ปรัชญาการแพทย์อิสลาม วิทยาการอันน่าทึ่งในโลก
ปรัชญาการแพทย์อิสลาม
อัลกุรอานได้กล่าวไว้ในซูเราะห์อัลอันอามว่า “และแท้จริงเราได้ส่งไปยังประชาชาติก่อนหน้าเจ้า แล้วเราก็ได้ลงโทษพวกเขาด้วยความแร้นแค้น และการเจ็บป่วยเพื่อว่าพวกเขาจะได้นอบน้อม”
ท่านนบีมูฮำหมัดซอลลั้ลลอฮู่อาลัยฮิว่าซัลลัม ได้กล่าวไว้แก่อุมมุซาอิบ ที่กำลังป่วย ความว่า “อย่าบ่น หรือด่าว่าความป่วยไข้ เพราะแท้จริงมันจะเป็นเครื่องลบล้างบาปของเรา”
เป็นเครื่องยืนยันให้ทราบว่าผู้ป่วยนั้นต้องอดทนแล้วพระผู้เป็นเจ้าจะตอบแทน ความดีให้ ท่านนบีมูฮำหมัดซอลลั้ลลอฮู่อาลัยฮิว่าซัลลัม ได้กล่าวไว้ ความว่า “พระองค์อัลลอฮฺจะไม่ให้มีโรคใด ๆ เกิดขึ้น นอกจากพระองค์จะได้ให้มียารักษาโรคนั้น ๆ ไว้แล้ว” เป็นเครื่องยืนยันว่า ทุก ๆ โรคนั้นรักษาได้
อัลกุรอานได้กล่าวไว้ในซูเราะห์อัชชุอะรออ์ว่า ความว่า “และเมื่อฉันป่วย พระองค์ทรงทำให้ฉันหายป่วย” ท่านนบีมูฮำหมัดซอลลั้ลลอฮู่อาลัยฮิว่าซัลลัม ได้กล่าวไว้อีกว่า ความว่า “ทุก ๆ คนมีหน้าที่ที่จะต้องระวังรักษา และทุก ๆ คนจะต้องถูกสอบสวนจากหน้าที่ที่ตนดูแลนั้น”
สิ่งที่ได้จากอัลกุรอานและหะดิษ
1. แท้จริงความป่วยไข้นั้นมาจากอัลลอฮฺเพื่อเป็นการทำให้มนุษย์รู้จัก นอบน้อมและเกรงกลัวพระองค์ ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องพยายามเรียนรู้แก้ไขความบกพร่องของตัว และยอมรับในความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ด้วยจิตใจที่นอบน้อมต่อพระองค์อัลลอฮฺ
2. แท้จริงโรคต่าง ๆ นั้นมียา หรือมีทางแก้อยู่เสมอ แต่เราจะหาพบหรือไม่เมื่อไรเท่านั้น
3. การหายจากโรคต่าง ๆ นั้นเป็นด้วยการอนุมัติของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นมิใช่ ด้วยการรักษาของแพทย์ แพทย์เป็นเพียงสื่อกลางที่จะช่วยให้หายเท่านั้นแม้จะรักษาถูกต้องแล้วแต่ถ้า พระองค์อัลลอฮฺไม่ประสงค์ให้หายก็จะไม่หายเนื่องจากการให้หายเป็นสิทธิของ พระองค์
4. เป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะต้องรักษาผู้ป่วย และเป็นหน้าที่ของผู้ป่วยที่จะต้องอดทนและเชื่อฟังคำสั่งแพทย์ที่ถูกต้อง และทุก ๆ คน (แพทย์ ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย) จะต้องระวังรักษาหน้าที่ของตนให้ได้
ข้อดีของปรัชญาการแพทย์แบบอิสลาม
1. ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเครียดมากหรือตีโพยตีพายมากเมื่อป่วย เนื่องจากทราบว่ามาจากพระเจ้า จะยอมรับได้ง่ายขึ้นและจะพยายามทำตัวดีเพื่อให้พระเจ้าโปรดให้หาย ทำให้การรักษาง่ายขึ้น แพทย์จะไม่ถูกยกย่องมากเกินไปจนเป็นเทวดาเมื่อรักษาหาย
2. ผู้ป่วยจะพยายามขวนขวายรักษาตัวเองอยู่เสมอ แม้ว่าจะเป็นโรคที่รักษายากก็ตามเนื่องจากมีความมั่นใจว่าการหายนั้นอยู่ที่ พระผู้เป็นเจ้า แพทย์ก็เช่นกันจะพยายามหาทางรักษาให้ได้เสมอเพราะเชื่อมั่นว่า “ทุก ๆ โรคมียารักษา” ทำให้มีการค้นคว้าหาความรู้ทางแพทย์ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่ง แม้จะเป็นโรคที่ดูเหมือนไม่มีทางรักษาก็ตาม
3. เมื่อเกิดเหตุผิดพลาดขึ้นจากการรักษาหรือเหตุสุดวิสัย ผู้ป่วยหรือญาติก็จะไม่เคียดแค้นต่อผู้รักษาหรือโทษแพทย์ว่ารักษาไม่ดี เนื่องจากการหายนั้นอยู่ที่พระผู้เป็นเจ้าหาใช่แพทย์ไม่ แพทย์ก็จะไม่เครียด ไม่เกร็ง เพราะไม่ต้องกลัวว่าจะถูกฟ้องร้องจากการรักษา แต่ก็ต้องรักษาเต็มที่เนื่องจากเป็นหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องถูกสบอสวนในวัน สิ้นโลก
4. การที่ทุกคนต้องทำตัวดี ๆ ตามหลักการศาสนาทำให้โอกาสมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยลงและมีสุขภาพดี เนื่องจากข้อบัญญัติต่าง ๆ ของศาสนาอิสลามจะทำให้มนุษย์เจ็บป่วยน้อยที่สุด
ปรัชญาการแพทย์แบบตะวันตก
ฮิปโปเครติส บิดาแห่งวงการแพทย์ได้เขียนคำปฏิญาณของแพทย์ไว้มีใจความว่า
1. จะนับถือครูอาจารย์เสมือนผู้ให้กำเนิด จะอยู่เคียงข้างครู แบ่งปันทรัพย์สมบัติให้ครูและจะถือครูเปรียบเสมือนพี่น้องและจะถ่ายทอดวิชา ให้ลูกครูต่อไป
2. จะไม่ให้คนป่วยได้รับอันตรายหรือความอยุติธรรม
3. ไม่ให้ยาที่ทำให้คนไข้ตายแม้ถูกร้องขอ ไม่ทำแท้ง
4. ไม่ใช้มีดผ่าตัด แต่ให้ผู้อื่นผ่าแทน
5. ถ้าไม่ผิดคำปฏิญาณ ขอให้อยู่ได้อย่างมีชื่อเสียง มีเกียรติและมีความสุข ถ้าผิดคำปฏิญาณขอให้ได้ในสิ่งตรงกันข้าม
ผลของปรัชญาการแพทย์แบบสังคมตะวันตก
1. แพทย์ที่ปฏิบัติตามคำปฏิญาณได้จะเป็นแพทย์ที่ดีตามอุดมคติเป็นที่น่านับถือ แก่คนทั่วไป แพทย์ที่ทำได้ดังนี้จะเหมือนเทวดาในสายตาผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย
2. ผู้ป่วยและญาติจะคาดหวังจากแพทย์อย่างสูง ทำให้แพทย์ต้องมีภาระหนักในการดูแลผู้ป่วยและผิดพลาดไม่ได้ แต่แพทย์อาจทำไม่ได้อย่างดีที่สุดทุกคนและทุกครั้งได้เนื่องจากประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมที่ต่างกันในแพทย์แต่ละคน
3. ในขณะที่แพทย์มีภาระหนัก แต่ผู้ป่วยและญาติไม่มีกฎเกณฑ์มาบังคับให้มีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในการ ป่วยไข้ของตัวเองเลยนอกจากผู้ป่วยนั้นจะมีจิตสำนึกเอง
4. ผู้ป่วยบางคนอาจะไม่ยอมรับหรือยอมรับไม่ได้ว่าตนเป็นโรคร้ายแรงบางโรคและ ปฏิเสธการรักษาหรือพยายามไปหาแพทย์คนอื่น ๆ ต่อไป ดังนั้นแพทย์ที่รักษาจะต้องรับภาระในการอธิบายเพิ่มขึ้นทำความเข้าใจมากขึ้น
5. การที่แพทย์มีภาระหนักมากทำให้เกิดความเครียดเกิดความล้าและทำให้เกิดความผิดพลาดมากขึ้น ผลเสียจะตกกับผู้ป่วยเอง
6. ผู้ป่วยและญาติจะยอมรับไม่ได้เมื่อแพทย์และจะเกิดการฟ้องร้องแพทย์เพิ่มมาก ขึ้น แพทย์จะป้องกันตัวโดยส่งตรวจพิเศษมากขึ้นทำประกันและต้องเรียกร้องค่ารักษา เพิ่มขึ้นเป็นผลเสียทั้งแพทย์ผู้ป่วยและรัฐบาลเอง
ที่มา Unknown
Tags: