เด็กผู้หญิงต้องขลิบอวัยวะเพศ ทำคิตาน(เข้าสุนัต)หรือไม่?
ที่เราพบเห็นคือ มีการทำคิตาน(เข้าสุนัต) เด็กผู้ชายกันทั่วไป แล้วการทำเข้าสุนัตเด็กผู้หญิงนั้นมีบัญญัติไว้หรือไม่ อย่างไร ?
เรื่องการเข้าสุนัต อุละมาอ์มีความเห็นต่างกันเป็น 3 ทัศนะ ได้แก่
1. การทำคิตาน(เข้าสุนัต) เป็นวาญิบต้องทำทั้งชายและหญิง
2. การทำคิตาน(เข้าสุนัต) เป็นมุสตะหับ(ส่งเสริมให้ทำ) ทั้งชายและหญิง
3. การทำคิตาน(เข้าสุนัต) เป็นวาญิบสำหรับผู้ชาย เป็นมุสตะหับสำหรับผู้หญิง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อิบนุ กุดามะฮฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุฆนี เล่ม 1 หน้า 85 ว่า “การคิตาน(เข้าสุนัต)นั้นเป็นวาญิบสำหรับผู้ชาย และเป็นยกเกียรติสำหรับผู้หญิงแต่ไม่ได้เป็นวาญิบเหนือพวกนาง” และนี่เป็นทัศนะของนักวิชาการจำนวนมาก
การทำคิตาน(เข้าสุนัต) ของผู้ชาย (คือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ) การเข้าสุนัตของผู้ชายเป็นวาญิบ ตามทัศนะที่ชัดเจนของอุละมาอ์จำนวนมาก ด้วยเหตุผลดังนี้
1. การคิตาน (เข้าสุนัต) เป็นหนึ่งในแบบฉบับที่เรียกว่า สุนัน อัลฟิฏเราะฮฺ หมายถึง แบบฉบับบางประการที่ทำให้ผู้ปฏิบัติมันเกิดความสมบูรณ์ในตนเองและสอดคล้อง กับธรรมชาติที่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา ทรงวางไว้ ซึ่งเป็นซุนนะฮฺดั้งเดิมที่บรรดานบีต่างๆได้ปฏิบัติ ดังที่มีรายงานหะดีษจากอบูฮุรอยเราะฮฺว่า ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้กล่าวว่า:
الْفِطْرَةُ خَمْسٌ : الْخِتَانُ وَالِاسْتِحْدَادُ وَقَصُّ الشَّارِبِ وَتَقْلِيمُ الْأَظْفَارِ وَنَتْفُ الْآبَاطِ
ห้าประการที่เป็นสิ่งสอดคล้องกับธรรมชาติ ได้แก่ การคิตาน การโกนขนลับ การขลิบหนวด การตัดเล็บ และการถอนขนรักแร้ (รายงานโดยอัลบุคอรียฺ)
2. การทำคิตานเป็นเอกลักษณ์ที่จำแนกมุสลิม จากชนกลุ่มอื่นๆ
3. ตามหลักชะรีอะฮฺ การตัดชิ้นส่วนใดของร่างกายนั้นหะรอม(ต้องห้าม) และสิ่งหะรอมนั้นไม่มีอะไรจะมาทำให้กลายเป็นหะลาล(อนุมัติ)ได้นอกจากสิ่ง นั้นเป็นวาญิบต้องกระทำ
และนี่เป็นทัศนะของอิมามมาลิก อิมามอัชชาฟิอียฺ อิมามอะหฺมัด โดยเฉพาะอิมามมาลิกถือเป็นเรื่องจริงจังถึงขนาดที่ว่า ชายคนใดไม่ทำคิตานการเป็นอิมามนำละหมาดของเขาใช้ไม่ได้ และการเป็นพยานของเขาไม่ถูกรับ
คิตาน (เข้าสุนัต) ของผู้หญิง (คือการขลิบปลายติ่งเนื้อของอวัยวะเพศที่เรียกว่าคลิทเทอริสหรือปุ่มกระสัน)
ส่วน การคิตานของผู้หญิงถึงแม้จะมีบัญญัติไว้ แต่ตัวบทหลักฐานที่จะกำหนดว่ามันเป็นวาญิบนั้นมักเป็นหะดีษเฎาะอีพ (มี น้ำหนักน้อยนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้)
สรุป เมื่อ พิจารณาทัศนะและหลักฐานอ้างอิงทั้งหมดแล้ว ทัศนะที่ใกล้เคียงความถูกต้องที่สุดก็คือทัศนะที่บอกว่า การคิตาน(เข้าสุนัต) เป็นวาญิบสำหรับผู้ชาย เป็นสุนัตและเป็นการยกเกียรติสำหรับผู้หญิง วัลลอฮุ อะอฺลัม
เหตุผลของการให้น้ำหนักที่ต่างกันระหว่างคิตานของชายและหญิง
การคิตาน (เข้าสุนัต) ของผู้ชายเป็นเรื่องของการปฏิบัติเงื่อนไขหนึ่งของการละหมาดนั่น คือ ความสะอาด เพราะหากหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่ถูกขลิบออกไป เวลาปัสสาวะก็จะเกิดการหมักหมมและรวมตัวของสิ่งสกปรก และอาจจะเกิดโรคบางชนิดได้
ส่วนการคิตาน(เข้าสุนัต) ของผู้หญิงไม่ใช่ด้วยเหตุผลนี้ แต่มันมีประโยชน์ในแง่การลดชะฮฺวะฮฺ(ความรู้สึกทางเพศ)ให้น้อยลง ซึ่งเป็นเรื่องดีงามสำหรับผู้หญิง
อ้างอิง: เศาะฮีฮฺ ฟิกฮุซซุนนะฮฺ โดย อบู มาลิก กะมาล อิบนุ อัซซิด ซาลิม
Tags: