มารยาทและซุนนะฮฺการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
การถือศีลอดนั้นมีมารยาทที่ผู้ถือศีลอดต้องมีวินัยและปฏิบัติ เพื่อให้อิบาดะห์ศีลอดของเขา เป็นอิบาดะห์ที่สมบูรณ์ ดังต่อไปนี้
1. รับประทานสะหูร นบีมุฮัมมัด ﷺ กล่าวว่า...
تَسَحَّرُوا فَإِنَّ
فِي السَّحُورِ بَرَكَةً
رواه الشيخان
จงรับประทานอาหารสะหูรเถิด เเท้จริงในสะหูรนั้นมีความจำเริญ
ท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ กล่าวอีกว่า...
فَصْلُ مَا بَيْنَ صِيَامِنَا
وَصِيَامِ أَهْلِ الْكِتَابِ
أَكْلَةُ السَّحَرِ [رواه مسلم]
สิ่งที่เเยกระหว่างการถือศีลอดของเราเเละการถือศีลอดของชาวคัมภีร์นั้นคือ "การรับประทานมื้อสะหูร"
อาหารสะหูรที่ดีที่สุดคืออินผาลัม ในฮาดิษอาบุฮุร็อยเราะห์ (ร.ฏ.) ท่านนบีนมุฮัมมัด ﷺ กล่าวว่า...
نِعْمَ سَحُورُ الْمُؤْمِنِ التَّمْرُ
رواه أبو داود
อาหารสะหูรที่เป็นที่โปรดปรานของมุอฺมินคือ "อินทผลัม"
إن الله وملائكته
يصلون على المتسحرين
[رواه ابن حبان]
แท้จริงอัลลอฮฺและมวลมลาอิกะห์ได้สดุดีให้ผู้ที่ทานสะหูร
มุสลิมพยายามตื่นมาทานสะหูร แม้ด้วยการจิ๊บน้ำในปริมาณเล็กน้อยก็ตาม อย่าทิ้งการทานสะหูร ท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ กล่าวว่า...
السَّحُورُ أَكْلُهُ بَرَكَةٌ،
فَلَا تَدَعُوهُ، وَلَوْ أَنْ
يَجْرَعَ أَحَدُكُمْ جُرْعَةً
مِنْ مَاءٍ، فَإِنَّ اللهَ عَزَّ وَجَلَّ
وَمَلَائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى الْمُتَسَحِّرِينَ
[رواه أحمد]
การรับประทานสะหูรนั้นมีความจำเริญมากมาย พวกเจ้าอย่าได้ละทิ้ง แม้ได้ตื่นขึ้นมาจิบน้ำเพียงอึกเดียว เพราะแท้จริงแล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และมลาอิกะห์ได้สดุดีสำหรับผู้ที่ตื่นมาทานสะหูร
2. ซุนนะห์ให้ล่าช้าในการทานสะหูร โดยใช้เวลาทานซะโฮรใกล้รุ่งอรุณยิ่งมีความจำเริญ ในฮาดิษอานัส ร.ฏ.กล่าวว่า...
أَنَّ نَبِيَّ اللَّهِ ﷺ وَزَيْدَ بْنَ ثَابِتٍ
تَسَحَّرَا فَلَمَّا فَرَغَا مِنْ سَحُورِهِمَا
قَامَ نَبِيُّ اللَّهِ ﷺ إِلَى الصَّلَاةِ
فَصَلَّى قُلْنَا لِأَنَسٍ كَمْ كَانَ بَيْنَ
فَرَاغِهِمَا مِنْ سَحُورِهِمَا وَدُخُولِهِمَا
فِي الصَّلَاةِ قَالَ قَدْرُ مَا يَقْرَأُ الرَّجُلُ
خَمْسِينَ آيَةً ) رواه البخاري .
แท้จริงท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ และเซดอิบนฺซาบิต ทั้งสองทานซะโฮรพร้อมกับ เมื่อทั้งสองทานสะหูรเสร็จ แล้ว ท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ ลุกขึ้นไปละหมาด เราได้ถามท่านอานัสว่า ระยะเวลาระหว่างการอะซานและทานสะหูรยาวนานเท่าใด? ท่านตอบว่าประมาณ 50 อายะฮฺ
แต่มุสลิมควรระวังการทานอาหารดื่มน้ำหรือกระทำสิ่งที่ทำให้เสียศีลอดหลังจากฟาญัรขึ้นแล้ว
3. ซุนนะห์ให้รีบละศีลอดเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ กล่าวว่า...
لَا يَزَالُ النَّاسُ بِخَيْرٍ
مَا عَجَّلُوا الْفِطْرَ
[رواه الشيخان] .
มนุษย์จะยังคงอยู่กับความดี ตราบใดที่เขาเร่งรับกับการละศีลอด
4. ซุนนะฮฺให้ละศีลอดก่อนละหมาดด้วยอินทผาลัมสด ถ้าไม่มีอินทผลัมสด ให้ละศีลอดด้วยอินทผาลัมแห้ง ถ้าไม่มีอินทผาลัมแห้ง ให้ละศีลอดด้วยน้ำ หากไม่มีสิ่งใดที่กล่าวมา ให้ละศีลอดด้วยอาหารที่สะดวก ท่านอานัส ร.ฏ.กล่าวว่า...
كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ﷺ يُفْطِرُ
عَلَى رُطَبَاتٍ قَبْلَ أَنْ يُصَلِّيَ
فَإِنْ لَمْ تَكُنْ رُطَبَاتٌ فَعَلَى
تَمَرَاتٍ فَإِنْ لَمْ تَكُنْ حَسَا
حَسَوَاتٍ مِنْ مَاءٍ
[ رواه أبوداود]
ท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ จะละศีลอดก่อนละหมาด(มัฆริบ)ด้วยลูกอินทผลัมสดจำนวนเล็กน้อย ถ้าไม่มีอินทผลัมสด ท่านจะละศีลอดด้วยอินทผลัมแห้งจำนวนหนึ่ง หรือถ้าไม่มีอินทผลัมแห้ง ท่านจะจิบหรือดื่มน้ำสองสามครั้ง
5. การขอพรของผู้ถือศีลอดจะไม่ถูกปฏิเสธ
ดังนั้นจงขอดุอาอฺในสิ่งที่ชอบจากความดีของโลกนี้และโลกหน้าในระหว่างวันที่ถือศีลอด กระทั่งได้เวลาละศีลอด ท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ กล่าวว่า...
ثلاث دعوات لا ترد
دعوة الوالد لولده
و دعوة الصائم
ودعوة المسافر
[رواه البيهقي]
ดุอาอฺสามประเภทที่จะไม่ถูกผลักไส คือ ดุอาอ์ของบุพการี(บิดามารดา) ดุอาอฺของผู้ถือศีลอดและดุอาอฺของผู้เดินทาง
6. สุนัตให้ขอดุอาอฺขณะละศีลอด ท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ เคยกล่าวบทขอพรว่า...
ذَهَبَ الظَّمَأُ وَابْتَلَّتْ
الْعُرُوقُ وَثَبَتَ الْأَجْرُ
إِنْ شَاءَ اللَّهُ [رواه أبو داود]
ความกระหายได้มลายไปแล้ว เส้นสายต่างๆ ได้เปียกชุ่มแล้วและผลตอบแทนก็ปรากฏแล้ว หากอัลลอฮฺตะอาลาทรงประสงค์
7. เล่าจากอาบูฮุรอยเราะห์ ท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ กล่าวว่า "ใครในหมู่พวกเจ้าวันนี้เขาเป็นผู้ถือศีลอด อาบูบักรกล่าวว่า ฉันเอง..นบีกล่าวว่า ใครในหมู่พวกเจ้าวันนี้เขาไปส่งญานาซะห์ อาบูบักรกล่าวว่า ฉันเอง..นบีกล่าวว่า ใครในหมู่พวกเจ้าวันนี้เขาให้อาหารแก่คนจน อาบูบักรกล่าวว่า ฉันเอง..นบีกล่าวว่า ใครในหมู่พวกเจ้าวันนี้เขาไปเยี่ยมคนป่วย อาบูบักรกล่าวว่า ฉันเอง..ท่านรอซูลลุลลอฮฺกล่าวว่า ประการเหล่านี้ไม่รวมอยู่ที่บุคคลใดนอกจากสวรรค์" (บันทึกโดยมุสลิม)
หากท่านสามารถบรรลุสี่ประการเหล่านี้ได้ เป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่งที่พระองค์จะทรงโปรดพวกท่าน
ที่มา: Farid Azhari
Tags: