัญญาว่าจะได้รับการอภัยโทษในบาปที่กระทำมา เฉกเช่นเดียวกับการตอบแทนที่ได้สัญญาแก่คนที่ปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮฺในค่ำคืนอัลเกาะดัรในด้านการได้รับอภัยโทษ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับความมั่นใจของเราต่อคำสั่งของอัลลอฮ์ รวมทั้งความบริสุทธิใจในการปฏิบัติอะมัลดังกล่าวด้วย
ส่วนหุก่มของการละหมาดตะรอวีห์นั้น บรรดาอุลามาอ์ได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นสุนัตสำหรับชายและหญิง และใช้ให้ปฏิบัติทั้งในรูปแบบญะมาอะห์หรือในลักษณะต่างคนต่างทำ แต่การปฏิบัติในรูปแบบญะมาอะห์จะมีความประเสริฐมากกว่า
บทเรียนจากหะดีษ
1. ความประเสริฐของเดือนรอมฎอนและอิบาดะฮฺกิยามุลลัยล์ในเดือนรอมฎอน
2. มีความมั่นใจต่อคำสั่งของอัลลอฮ์ และความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺนั้นถือว่าเป็นเงื่อนไขหลักของการได้มาซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮ์ (หมายถึงอัลลอฮ์จะทรงพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺของบ่าว)
3. เราะมัตของอัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์จะให้อภัยต่อบาปต่าง ๆ ที่ผ่านมาแก่ผู้ที่ดำรงละหมาดในค่ำคืนเดือนรอมฎอน
------
บทความที่เกี่ยวข้อง
- มัดรวมรอมฎอน ดุอาอ์ คำเนียต ละหมาด ซะกาต
- กินสะหูรให้รอดอย่างไรในช่วงอากาศร้อนจัด
- อินทผลัมสดกับอินทผลัมแห้งกินแบบไหนดีกว่ากัน?
- บทดุอาอ์เมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว (ฮิลาล)
- คำเนียต คำกล่าว หรือการตั้งเจตนา ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
- ดุอาอ์ละศีลอด
- วิธีละหมาดตะรอวีหฺ
- คํากล่าวหรือคำเหนียตซะกาตฟิตเราะฮฺ (ทั้งผู้ให้และผู้รับ)
- มีเงินเก็บเท่าไหร่? ถึงต้องออกซะกาต ตัวอย่างการคิดเงินซะกาตเป็นเงินบาทแบบง่ายๆ
- ความพิเศษและความประเสริฐในเดือนรอมฎอน
------
Tags: