ความจำเป็นที่ศาสนาผ่อนผันไม่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฏอน
อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น
การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นภาระหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่บรรลุนิติภาวะ มีสติสัมปชัญญะ สามารถถือศีลอดได้ตลอดทั้งวัน ไม่อยู่ในภาวะของการเดินทาง ไม่มีเลือดประจำเดือน และไม่มีเลือดหลังจากการคลอดบุตร
ศาสนาผ่อนผันให้ไม่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฏอน เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้
1. ป่วย
อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า...
فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ
مَرِيضًا أَوْ عَلَى سَفَرٍ
فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ
[ البقرة : 184 ].
ผู้ใดในพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางก็ให้ถือใช้ในวันอื่น
หากผู้ป่วยประสบกับความยากลำบากในการถือศีลอดเกินกว่าจะทนได้ หรือป่วยหนัก หากถือศีลอดแล้วจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงหรือถ้าถือศีลอดแล้วอาการจะทรุดหนักกว่าเดิมหรืออาการป่วยจะช้าไปอีก เป็นต้น ผู้ป่วยดังกล่าวจำเป็นจะต้องละศีลอด หาไม่แล้วจะเข้าข่ายการทำร้ายตนเองหรือนำพาตนเองสู่อันตราย ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า...
وَلَا تُلْقُوا بِأَيْدِيكُمْ
إِلَى التَّهْلُكَةِ
[ البقرة :195]
และจงอย่าโยนตัวของพวกเจ้าสู่ความพินาศ
ท่านนบีกล่าวว่า...
لَا ضَرَرَ وَلَا ضِرَارَ
[ رواه أحمد ]
ไม่อนุญาตสร้างความเดือดร้อน ทำลายให้กับตัวเองและผู้อื่น
ถ้าการถือศีลอดเป็นความยากลำบาก แต่ไม่ถึงขนาดเป็นอันตรายมาก ศาสนาอนุญาตให้เลือกระหว่างถือศีลอดหรือไม่ถือศีลอดก็ได้
2. การเดินทางไกลที่ศาสนาอนุญาต (หรือประมาณ80 กิโล)
ถ้าการเดินทางเป็นความยากลำบากหรือเป็นภาระที่หนักสำหรับเขา จำเป็นเขาจะต้องละศีลอด หากขืนถือศีลอดถือเป็นการฝ่าฝืน(กระทำสิ่งที่เป็นบาป) แต่ถ้าหากการถือศีลอดมิได้เป็นภาระหนักเกินไป ให้เลือกระหว่างการถือศีลอดและการละศีลอด ดังที่ท่านนบี ศ็อลฯ กล่าวว่า...
إن شئت فصم،
وإن شئت فافطر
[رواه البخاري]
จงถือศีลอดหากท่านประสงค์และจงละศีลอดหากท่านประสงค์
3. สตรีที่ตั้งครรภ์และสตรีให้นมลูก
ถือว่าจัดเป็นผู้เจ็บป่วย เมื่อนางกังวลว่าการถือศีลอดจะส่งผลกระทบต่อลูก ให้นางงดเว้นจากการถือศีลอดและทำการชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาดไป ถ้านางเกรงว่า หากถือศีลอดแล้วจะเป็นอันตรายต่อตัวเอง ก็ให้นางถือใช้จำนวนวันที่ขาดไปเท่านั้น ถ้านางเกรงว่า หากถือศีลอดแล้ว จะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ ให้นางถือชดใช้พร้อมกับจ่ายข้าวสาร (ฟิดยะฮฺ) ตามจำนวนวันที่ขาดไปในแต่ละวัน วันละ 1 ลิตรหรือเทียบเท่าประมาณ 750 กรัม
4. ผู้สูงอายุ/คนที่สูญเสียความจำ
ไม่ต้องถือศีลอดหรือไม่ต้องบริจาคอาหารให้คนจน เพราะขาดคุณสมบัติตามศาสนบัญญัติ สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้สูญเสียความจำ แต่ไม่สามารถจะอดอาหารได้ ให้เขาละศีลอดและบริจาคอาหารแทนจำนวนวันที่ขาดไป
5. ผู้ที่จำเป็นต้องทำงานหนัก
ผู้ที่จำเป็นต้องทำงานหนักตลอดเวลา เช่น ผู้อยู่ในเหมืองแร่ กรรมกรแบกหาม ทหารที่ประจำการอยู่ในสนามรบ ฯลฯ อนุญาตให้เขาละศีลอดได้ แต่จะต้องถือศีลอดชดใช้เมื่อมีโอกาส
***ห้ามมิให้ผู้ถือศีลอดกระทำสิ่งที่อาจนำไปสู่การเสียศีลอดหรือสิ่งที่ทำลายผลบุญของการถือศีลอด ท่านนบี ศ็อลฯ กล่าวกับท่าน "ละกีฏ" ร.ฎ. ว่า...
وَبَالِغْ فِي الِاسْتِنْشَاقِ
إِلَّا أَنْ تَكُونَ صَائِمًا
[رواه أهل السنن وأحمد]
และจงสูดน้ำเข้าจมูกให้มากๆ นอกจากเจ้าจะถือศีลอด
***นักเดินทางซึ่งเป็นการเดินทางที่ต้องห้าม ดังนั้นศาสนาไม่ให้สิทธิ์แก่เขาในการละศีลอดเดือนรอมฎอน และไม่มีสิทธิ์ในการย่อและรวมละหมาด เพราะเหตุของการผ่อนผัน มีพันธะผูกพันกับสิ่งที่เป็นบาป ท่านนบี ศ็อลฯ กล่าวว่า...
وَلَا تَعَاوَنُوا عَلَى
الْإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ
[ المائدة : 2 ]
และพวกจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรมและความยำเกรง
ที่มา: Farid Azhari
Tags: