การละหมาดสุนัต ต่างๆ พร้อม คำกล่าว
ละหมาดสุนัต การละหมาดสุนัต การละหมาดสุนัตต่างๆ คำกล่าวละหมาด
รูปแบบและวิธีการละหมาดสุนัตฮาญัต
(เพื่อขอพรให้พระองค์ประทานให้ตามประสงค์)
ควรละหมาดหลัง 24.00 น. เป็นละหมาดเพื่อขอสิ่งที่ต้องการ กระทำครั้งละ 2 รอกอัต
จะกระทำกี่ครั้งก็ได้ มี 5 รูปแบบ
1. กระทำครั้งละ 2 รอกอัตแล้วให้สล่าม จะกระทำกี่ครั้งก็ได้
[ أُصَلِّيْ سُنَّةَ الْحَاجَةِ رَكْعَتَيْنِ ِللهِ تَعَالَى ]
“ข้าพเจ้าตั้งใจละหมาดสุนัตฮาญัตสองรอกอัตเพื่ออัลลอฮ์ตะอาลา”
หลังจากอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตแรกแล้ว อ่านกุลยาฯ 11 ครั้ง และหลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตที่สองแล้ว อ่านกุลฮุวัลลอฮ์ฯ 11 ครั้ง
หลังให้สล่ามแล้ว
ให้สุหยูดพร้อมซอละหวาตต่อไปนี้ในสุหยูด 10 ครั้ง
[ اَللّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَ عَلَى آلِ مُحَمَّدٍ وَ صَحْبِهِ وَ سَلَّمَ ]
และตัสเบียะห์ต่อไปนี้ 10 ครั้ง :[ سُبْحَانَ اللهِ وَ الْحَمْدُ ِللهِ وَ لآ إِلهَ إِلاَّ اللهُ وَ اللهُ أَكْبَرُ ]
เสร็จแล้วอ่านดุอาต่อไปนี้
[ لآ إِلهَ إِلاَّ اللهُ الْحَلِيْمُ الْكَرِيْمُ ، سُبْحَانَ اللهِ رَبِّ الْعَرْشِ الْعَظِيْمِ ، اَلْحَمْدُ ِللهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ ، أَسْئَلُكَ مُوْجِبَاتِ رَحْمَتِكَ وَ عَزَائِمَ مَغْفِرَتِكَ وَ الْعِصْمَةَ مِنْ كُلِّ ذَنْبٍ وَ الْغَنِيْمَةَ مِنْ كُلِّ بِرٍّ ، وَ السَّلاَمَةَ مِنْ كُلِّ إِثْمٍ ، لاَ تَدَعْ لِيْ ذَنْبًا إِلاَّ غَفَرْتَهُ ، وَ لاَ هَمًّا إِلاَّ فَرَّجْتَهُ ، وَ لاَ حَاجَةً هِيَ لَكَ رِضًا إِلاَّ قَضَيْتَهَا يَا أَرْحَمَ الرَّاحِمِيْنَ ، آمِيْنَ .]
2. กระทำหลัง 24.00 น. จำนวน 12 รอกอัต สองรอกอัตให้สล่ามครั้งหนึ่ง
[ أُصَلِّيْ سُنَّةَ الْحَاجَةِ رَكْعَتَيْنِ ِللهِ تَعَالَى ]
“ข้าพเจ้าตั้งใจละหมาดสุนัตฮาญัตสองรอกอัตเพื่ออัลลอฮ์ตะอาลา”
หลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตแรกแล้ว อ่านอายะฮ์กุรซีย์ 1-10 ครั้ง หลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตที่สองแล้ว อ่านกุลฮุวัลลอฮ์ฯ 1-10 ครั้ง ต่อจากนั้นในสุหยูดครั้งสุดท้ายให้อ่าน
[ لآ إِلهَ إِلاَّ أَنْتَ سُبْحَانَكَ إِنِّيْ كُنْتُ مِنَ الظَّالِمِيْنَ ]
เสร็จแล้วให้รีบขอพรในใจตามประสงค์ ก่อนที่จะขึ้นมานั่งอ่านตะฮียัตครั้งสุดท้าย
3. กระทำหลัง 24.00 น. กระทำ 4 รอกอัต ด้วยการให้สล่ามครั้งเดียว
[ أُصَلِّيْ سُنَّةَ الْحَاجَةِ أَرْبَعَ رَكَعَاتٍ ِللهِ تَعَالَى ]
“ข้าพเจ้าตั้งใจละหมาดสุนัตฮาญัตสี่รอกอัตเพื่ออัลลอฮ์ตะอาลา”
หลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตแรกแล้ว อ่านกุลฮุวัลลอฮ์ฯ 11 ครั้ง หลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตที่สองแล้ว อ่านกุลฮุวัลลอฮ์ฯ 20 ครั้ง หลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตที่สามแล้ว อ่านกุลฮุวัลลอฮ์ฯ 30 ครั้ง หลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตที่สี่แล้ว อ่านกุลฮุวัลลอฮ์ฯ 40 ครั้ง เมื่อให้สล่ามแล้ว อ่านกุลฮุวัลลอฮ์ฯ 75 ครั้ง และอิสติฆฟาร 75 ครั้ง เสร็จแล้วให้ขอพรตามประสงค์
4. ละหมาดสุนัตฮาญัต (เมื่อประสงค์สิ่งใด) “ดุอาที่อัลลอฮ์ทรงรับคือ ดุอาในละหมาดฮาญัต 12 รอกอัต” กระทำหลัง 24.00 น. ห้ามขอเพื่อทำในสิ่งที่ชั่ว
[ أُصَلِّيْ سُنَّةَ الْحَاجَةِ رَكْعَتَيْنِ ِللهِ تَعَالَى ]
“ข้าพเจ้าตั้งใจละหมาดสุนัตฮาญัตสองรอกอัตเพื่ออัลลอฮ์ตะอาลา”
หลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตแรกแล้ว อ่านอายะห์กุรซีย์ 1 ครั้ง อ่านกุลฮุวัลลอฮ์ 1 ครั้ง หลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตที่สองแล้ว อ่านอายะฮ์กุรซีย์ 1 ครั้ง อ่านกุลฮุวัลลอฮ์ฯ 1 ครั้ง และเมื่อกระทำ 12 รอกอัตแล้ว ให้สุหยูดพร้อมขอดุอาต่อไปนี้
1. มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง
2. มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงมีเมตตาธรรม
3. มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงพิจารณาการกระทำ
4. มหาบริสุทธิ์แดอัลลอฮ์ผู้ทรงบริสุทธิ์
5. มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงประทาน
6. มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงประทานเนี๊ยะมัตและความปราณี
7. มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกรและทรงเดชานุภาพ
8. ขอพระองค์ได้โปรดประทานด้วยบารมีแห่งอะรัชอันสูงส่ง ด้วยเราะห์มัตอันไพศาล ด้วยนามอันเกรียงไกร ด้วยวาจาอันสมบูรณ์ โอ้อัลลอฮ์ ได้โปรดประทานเราะห์มัตให้แก่นะบีมูฮัมมัด ศ้อลฯ ตลอดจนวงศาคณาญาติ ด้วยซะฟะอัตของท่านนะบี ศ้อลฯ ได้โปรดประทาน ให้ความประสงค์ของข้าพระองค์ นี้..................................ด้วยเถิด
(นึกสิ่งที่ต้องการในใจด้วยความหวังเต็มร้อย)
5. ละหมาดสุนัตฮาญัต (เมื่อประสงค์สิ่งใด) ควรทำในเดือนรอญับ โดยกระทำ 12 รอกอัต ในวันพฤหัสฯ แรกของเดือนรอญับ หลังจากทำการถือศีลอดในวันดังกล่าว
[ أُصَلِّيْ سُنَّةَ الْحَاجَةِ رَكْعَتَيْنِ ِللهِ تَعَالَى ]
“ข้าพเจ้าตั้งใจละหมาดสุนัตฮาญัตสองรอกอัตเพื่ออัลลอฮ์ตะอาลา”
หลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตแรกแล้วให้อ่าน อินนาอันซัลนาฮุฟีลัยละติลกอดริ 3 ครั้ง และหลังอ่านฟาตีฮะห์ในรอกอัตที่สองอ่านกุลฮุวัลลอฮ์ฯ 12 ครั้ง กระทำเช่นนี้จนครบ 12 รอกอัต หลังให้สล่ามในรอกอัตที่ 12 แล้ว อ่านซอละหวาตต่อไปนี้ 70 ครั้ง
[ اَللّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ النَّبِيِّ اْلأُمِيِّ وَ عَلَى آلِهِ وَ صَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ]
และให้สุหยูดอีกครั้งหนึ่งโดยอ่าน : [ سُبُّوْحٌ قُدُّوْسٌ رَبُّنَا وَ رَبُّ الْمَلاَئِكَةِ وَ الرُّوْحِ ]70 ครั้งและหลังจากเงยขึ้นจากสุหยูด แล้วอ่าน
[ رَبِّ اغْفِرْ وَارْحَمْ وَ تَجَاوَزْ عَمَّا تَعْلَمُ إِنَّكَ أَنْتَ الْعَزِيْزُ اْلأَكْرَمُ ]
หลังจากทำทุกขั้นตอนครบสมบูรณ์แล้ว ให้ขอดุอาตามประสงค์ อินชาอัลลอฮ์ อัลลอฮ์จะประทานให้ตามขอ.
จาก rabity.ac.th
สุนัตต่างๆ ในการละหมาด
ทุกๆ การกระทำที่นอกเหนือจากรุก่นและวาญิบต่างๆ ดังกล่าวมาในการละหมาดนั้นคือสิ่ง
สุนัต ผู้กระทำจะได้บุญเพิ่มและผู้ที่ละเลยก็ไม่โทษใดๆ ซึ่งมันก็คือ คำกล่าวและการกระทำต่างๆ ที่
ส่งเสริมให้ปฏิบัตินั่นเอง
สำหรับคำกล่าวต่างๆ นั้น เช่น การดุอาอ์อิสติฟตาหฺ การกล่าวตะเอาวุซ(ขอความคุ้มครอง
ให้พ้นจากชัยฏอน) การกล่าวบัสมะละฮฺ(กล่าวพระนามของอัลลอฮฺ) การกล่าวว่าอามีน การอ่านสู
เราะฮฺหลังจากอ่านฟาติหะฮฺ เป็นต้น
และสำหรับการกระทำต่างๆ นั้น เช่นการยกมือในขณะที่กล่าวตักบีรฺในบางกรณีที่ให้ยก
มือ การวางมือขวาทับบนมือซ้ายในขณะที่ยืน การนั่งแบบอิฟติรอช และการนั่งแบบตะวัรรุก เป็น
ต้น
สิ่งที่ทำให้การละหมาดเสีย
การละหมาดจะเสียด้วยสิ่งต่างๆ เหล่านี้
1. เมื่อละเลยรุก่นหรือเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งโดยเจตนาหรือหลงลืม หรือว่าละเลยวาญิบ
ใดวาญิบหนึ่งโดยเจตนา
2. การเคลื่อนไหวโยกย้ายโดยไม่มีความจำเป็นใดๆ
3. การเปิดเผยส่วนที่เป็นเอาเราะฮฺโดยเจตนา
4. การพูด การหัวเราะ การกิน การดื่มโดยเจตนา
หุก่มการอิสติฆฺฟารฺหลังจากละหมาดฟัรฺฎฺ
การอิสติฆฺฟารฺหลังจากละหมาดฟัรฺฎูนั้นเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายอิสลาม ทั้งนี้มี
หะดีษรายงานว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กระทำในสิ่งดังกล่าว และเนื่องจากมีผู้
ละหมาดหลายคนบกพร่องหรือต่อเติมในการละหมาด ไม่ว่าจะเป็นการบกพร่องจากการกระทำที่
เป็นรูปธรรมเช่น การอ่าน การรุกูอฺ และการสุญูด เป็นต้น หรือบกพร่องจากการกระทำที่เป็น
นามธรรม เช่นบกพร่องจากการคุชูอฺ ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เป็นต้น จึงจำเป็นต้องขออภัยโทษ
ต่ออัลลอฮฺในความบกพร่องดังกล่าว
ลักษณะการซิกิรฺ
1. อนุญาตให้ซิกิรฺ ทั้งในใจ และด้วยลิ้นสำหรับผู้ที่มีหะดัษ มีญุนุบ ผู้ที่มีประจำเดือน และ
ผู้ที่อยู่ในหว่างการคัดน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตร อาทิเช่น การตัสบีหฺ การตะฮ์ลีลฺ การตะหฺมีด
การตักบีรฺ การดุอาอ์ และการเศาะละวาตต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
2. การใช้เสียงค่อยในการซิกิรฺและดุอาอ์นั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า นอกจากในบางกรณีที่มี
รายงานว่าเป็นอื่น เช่นหลังละหมาดห้าเวลา การตัลบิยะฮฺ หรือเพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วมรวม เช่น
เพื่อให้คนที่ยังไม่รู้ได้ฟัง กรณีดังกล่าวเช่นนั้นการใช้เสียงดังดีกว่า
หุก่มสำหรับผู้ที่ลุกขึ้นยืนโดยลืมนั่งตะชะฮฺฮุด
เมื่ออิมามลุกขึ้นยืนหลังจากสองร็อกอะฮฺแรกโดยไม่ได้นั่งตะชะฮฺฮุดหากเขานึกขึ้นได้ก่อนที่
เขาจะยืนตัวตรงให้เขาย้อนกลับไปนั่งได้ แต่หากยืนตัวตรงแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปนั่งอีก
แต่เขาต้องสุญูดสะฮฺวีสองครั้งก่อนให้สลาม
หุก่มสำหรับผู้ที่ออกไปละหมาดญะมาอะฮฺ แต่พบว่าผู้คนต่างละหมาดเสร็จแล้ว
สำหรับผู้ที่ออกไปเพื่อจะละหมาดญะมาอะฮฺ แต่พบว่าผู้คนต่างละหมาดเสร็จแล้ว เขาจะ
ได้ผลบุญเหมือนกับบรรดาผู้ที่ทันละหมาดญะมาอะฮฺในครั้งนั้นทุกประการ ทั้งนี้มีรายงานจากท่า
นอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าว
ว่า
مَنْ تَوَضَّأ حْسَنَ »
َ
فَأ وُضُوءَهُ، عُمَّ رَاحَ فَوَجَدَ اجَّاسَ قَدْ صَلَّوا قْطَاهُ
َ
أ الله
جَلَّ وَعَزَّ مِثْلَ جْرِ
َ
أ مَنْ صَلاهَا وَحَﻀَﺮَهَا، لا فَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ جْرِهِمْ
َ
أ
« شَيْئا
ความว่า “สำหรับผู้ที่อาบน้ำละหมาดอย่างพิธีพิถัน แล้วออกไปเพื่อละหมาด
ญะมาอะฮฺแต่พบว่าผู้คนต่างละหมาดเสร็จแล้ว อัลลอฮฺจะให้ผลบุญแก่เขา
เหมือนกับบรรดาผู้ที่ทันละหมาดญะมาอะฮฺในครั้งนั้นทุกประการ โดยไม่มีการ
ลดหย่อนจำนวนผลบุญของเขาจากจำนวนผลบุญของผู้อื่นที่ทันละหมาดญะ
มาอะฮฺในครั้งนั้นแต่อย่างใด” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด
หมายเลข 564 สำนวนนี้เป็นสำนวนของท่าน และอัน-นะสาอีย์ 855)
หุก่มการกล่าวคำว่า “อามีน”ทั้งในละหมาดและนอกละหมาด
สุนัตให้กล่าวกล่าวคำว่า “อามีน”ในสองกรณี
1. ในละหมาด หลังจากที่อิมาม มะอ์มูม หรือผู้ที่ละหมาดคนเดียวอ่านฟาติหะฮฺเสร็จ โดย
ให้กล่าวเสียงดังไม่ว่าจะเป็นอิมามหรือมะอ์มูม และให้มะอ์มูมกล่าวพร้อมๆ กับอิมาม ไม่ใช่ก่อน
หรือหลังอิมาม และมีบัญญัติให้กล่าว “อามีน” เช่นกันในดุอาอ์กุนูตวิติรฺ หรือกุนูตนาซิละฮฺ เป็นต้น
2. นอกละหมาด หลังจากที่ฟังหรือได้ยินคนอ่านฟาติหะฮฺเสร็จ และหลังจากได้ยินบทดุ
อาอ์ทั่วไป หรือบทดุอาอ์เฉพาะกาล เช่นดุอาอ์ของเคาะฏีบญุมอะฮฺ(ผู้เทศนาในวันศุกร์) ดุอาอ์ขอ
ฝน หรือดุอาอ์สุริยุปราคา เป็นต้น
Tags: