IAM แถลงผลประกอบการ ปี 2561
บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จํากัด จัดแถลงผลประกอบการในปี 2561 และ ทิศทาง เป้าหมาย การดําเนินการงาน ปี 2562 และแผนระยะยาว 7 ปี (2562 2568) ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 14.00 น. ณ โรงแรม โกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน พระราม 9 ชั้น 3 ห้องเฟื่องฟ้า
โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จํากัด หรือไอแอม สามารถเรียกเก็บหนี้ได้ในปี 2561 ประมาณ 2,087 ล้านบาท และสามารถทํากําไรได้ประมาณ 693 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขหลังหักภาษีแล้ว (ตัวเลขประมาณการก่อนการตรวจสอบ)
ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่เรียกเก็บหนี้ได้ส่วนใหญ่กว่า 1,000 ล้านบาท มาจากการบังคับคดีขายทอดตลาดที่เหลือเป็น การประนอมหนี้ในชั้นบังคับคดี และมีลูกหนี้รายย่อยอีกจํานวนหนึ่งที่แสดงความจํานงขอปิดบัญชีหลังได้รับการติดต่อ จากเจ้าหน้าที่ เนื่องจากบางรายเริ่มมีรายได้มากพอหรือสามารถหาผู้ร่วมทุนใหม่ได้ จึงมีเงินมาซื้อหลักประกันคืน
สําหรับแผนดําเนินงานปี 2562 และแผนระยะยาว 7 ปี แบ่งออกได้ดังนี้
1. ในปี 2562 บริษัทฯตั้งเป้าหมายวางระบบการบริหารจัดการบริษัทฯ ตามหลักธรรมมาภิบาล และเป็นบริษัท บริหารสินทรัพย์ด้วยบุคลากรอย่างมืออาชีพ โดยเน้นเทคโนโลยีด้านดิจิตอลเข้ามาบริหารจัดการ องค์กรอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าเรียกหนี้คืนมากขึ้นกว่าปีก่อนไม่น้อยกว่า 15% สูงสุดไว้ที่ปีละ 5,000 ล้านบาท (โดยประมาณ) โดยพอร์ตส่วนใหญ่ รายใหญ่ 87% ที่เหลือ 13% เป็นรายย่อย หากสามารถเจรจารายใหญ่ได้ข้อยุติ จะทําให้ยอดเรียกหนี้คืนทําได้มาก ซึ่งมูลค่าหลักประกันถือว่าคุ้มมูลหนี้ ทั้งนี้ในส่วนของกําไรที่เกิดขึ้น จะเก็บสะสมไว้เพื่อเตรียมรอชําระตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้ธนาคารอิสลามแห่ง ประเทศไทย หรือไอแบงก์ กําหนดชําระปีแรกในปี 2563 วงเงิน 4,500 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในส่วนของเป้าหมายดําเนินงานในช่วง 7 ปีหลังจากนี้ (2562 – 2568) คาดว่าจะเรียกหนี้ที่รับโอนมา 4.9 หมื่นล้าน บาทให้จบภายในปี 2568 และนําเงินไปทยอยใช้หนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินของไอแบงก์ ซึ่งรายรับรวม 7 ปี
หลังจากนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณไม่น้อยกว่า 32,762 ล้านบาท
2. นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ดําเนินการสอดรับตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติของรัฐบาล ภายใต้โครงการ Business Turnaround ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกหนี้สามารถกลับมาดําเนินธุรกิจได้ ตามปกติ ทั้งลูกหนี้ธุรกิจ SMEs และลูกหนี้รายใหญ่ ซึ่งจะสะท้อนไปยังการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศอีกด้วย
3. บริษัทฯ ยังได้ให้ความสําคัญกับการแสดงออกต่อความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR โดยมีกําหนดจัดโครงการ Knowledge Management โดยการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางการเงิน ให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยนวัตกรรม การจัดการในการจัดอบรม หรือเปิดสอนในหลักสูตรการบริหารสินทรัพย์ โดยได้ทํา MOU ร่วมกัน ในการ แลกเปลี่ยน Know How ซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารร่วมกันเพื่อสร้างเป็น Outcome ให้กับสาธารณชนอีกด้วย
4. สําหรับผลงานของไอแอมที่ผ่านมา และเป้าหมายในอนาคตที่จะเกิดขึ้นต้องขอบขอบคุณความช่วยเหลือและความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือไอแบงก์ ที่ให้ความ ร่วมมือในการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ในช่วงเริ่มต้นที่บริษัทฯได้เปิดดําเนินการ ไอแบงก์ได้ให้ความร่วมมือ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และขอขอบคุณ กระทรวงการคลัง รวมถึงสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กํากับดูแลกิจการของไอแอม ในการอนุมัติเพิ่มทุนให้กับบริษัทเป็น 500 ล้านบาท เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ที่ผ่านมา
สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณลูกหนี้ทุกรายทั้งลูกหนี้รายใหญ่ และรายย่อยที่มาชําระหนี้ทั้งในส่วน ของการปิดบัญชีและผ่อนชําระอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ขอขอบคุณคณะกรรมการบริษัทฯที่สนับสนุนการ ทํางานและมอบนโยบายที่เป็นประโยชน์ให้กับฝ่ายบริหารของบริษัทด้วยดีเสมอมา และเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้มีมติแต่งตั้งนางสาวสุปรียา พิพัฒน์มโนมัย ดํารงตําแหน่งกรรมการบริษัท ซึ่งจะเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทในด้านการบริหาร สินทรัพย์ การบริพอร์ทลูกหนี้ ซึ่งท่านสุปรียา มีประสบการณ์ด้านการบริหารสินทรัพย์มากกว่า 20 ปี
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณพนักงานของไอแอมทุกๆ คนที่เหน็ดเหนื่อยกับการทํางานมาตั้งแต่ช่วง Set Up บริษัท ที่มีพนักงานเพียง 16 คน จนถึงตอนนี้เรามีกําลังพลถึง 88 คน และยังจะเพิ่มขึ้นอีกจํานวนหนึ่งไม่ เกิน 120 คน เพื่อการทํางานที่แข่งขันกับเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Tags: