การพนันมีบัญญติห้ามไว้อย่างไรในอิสลาม
การพนัน (อังกฤษ: gambling(1)) หมายถึง การเล่นชนิดหนึ่งเพื่อเอาเงินหรือสิ่งอื่นใดด้วยการเสี่ยงโชค โดยการทำนายหรือคาดเดาผลที่เกิดขึ้นในอนาคต การพนันอาจแบ่งได้หลายอย่าง เช่น การพนันในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น เกมไพ่ เกมลูกเต๋า การพนันโดยการทำนายผลที่คาดว่าเกิดขึ้นในอนาคตเช่น การแทงบอล การแทงม้า และการพนันที่ไม่มีการแข่งขันโดยขึ้นกับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกิดเช่น หวย (2)
การพนันมีบัญญัติห้ามไว้ชัดเจนทั้งในคัมภีร์อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ แต่.. คนที่ได้ขึ้นชื่อว่า “มุสลิม” บางส่วนกลับหมกหมุนอยู่กับการพนัน เหมือนกับว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น และไม่แยแสกับบทบัญญัติห้ามดังกล่าว
1. อัลกุรอ่าน
อัลกุรอ่านได้บัญญัติห้ามเรื่องการพนันดังนี้
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنْصَابُ وَالأَزْلامُ رِجْسٌ مِنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ
تُفْلِحُونَ
ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! แท้ จริงแล้วสุรา การพนัน แท่นบูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมที่เกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้น พวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงมันเสีย เผื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ (อัล-มาอิดะฮฺ : 90)
إِنَّمَا يُرِيدُ الشَّيْطَانُ أَنْ يُوقِعَ بَيْنَكُمْ الْعَدَاوَةَ وَالْبَغْضَاءَ فِي الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ وَيَصُدَّآُمْ عَنْ ذِآْرِ اللَّهِ وَعَنْ
الصَّلاةِ فَهَلْ أَنْتُمْ مُنْتَهُونَ
91. ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน เท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาดแล้วพวกเจ้าจะยุติใหม่ – อัลมาอิดะฮ/91
2. อัสสุนนะฮ
รายงานจากบุรัยดะฮ บิน อัลหุศอ็ยบ์ (ร.ฎ) ว่า แท้จริงนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
مَنْ لَعِبَ بِالنَّرْدَشِيرِ فَكَأَنَّمَا صَبَغَ يَدَهُ فِي لَحْمِ خِنْزِيرٍ وَدَمِهِ
ผู้ใดเล่นลูกเต๋า ก็เหมือนกับ เขาได้จุ่มมือของเขา ลงไปเนื้อหมูและเลือดของมัน (3)
รายงานจากอบีมูซา อัลอัชอะรีย์ว่า แท้จริงนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
مَنْ لَعِبَ بِالنَّرْدِ فَقَدْ عَصَى اللَّهَ وَرَسُولَهُ
“ผู้ใดเล่นลูกเต๋า แน่นอนเขาได้ฝ่าฝืนอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ (4)
อิหม่ามนะวาวีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
قَالَ الْعُلَمَاءُ : النَّرْدَشِيرُ هُوَ النَّرْدُ ، فَالنَّرْدُ عَجَمِيٌّ مُعَرَّبٌ ، وَ ( شِيرُ ) مَعْنَاهُ حُلْوٌ . وَهَذَا الْحَدِيثُ حُجَّةٌ
لِلشَّافِعِيِّ وَالْجُمْهُورِ فِي تَحْرِيمِ اللَّعِبِ بِالنَّرْدِ
“บรรดานักวิชาการกล่าวว่า “ อัลนัรดะชีร คือ อัลนัรดุ(ลูกเต๋า) คำว่า “อัลนัรดุ) เป็นต่างชาติ(5)ที่ถูกนำมาใช้เป็นภาษาอาหรับ และคำว่า “(ชีรุ) หมายถึง “หุลวุน(แปลว่า หวาน) และหะดิษนี้ เป็นหลักฐานอ้างอิงของอิหม่ามชาฟิอีและนักวิชาการส่วนใหญ่ ว่า การเล่นลูกเต๋า เป็นสิ่งต้องห้าม (6)
وأخرج الآجري والبيهقي عن نافع أن عبدَ الله بنَ عمر آان يقولُ : " النردُ من الميسرِ
อัลอาญะรีย์ และอัลบัยหะกีย์ ได้บันทึกจาก นาเฟียะ ว่า อับดุลลอฮ บิน อุมัร กล่าวว่า “ อัลนัรดุ(การเล่นลูกเต๋า)นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากการพนัน (7)
وَالنَّرْدُ حَرَامٌ عِنْدَ الْأَئِمَّةِ الْأَرْبَعَةِ سَوَاءٌ آَانَ بِعِوَضٍ أَوْ غَيْرِ عِوَضٍ ، وَلَكِنَّ بَعْضَ أَصْحَابِ الشَّافِعِيِّ جَوَّزَهُ
بِغَيْرِ عِوَضٍ ، لِاعْتِقَادِهِ أَنَّهُ لَا يَكُونُ حِينَئِذٍ مِنْ الْمَيْسِرِ ، وَأَمَّا الشَّافِعِيُّ وَجُمْهُورُ أَصْحَابِهِ ، وَأَحْمَدُ ، وَأَبُو
حَنِيفَةَ ، وَسَائِرُ الْأَئِمَّةِ فَيُحَرِّمُونَ ذَلِكَ بِعِوَضٍ وَبِغَيْرِ عِوَضٍ
การเล่นลูกเต๋านั้น หะรอม ในทัศนะของอิหม่ามทั้งสี่ ไม่ว่า จะด้วยการพนันหรือไม่ก็ตาม แต่บางส่วนของสหายชาฟิอี ถือว่าอนุญาต ถ้าไม่มีการพนัน เพราะเชื่อว่า ในขณะนั้น(ในขณะที่ไม่มีการพนัน) ก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งจากการพนัน และสำหรับ ชาฟิอี,สหายของเขาส่วนใหญ่,อะหมัด,อบูหะนีฟะและบรรดาอิหม่ามอื่นๆ ถือว่าหะรอม จะด้วยการพนันหรือไม่มีการพนันก็ตาม - ฟะตาวาอิบนุตัยมียะฮ เล่ม 32 หน้า 240
โทษของการพนัน
1.โทษของการพนัน ในด้านศาสนา
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
يَسْأَلُونَكَ عَنِ الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ قُلْ فِيهِمَا إِثْمٌ آَبِيرٌ وَمَنَافِعُ لِلنَّاسِ وَإِثْمُهُمَا أَآْبَرُ مِنْ نَفْعِهِمَا
พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับน้ำเมา และการพนัน จงกล่าวเถิดว่า ในทั้งสองนั้นมีโทษมากและมีคุณหลายอย่างแก่มนุษย์ แต่โทษของมันทั้งสองนั้นมากกว่าคุณของมัน – อัลบะเกาะฮเราะฮ/219
1.1. การพนัน เป็นสหายของการตั้งภาคี(ชิริก)และการดื่มน้ำเมา เพราะอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงระบุ การเล่นการพนัน ในกลุ่มเดียวกับ การดื่มน้ำเมา ,การบูชายันและการเสี่ยงติว ดังถ้อยคำแห่งอัลกุรอ่านที่ว่า
إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالْأَنْصَابُ وَالْأَزْلَامُ
แท้ จริงแล้วสุรา การพนัน แท่นบูชายัญ และการเสี่ยงติ้ว
1.2. การพนันเป็นการกระทำอันโสมมและเป็นพฤติกรรมของมารร้าย ดังถ้อยคำแห่งอัลกุรอ่านที่ว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالْأَنْصَابُ وَالْأَزْلَامُ رِجْسٌ مِنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ
โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! แท้ จริงแล้วสุรา การพนัน แท่นบูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมที่เกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้น พวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงมันเสีย
1.3 การพนัน เป็นอาชีพที่ต้องห้ามและนำพาไปสู่นรก
ความว่า ท่านรอซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
آل لحم نبت من حرام فالنار أولى به
เนื้อทุกก้อนที่มันงอกเงยออกมา จากของที่ฮาราม ดังนั้นนรกคือสิ่งที่เหมาะสมยิ่งกับมัน. รายงานโดย ติรมีซีย์
1.4. การพนันเป็นสิ่งต้องห้ามและการบริโภคจากรายได้ที่ต้องห้าม อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาจะไม่ทรงรับการงาน(อะมั้ลอิบาดะฮ)
ท่านรอซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
ان الله تعالى طيب لا يقبل الا طيبا وان الله تعالى امر المؤمنين بما امر به المرسلين) فقال تعالى يا أيها
الرسل آلوا من الطيبات واعملوا صالحا) وقال تعالى ( يا أيها الذين أمنوا آلوا من طيبات ما رزقناآم
واشكروا لله ان آنتم اياه تعبدون ) ثم ذآر (الرجل يطيل السفر اشعث اغبر يمد يديه الى السماء يا رب ي ا
رب ومطعمه حرام ومشربه حرام وملبسه حرام وغذي بالحرام فانى يستجاب لذلك) رواه مسلم في
صحيحه
แท้จริงอัลลอฮ(ซ.บ)นั้น ทรงดียิ่ง พระองค์จะไม่ทรงรับรอง นอกจากสิ่งที่ดีเท่านั้น และอัลลอฮ(ซ.บ)ทรงบัญชาแก่บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ด้วยสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่บรรดาเราะซูล อัลลอฮ(ซ.บ)ตรัสไว้ว่า (โอ้บรรดารซูล พวกเจ้าจงบริโภคจากบรรดาสิ่งที่ดี และจงประกอบการดีเถิด )และอัลลอฮ(ซ.บ)ตรัสไว้อีกว่า (โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าจงบริโภค
จากบรรดาสิ่งที่ดี สิ่งซึ่งเราได้ประทานให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า และจงขอบคุณต่ออัลลอฮ หากพวกเจ้าเคารพภักดีต่อพระองค์เท่านั้น ) ต่อมาท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้ระบุว่า (ชายคนหนึ่งเขาได้เดินทางใกล ผมเฝ้ายุ่งเหยิง เต็มไปด้วยฝุ่น แล้วเขายกมือของเขาสู่ฟากฟ้า ขอดุอา ว่า”โอ้พระผู้อภิบาลของข้า โอ้พระผู้อภิบาลของข้า ทั้งๆที่ อาหารของเขา นั้น เป็นสิ่งต้องห้าม เครื่องดื่มของเขา เป็นสิ่งต้องห้าม เสื้อผ้าของเขาเป็นสิ่งต้องห้าม และ เขาหาอาหารมาด้วยสิ่งต้องห้าม ดังนั้น แล้วมันจะถูกรับสำหรับสิ่งดังกล่าวนั้น ได้อย่างไร - รายงานโดยมุสลิม
2. โทษของการพนันในด้านทางโลก
2.1 การพนันทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งและการเป็นศัตรูกัน ดังอายะฮที่ว่า
إِنَّمَا يُرِيدُ الشَّيْطَانُ أَنْ يُوقِعَ بَيْنَكُمْ الْعَدَاوَةَ وَالْبَغْضَاءَ فِي الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ
ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน เท่านั้น
2.1 การพนัน เป็นการกินทรัพย์สินของผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَأْآُلُواْ أَمْوَالَكُمْ بَيْنَكُمْ بِالْبَاطِلِ
"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าบริโภคทรัพย์ในระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ" อันนิซาอฺ
2.2 การพนัน เป็นการทำร้ายสถาบันครอบครัว เพราะการพนันมีแต่การสูญเสีย และทำให้ครอบครัวล่มจม
“เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมนุษย์ได้ชี้ให้เห็นว่าการได้เงินจากการพนันก็จะไม่ทำให้มีฐานะดีขึ้น ทั้งนี้เพราะปรากฏการณ์ที่เรียกว่า mental accounting กล่าวคือมนุษย์จะให้คุณค่าของเงินแต่ละหน่วยไม่เท่ากัน สำหรับเงินออมที่สำคัญต่อชีวิตจะเสมือนว่าเก็บไว้ในซีกสมองที่มีความอนุรักษ์เงินที่หามาได้เป็นพิเศษ ไม่กล้าเสี่ยงลงทุนเพราะเกรงการสูญเสีย แต่สำหรับเงินที่ได้มาง่ายๆ หรือไม่คาดฝัน เช่น เงินเก็บตกได้ เงินมรดก เงินรางวัลจากลอตเตอรี่ เงินได้มาฟรีๆ เงินได้จากการพนัน เงินที่ได้มาโดยไม่ได้ออกแรง ฯลฯ มนุษย์จะเสมือนว่าเก็บมันไว้อีกซีกหนึ่งของสมอง จะใช้จ่ายออกไปอย่างง่าย อย่างขาด "ความเคารพ" เมื่อเทียบกับเงินในอีกซีกของสมอง
ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เคยเห็นคนที่รวยจากการพนัน เมื่อได้มาก็จ่ายไปอย่างง่ายดาย และเมื่อเสียก็ต้องพยายามหาทางแก้ตัวเพื่อเอาเงินคืนมา และได้คืนมายากเพราะยามเมื่อคิดแค้นจะเอาคืนก็มักขาดสติ และเมื่อสติหายไปโอกาสจะชนะก็ยิ่งยากขึ้น(8)
จากที่รายละเอียดที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จึงสรุปได้ว่า การพนัน เป็นภัยร้ายต่อศาสนาและสังคมของมนุษย์ ที่มุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมพึงระวัง
....................
บทความโดย อะสัน หมัดอะดั้ม asan12 [email protected]
-----------------------------------------------
(1) ภาษาอาหรับเรียกว่า “กิมาร (قمار ) และ มัยสิร(ميسر )
(2) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(3) บันทึกโดย อิหม่ามมุสลิม หะดิษหมายเลข 2260
(4) บันทึกโดย อบูดาวูด หะดิษหมายเลข 4938 และอิบนุมายะฮ หะดิษหมายเลข 3762
(5) เป็นภาษาเปอร์เซีย
(6) ดู ชัรหุมุสลิม เล่ม 15 หน้า 16
(7) อัลอิรวาอฺ เล่ม 8 หน้า 287 เช็คอัลบานีย์ กล่าวว่า สายรายงานถูกต้อง
Tags: