อ่านอัลกุรอานจากแอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนได้บุญเท่ากันไหม?
ณ ปัจจุบันมือถือสมาร์ทโฟน ได้กระจายไปสู่สังคมของอิสลาม และในนั้นมันก็ได้มีบางแอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น แอปอัลกุรอานที่เป็นมุสฮัฟที่สมบูรณ์ (ครบทุกซูเราะหฺ ทุกยุซ ทุกอายะฮฺ) ดังนั้น ! เมื่อผู้อ่านได้เปิดมุสฮัฟกุรอานจากสมาร์ทโฟน จะต้องยึดข้อตัดสินเดียวกับมุสฮัฟที่เป็นเล่มหรือไม่ ? และเป็นที่อนุญาตไหมในการที่จะพามันเข้าห้องน้ำ ? และผู้ที่มีหะดัสสามารถสัมผัสได้หรือไม่ ?
ก่อนอื่นเราจะต้องรู้คำนิยามของคำว่า”มุสฮัฟ”เสียก่อน ซึ่งมันก็คือสื่อที่เป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้ ที่รวบรวมไว้ซึ่งอัลกุรอาน โดยการเรียงลำดับตามอายะฮฺ ซูเราะหฺ เป็นไปตามรูปแบบหรือการเขียน ที่อุมะฮฺได้เห็นพ้องต้องกันในยุคของท่านอุษมาน (หรือเรียกว่า ร้อซมุนอุษมานีย์)
และจากคำนิยามข้างต้นก็ครอบคลุมไปถึงชนิดต่างๆของมุสฮัฟ ไม่ว่าจะเป็นแบบเก่า เช่นมุสฮัฟที่ถูกเขียนถูกพิมพ์บนกระดาษ หรือมุสฮัฟสมัยใหม่ เช่นที่ดาวโหลดในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค หรือมาในรูปแบบซีดี หรือรวมไปถึงมุสฮัปอักษรเบล ที่ถูกเขียนในกระดาษเฉพาะเพื่อคนพิการทางสายตา
ทั้งนี้เมื่อมุสฮัฟอิเล็กทรอนิค มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างออกไปจากมุสฮัฟกระดาษ ในการรูปแบบองค์ประกอบการจัดวางและตัวอักษร ดังนั้นมันจึงไม่สามารถยึดเอาข้อตัดสินเดียวกับมุสฮัฟกระดาษได้เว้นเสียแต่ว่าหลังจากเครื่องมืออิเล็กทรอนิคได้เปิดใช้งานและอายะฮฺต่างๆที่ถูกเก็บไว้ก็ได้ปรากฏขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อในการใช้อ่าน
ดังนั้นการอ่านในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคมันก็ได้ผลบุญดังเช่นการอ่านกุรอานในมุสฮัฟที่เป็นกระดาษ ดังที่ท่านนบีกล่าวว่า “ใครก็ตามที่อ่านหนึ่งอักษรจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ดังนั้บสำหรับเขาก็จะได้รับหนึ่งความดี และทุกๆความดีจะแตกออกเป็นสิบ”
ส่วนการเอามุสฮัฟอิเล็กทรอนิคเข้าห้องน้ำโดยปราศจากความจำเป็น มันจะไม่เป็นที่อนุญาตก็ต่อเมื่อมุสฮัฟอิเล็กทรอนิคถูกเปิดใช้งาน และอายะฮฺอัลกุอานก็ปรากฏขึ้น และการที่มุสฮัฟอิเล็กทรอนิคได้สัมผัสกับนะยิสหรือถูกวางไว้ในที่ที่เป็นนะยิส สิ่งดังกล่าวมันก็ถูกห้ามให้เกิดขึ้นในสภาพที่มุสฮัฟอิเล็กทรอนิคกำลังทำงาน และอายะฮฺต่างๆก็ได้ปรากฏขึ้น
จากข้อตัดสินต่างๆข้างต้น ถ้าหากมือถือถูกปิดหรืออายะฮฺอัลกุรอานไม่ได้ปรากฏบนหน้าจอแล้วมันก็ไม่ถูกนับว่าเป็นมุสฮัฟและไม่สามารถใช้ข้อตัดสินเดียวกับมุสฮัฟที่เป็นกระดาษได้
ส่วนอีกเรื่องคือ อนุญาตให้ผู้มีหะดัสไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่สัมผัสส่วนต่างๆของมือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคได้ ถึงแม้ว่ามุสฮัฟอิเล็กทรอนิคจะถูกเปิดหรือปิดใช้งานอยู่ก็ตาม เพราะอักษรอัลกุรอานต่างๆที่ปรากฏขึ้นมิใช่อื่นใดนอกจากการประมวลผลอิเล็กทรอนิคเท่านั้น ซึ่งมันจะไม่ปรากฏบนหน้าจอเว้นเสียแต่ว่าจะด้วยกับการที่มีแอปพลิเคชั่นเป็นสื่อกลาง
จากกฏเกณฑ์ข้างต้นการสัมผัสหน้าจอที่ปรากฏอายะฮฺอัลกุรอานขึ้นก็ไม่ถูกนับรวมว่าเป็นการสัมผัสมุสฮัฟอย่างแท้ที่จริง มันไม่กินกับปัญญาเลยที่จะบอกว่าการสัมผัสหน้าจอคือการสัมผัสโดยตรงกับมุสฮัฟ (แต่ทว่ามันคือการสัมผัสหน้าจอเท่านั้น) จากเหตุผลที่ได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ แต่กลับกันการสัมผัสมุสฮัฟกระดาษ มันคือการสัมผัสกระดาษของมุสฮัฟ และตัวอักษรของมันโดยตรงและมันคือการสัมผัสอย่างแท้จริง ด้วยสาเหตุนี้เองคนที่มีหะดัสจึงไม่จำเป็นต้องอยู่ในภาพที่สะอาดก่อน ก่อนที่จะสัมผัสมุสฮัฟอืเร็กทรอนิค นอกเสียจากว่าจะเลือกในสิ่งที่ดีกว่า(คือมีน้ำละหมาดดีกว่าการไม่มีน้ำละหมาด)หรือทำเพราะมีความเคร่งครัด
__________________________________________
วัลลอฮุอะอฺลัม วัลอิลมุ อินดัลลอฮฺ
โดย ชัยคฺ มุฮำหมัดอลี ฟัรกูซ
สรุป
-ไม่อนุญาตให้นำพากุรอานกระดาษ และกุรอานอิเล็กทรอนิคในสภาพที่อายะฮฺปรากฏขึ้นหรือแอปถูกเปิดใช้งานเข้าไปในสถานทีที่มีนะยิส
-ผู้มีหะดัสสามารถสัมผัสกุรอานอิเล็กทรอนิคได้ส่วนกุอานกระดาษผู้สัมผัสต้องปราศจากหะดัส
เครดิต : พี่น้องท่านหนึ่งช่วยสละเวลาแปลเป็นภาษาไทย (เจ้าตัวขอสงวนนาม)
Tags: