หมั่นขอดุอาอ์ให้กับพ่อและแม่ ริสกีไม่ถูกตัดขาด สิ่งที่ดีที่สุดที่ลูกๆ มอบให้
พ่อและแม่ เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์ ท่านทั้งสองคือ ผู้ให้กำเนิด ผู้เลี้ยงดู อบรมสั่งสอนลูกตั้งแต่ยังเป็นทารกแบเบาะด้วยความเหนื่อยยากลำบาก จนเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะพ่อแม่มีความสำคัญต่อมนุษย์ถึงเพียงนี้ อิสลามจึงได้สั่งกำชับให้มนุษย์ทุกคนทำดีและแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดาของตน ความกตัญญูและการทำดีต่อพ่อแม่นั้นเป็นหน้าที่ที่สูงส่งและสำคัญรองลงมาจากการเคารพภักดีอัลลอฮฺเลยทีเดียว เช่นที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
وَاعْبُدُواْ اللهَ وَلاَ تُشْرِكُواْ بِهِ شَيْئاً وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَاناً سورة النساء36
“สูเจ้าทั้งหลายจงเคารพภักดีอัลลอฮฺและอย่าได้ตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และกับบิดามารดานั้นสูเจ้าจงทำดีกับทั้งสอง “
(สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ: 36)
และมีโองการอัลกุรอานจำนวนไม่น้อยที่อัลลอฮฺทรงรวบรวมระหว่างการเคารพภักดีต่อพระองค์กับการกระทำดีต่อพ่อแม่ ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า
«أَنِ اشْكُرْ لِي وَلِوَالِدَيْكَ» [لقمان/14]
“เจ้าจงขอบคุณข้า(อัลลอฮฺ)และบิดามารดาของเจ้า”
ท่าน อิหม่าม กุรตุบีย์ กล่าวว่า จำเป็นมนุษย์จะต้องขอบคุณอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างและความโปรดปรานที่ประทานให้ ตลอดจนผู้เป็นบิดามารดาผู้ที่อบรมเลี้ยงเจ้าด้วยความเหน็ดเหนื่อยมากมาย
และพระดำรัสของพระองค์อีกบทหนึ่งที่ว่า
«وَقَضٰى رَبُّكَ أَلَّا تَعْبُدُوا إِلَّا إِيَّاهُ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا» [الإسراء/23]
“และพระผู้อภิบาลของเจ้าได้บัญชาว่า สูเจ้าทั้งหลายอย่าได้เคารพภักดีผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียวและจงทำดีต่อบิดามารดา”
และความหมายของคำว่า " وَقَضٰى رَبُّكَ" คือ บัญชาและสั่งเสีย ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่และสูงส่งได้ทรงรวบรวมเอาการทำดีต่อพ่อแม่เข้ากับการเคารพภักดีต่อพระองค์ และได้ตรัสว่า
«وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا» [النساء/36]
“และจงทำดีกับบิดามารดาทั้งสอง”
การทำความดีกับพ่อแม่ถือว่ามีความประเสริฐมากมาย ดั่งที่ปรากฏในหะดีษของท่าน นบี ที่ว่า ท่านนบี ได้ถูกถามว่า การงานอะไรที่เป็นที่รักยิ่ง ณ ที่อัลลอฮฺ ?
فقد سئل النبي صلى الله عليه وسلم: أي العمل أحب إلى الله؟ قال: (الصلاة على وقتها). قال: ثم أي؟ قال: (ثم بر الوالدين). قال: ثم أي؟ قال: (الجهادفي سبيل الله)
ท่านนบี ได้ตอบว่า "การละหมาดตามเวลาของมัน"
แล้วได้ถามท่านต่อไปว่า หลังนั้นมีอะไรอีก
ท่านได้ตอบว่า "หลังจากนั้นก็คือ การทำความดีกับพ่อแม่ "
แล้วได้ถามไปอีกว่า มีอะไรอีก
ท่านได้ตอบว่า "การเสียสละ(ต่อสู้กับศรัตรู) ในหนทางของอัลลอฮ์"
(บันทึกโดย บุคอรีย์ และมุสลิม)
มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
جَاءَ رَجُلٌ إِلَى رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ: يَا رَسُولَ اللهِ مَنْ أَحَقُّ النَّاسِ بِحُسْنِ صَحَابَتِي؟ قَالَ: «أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّمَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أَبُوكَ»
“ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และกล่าวว่า : โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ บุคคลใดที่มีสิทธิ์ต่อมนุษย์ที่จะต้องทำความดีมากที่สุด ?
ท่านร่อซูลตอบว่า : ((แม่ของท่าน)) ชายคนนั้นถามต่อว่า : ต่อมาคือใคร ?
ท่านร่อซูลตอบว่า : ((แม่ของท่าน)) ชายคนนั้นถามต่อว่า : ต่อมาคือใคร ?
ท่านร่อซูลตอบว่า : ((แม่ของท่าน)) ชายคนนั้นถามต่อว่า : ต่อมาคือใคร ?
ท่านร่อซูลตอบว่า : ((พ่อของท่าน)) ”
(บันทึกโดยบุคอรียฺ)
มารยาทของบรรดานบีมีต่อพ่อแม่
♣ ท่านนบีอิบรอมฮีมใช้คำพูดที่สุภาพ อ่อนโยนต่อบิดา แม้ว่าท่านนั้นจะปฏิเสธต่อการเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺก็ตาม
إِذْ قَالَ لأَبِيهِ يَا أَبَتِ لِمَ تَعْبُدُ مَا لا يَسْمَعُ وَلا يُبْصِرُ وَلا يُغْنِي عَنكَ شَيْئاً) [مريم:42]
“ และจงรำลึกถึงเมื่อเขากล่าวแก่บิดาของเขาว่า “โอ้พ่อจ๋า ทำไมท่านจึงเคารพบูชาสิ่งที่ไม่ได้ยินและไม่เห็นและไม่ให้ประโยชน์อันใดแก่ท่านเลย ?
ผู้เป็นบิดาจะขมขู่ท่านนบีอิบรอฮีม จะทุบตี หรือทำร้าย ใช้ถ้อยคำรุนแรงเพียงใด แต่ท่านนบีอิบรอฮีมจะขอดุอาให้ท่านนั้นได้รับทางนำจากอัลลอฮฺ
سَلامٌ عَلَيْكَ سَأَسْتَغْفِرُ لَكَ رَبِّي إِنَّهُ كَانَ بِي حَفِيّاً) [مريم: 47].
“ เขา (อิบรอฮีม) กล่าวว่า “ขอความศานติจงมีแด่ท่าน ฉันจะขออภัยโทษจากพระเจ้าของฉันให้แก่ท่าน แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงเมตตากรุณาแก่ฉันมาก"
♣ อัลลอฮฺกล่าวชมเชยต่อท่านนบี ยะหยา บิน ซักการียาในเรื่องการทำดีต่อพ่อแม่ ว่า
(وَبَرّاً بِوَالِدَيْهِ وَلَمْ يَكُن جَبَّاراً عَصِيّاً) [مريم14:
“ และเป็นผู้กระทำความดีต่อบิดามารดาของเขา และเขามิได้เป็นผู้หยิ่งยะโส ผู้ฝ่าฝืน”
♣ อัลลอฮฺกล่าวชมเชยต่อท่านนบี อีซา ในเรื่องการทำดีต่อพ่อแม่ ว่า
وَبَرًّا بِوَالِدَتِي وَلَمْ يَجْعَلْنِي جَبَّارًا شَقِيًّا[مريم32:
“และทรงให้ฉันทำดีต่อมารดาของฉันและจะไม่ทรงทำให้ฉันเป็นผู้หยิ่งยโส ผู้เลวทรามต่ำช้า”
ท่านอิหม่ามอาบูฮานีฟะ ทุกๆวัน ท่านนั้นจะทำดีต่อบิดามารดา ด้วยการขอดุอาอฺ ขออภัยโทษ และทุกเดือนท่านนั้นจะเอาเงิน ยี่สิบ ดินาร บริจาคให้แก่ท่านทั้งสอง
ท่านอิบนุ สะอีด บิน มุซัยยิบ กล่าวว่า คนที่ทำบาปคือคนที่ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพกับบิดามารดา
ท่านซัยนุลอาบีดีน กล่าวว่า คนที่ท่านจะต้องทำดีมากที่สุดนั้นคือ มารดาของท่าน บางครั้งเวลารับประทานอาหารในสำรับเดียวกัน ฉันกลัวที่จะยืนมือแซงมือของมารดาของฉัน กลัวอันเนื่องมาจากจะเกิดการทรยศต่อมารดา
ท่าน ฟัฏลฺ บิน ยะหยา ครั้งเมื่อทั้งสองพ่อลูก ถูกขังอยู่ในคุก ในทุกๆครั้ง เวลาจะละหมาด ท่านยะหยา ซึ่งเป็นบิดา จะอาบน้ำละหมาดด้วยกับอาบน้ำอุ่นเสอม แต่ในคุกนั้นไม่มีน้ำอุ่นเลย และยามก็ห้ามนำไม้ฝืนเข้าไปกองไฟ ท่านฟัฏลฺ ผู้เป็นลูก เอาน้ำในใส่ภาชนะ ยืนถืออยู่ใกล้ตะเกียงเพื่อให้น้ำนั้นอุ่น ท่านถือน้ำนั้นจนกระทั้งเช้า
ท่านกะบฺ กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงรีบเร่งการลงโทษกับบุคคลหนึ่งที่เขานั้น ทรยศต่อบิดามารดา อัลลอฮฺทรงยืดอายุขัย บ่าวคนหนึ่ง หากว่าเขาทำดีต่อบิดามารดา
ท่านอะซันอัลบัสรี กล่าวว่า การขอดุอาอฺให้พ่อแม่ทำให้อัลลอฮฺ เพิ่มพูน ทรัพย์สินและลูกหลาน
ดุอาอฺให้พ่อแม่
ดุอาอฺที่อัลลอฮฺ ทรงกล่าวเอาไว้ในอัลกรุอ่าน
24 «وَقُلْ رَبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيرًا» [الإسراء/
“และจงกล่าว(ขอพรให้กับทั้งสอง)ว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาลของฉันได้โปรดประทานความเมตตาแก่ทั้งสองดังเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูแลฉันเมื่อครั้งเยาว์วัย”
อ่านบทนี้ก็ได้
رَبِّ اغْفِرْ لِيَّ وَلِوَالِدَيَّ وَارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِيْ صَغِيْرًا
อ่านว่า : ร็อบบิฆฺฟิรฺลี วะลิวาลิดัยย่า วัรฺฮัมฮุมา กะมาร็อบบ้ายานี ศ้อฆีรอ
ความว่า : โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน โปรดอภัยโทษให้ฉัน และให้แก่บิดามารดาของฉัน และโปรดให้ความเมตตาท่านทั้งสองเหมือนที่ทั้งสองได้เอ็นดูเลี้ยงฉันมาในวัยเด็ก
(ให้อ่านทุกวัน เป็นดุอาอฺที่ขอให้บิดามารดา ทั้งที่สิ้นชีวิตและที่ยังมีชีวิตอยู่)
ดุอาอฺของท่านนบี นูหฺ อะลัยฮิสลามให้กับพ่อแม่
(رَبِّ اغْفِرْ لِي وَلِوَالِدَيَّ وَلِمَن دَخَلَ بَيْتِيَ مُؤْمِناً وَلِلْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ وَلا تَزِدِ الظَّالِمِينَإِلا تَبَاراً) [نوح:28].
“ ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าพระองค์ และพ่อแม่ของข้าพระองค์ และผู้ที่เข้ามาในบ้านของข้าพระองค์เป็นผู้ศรัทธา และบรรดาผู้ศรัทธาชาย และบรรดาผู้ศรัทธาหญิง
และพระองค์ท่านอย่าได้เพิ่มอันใดแก่พวกอธรรมเหล่านั้น นอกจากความพินาศหายนะเท่านั้น”
ดุอาอฺของท่านนบี อิบรอฮีม อะลัยฮิสลามให้กับพ่อแม่
رَبَّنَا اغْفِرْ لِي وَلِوَالِدَيَّ وَلِلْمُؤْمِنِينَ يَوْمَ يَقُومُ الْحِسَابُ (41) ﴾ [ إبراهيم ]
“โอ้พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าพระองค์ และแก่บิดามารดาของข้าพระองค์ และแก่บรรดามุอมิน ในวันที่การสอบสวนจะมีขึ้น”
ดุอาอฺของท่านนบี สุลัยมาน อะลัยฮิสลามให้กับพ่อแม่
﴿ رَبِّ أَوْزِعْنِي أَنْ أَشْكُرَ نِعْمَتَكَ الَّتِي أَنْعَمْتَ عَلَيَّ وَعَلَى وَالِدَيَّ وَأَنْ أَعْمَلَ صَالِحًا تَرْضَاهُ وَأَدْخِلْنِي بِرَحْمَتِكَ فِي عِبَادِكَ الصَّالِحِينَ (19) ﴾ [ النمل ]
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานแกข้าพระองค์ เพื่อให้ข้าพระองค์ขอบคุณต่อความโปรดปรานของพระองค์ท่าน
ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงโปรดปรานแก่ข้าพระองค์ และบิดามารดาของข้าพระองค์ และให้ข้าพระองค์กระทำความดีเพื่อให้พระองค์ทรงพอพระทัยมัน
และทรงให้ข้าพระองค์เข้าอยู่ในความเมตตาของพระองค์ ในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์ที่ดีทั้งหลาย”
ตาบีอีน ท่านหนึ่ง กล่าวว่า ใครที่ขอดุอาอฺให้กับบิดามารดา ทุกๆวัน วันละ ห้า ครั้ง เท่ากับว่าเขานั้นให้ทำดีต่อบิดามารดาของเขาแล้วในสิทธิของการวิงวอนดุอาอฺแก่ท่านทั้งสอง ดังที่อัลลออฺกล่าวเอาไว้ในชูเราะห์ลุกมาน
﴿ أَنِ اشْكُرْ لِي وَلِوَالِدَيْكَ إِلَيَّ الْمَصِيرُ (14) ﴾ [ لقمان ]
”เจ้าจงขอบคุณข้า(อัลลอฮฺ)และบิดามารดาของเจ้า”
ท่าน อะนัส บิน มาลิก ร่อดิยัลลออฺ อันอุ ท่านนบีกล่าวว่า
« إذا ترك العبد الدعاء للوالدين انقطع عنه الرزق » ( الحاكم ) .
“บ่าวคนใดที่ละทิ้งการขอดุอาอฺให้แก่พ่อแม่ทั้งสอง ริสกี(ปัจจัยยังชีพ) จะถูกตัดขาดแก่เขา”
ท่านนบีกล่าวว่า บุคคลสามประเภทที่ดุอาอฺของเขาจะถูดตอบรับโดยไม่ต้องสงสัยใดๆ
دعوة المظلوم ، ودعوة المسافر ، ودعوة الوالدين على الولد » ( أحمد والبخاري )
♦ บุคคลที่ถูกอธรรม
♦ สำหรับคนเดินทาง
♦ บิดามารดาขอให้กับลุกๆ
มีชายคนหนึ่งขอจากคนดีคนหนึ่งให้ขอดุอาอฺให้แก่ลูกของเขา ท่านผู้นั้นกล่าวแก่เขาว่า “ดุอาอฺของท่าน(บิดา)ให้กับลูกดีที่สุด เหมือนกับดุอาของท่านนบีที่ขอให้กับประชาชาติ”
Tags: