รางวัลตอบแทนของผู้หญิงในสวรรค์
รางวัลตอบแทนของผู้หญิงในสวรรค์
โดย … อุมมุ อุ้ลยา
บางครั้งผู้หญิงอาจมีคำถามค้างคาอยู่ในใจเวลาที่ได้อ่านอัลกุรอานเกี่ยวกับอายะฮฺที่กล่าวถึงผลตอบแทนของผู้ชายที่เป็นชาวสวรรค์ว่า เขาจะได้รับเกียรติให้ครองคู่กับฮูรุ้ลอีน ( นางสวรรค์ที่มีนัยน์ตาคมโต ) บนสววรค์ คำถามจึงผุดขึ้นมาในหัวของคนเราว่า “แล้วผู้หญิงจะได้รับอะไร ? มีนายสวรรค์หรือไม่? แล้วสามีที่แต่งงานอยู่กินกันไปอยู่ที่ไหน? ฯลฯ”
ต่อไปนี้คือคำตอบที่จะไล่เรียงให้ท่านทราบว่า ผลตอบแทนหรือรางวัลของสตรีมุสลิมะฮฺในสรวงสวรรค์นั้นคืออะไร ? ( และอัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงเป็นผู้รอบรู้ที่สุด)
อันดับแรก เราในฐานะผู้ศรัทธาต้องยอมรับก่อนว่า อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงมีสิทธิ์และอำนาจโดยสมบูรณ์ในการทำตามพระประสงค์ของพระองค์ พระองค์ไม่ทรงถูกสอบถาม หรือตั้งข้อสงสัยใดๆ ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า :
“พระองค์ไม่ทรงถูกสอบถามในสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำ แต่พวกเขาต่างหากที่ถูกสอบถาม”
(อัลอัมบิยาอฺ : 23)
และเราในฐานะผู้เป็นบ่าวจะต้องยอมรับโดยดุษฎีว่า พระองค์จะไม่ทรงอธรรมปวงบ่าวของพระองค์โดยเด็ดขาดแม้แต่เพียงเล็กน้อย ดังที่พระองค์ตรัสว่า
“และผู้ใดที่กระทำความดีจากทั้งชายและหญิง โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา พวกเขาเหล่านั้นจะได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรมแม้ (จะมีขนาดเพียง) ร่องอินทผาลัมก็ตาม”
( อันนิสาอฺ : 124 )
ท่านอิบนิ กะซีร ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ อธิบายว่า อายะฮฺนี้เป็นการบรรยายถึงความดีงาม ความเมตตากรุณาของพระองค์ในการตอบรับการงานที่ดีจากปวงบ่าวทั้งชายและหญิง ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ต้องมีอีหม่าน (ศรัทธา)
ดังนั้น คำถามที่ถูกตั้งขึ้นเกี่ยวกับสวรรค์และผลตอบแทนต่างๆ นั้น จึงต้องไม่ถูกถามเพราะความเคลือบแคลงสงสัย แต่ถามเพราะใคร่รู้ เพื่อเพิ่มศรัทธา เพื่อเติมเชื้อเพลิงให้กระตือรือร้นในการอิบาดะฮฺ ซึ่งโดยปกติแล้วคนเราไม่ว่าชายหรือหญิงล้วนแล้วแต่ปรารถนาและมีความหวังเสมอเมื่อเอ่ยถึงสวรรค์และความสุขต่างๆ ที่จะได้รับบนสวรรค์ แต่ความหวังนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ไม่ได้เป็นความหวังเล่นๆ ที่ไร้สาระ หวังที่ไม่ทำการงานที่ดีใดๆ เพื่อให้สมหวัง
( สุลัยมาน บิน ซอและหฺ อัลคุร่อชียฺ , ม.ป.ป )
อัลลอฮฺ ตรัสความว่า
“และนั่นคือ สรวงสวรรค์ ที่พวกเจ้าถูกให้รับเป็นมรดก ตามที่พวกเจ้าได้กระทำ (ความดี)ไว้”
(อัศศุครุฟ : 72 )
รางวัลตอบแทนนี้จะได้รับทั้งชายกับหญิงหรือไม่ ?
ผลตอบแทนที่อัลลอฮฺ ตะอาลาจะทรงประทานให้บนสวรรค์นั้นครอบคลุมทั้งชายและหญิง ดังดำรัสของพระองค์ที่ความว่า
“แท้จริงข้า (อัลลอฮฺ) จะไม่ทำให้การงานของผู้กระทำจากชายหรือหญิงนั้น สูญหายเป็นอันขาด”
(อาละอิมรอน : 195)
เมื่อพระองค์ตรัสแก่บ่าวแล้วว่าพระองค์จะไม่ทรงอธรรม และพระองค์จะไม่ทรงทำให้ความดีที่กระทำด้วยศรัทธา ด้วยความถูกต้องและบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ต้องสูญเปล่า ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่า หากผู้หญิงได้เป็นชาวสวรรค์เธอจะได้รับผลตอบแทนตามความดีที่เธอทำเช่นเดียวกับผู้ชาย จะมีชีวิตใหม่หลังจากฟื้นคืนชีพที่รื่นรมย์และผาสุก ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสยืนยันไว้เช่นกันความว่า
“ผู้ใดก็ตามจากชายหรือหญิงที่กระทำความดี โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้น เราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดีงาม และแน่นอน เราจะตอบแทนพวกเขา ซึ่งรางวัลของพวกเขาที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขากระทำไว้”
(อันนะฮลฺ : 97)
ท่านอิบนิ กะซีร ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ อธิบายว่า นี่คือพันธะสัญญาที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ให้ไว้แก่ผู้ที่ทำความดี อันหมายถึง ความดีตามกิตาบุ้ลลอฮฺ (อัลกุรอาน) และตามซุนนะฮฺของท่านนบี ทั้งชายและหญิงจากลูกหลานนบีอาดัม โดยที่หัวใจของเขาศรัทธาต่ออัลลอฮฺและร่อซู้ล และเป็นการงานที่ถูกต้องตามบทบัญญัติ อัลลอฮฺ จะทรงให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในโลกดุนยา และจะตอบแทนในสิ่งที่ดียิ่งกว่าในโลกอาคิเราะฮฺ และคำว่า“ หะยาต ฏ็อยยิบะฮฺ “ (ชีวิตที่ดี) นั้น หมายรวมถึงความสบายใจ ความสะดวกสบายที่ได้รับในทุกๆ ด้าน
(เชค มุฮัมมัด ซอและหฺ อัลมุนญิด,ม.ป.ป)
หากผู้ชายมีนางสวรรค์เป็นคู่ครอง ผู้หญิงเล่าจะมีใครเคียงคู่ ?
เชค อิบนิ อุซัยมีน ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ ได้อธิบายว่า
“ อัลลอฮฺ ทรงตรัสถึงภรรยา (ในสวรรค์) สำหรับผู้เป็นสามีทั้งหลายก็เพราะ สามีเป็นผู้ปรารถนา เป็นผู้มีความต้องการในสตรีเพศ ด้วยเหตุนี้บรรดาภรรยาจึงถูกระบุไว้สำหรับบุรุษเพศเมื่ออยู่ในสวรรค์ ขณะเดียวกันพระองค์ไม่ได้ทรงกล่าวถึงบรรดาสามีสำหรับผู้เป็นภรรยา ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงจะไร้ซึ่งคู่ครองบนสวรรค์ หากแต่ความจริงแล้วเธอจะได้แต่งงานกับลูกหลานนบีอาดัม”
“และสำหรับพวกเจ้าในสรวงสวรรค์นั้น จะได้สิ่งที่จิตใจของพวกเจ้าปรารถนา และสำหรับพวกเจ้าในสรวงสวรรค์นั้น จะได้ในสิ่งที่พวกเจ้าเรียกร้อง เป็นการต้อนรับด้วยความเมตตาจากพระผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ”
(ฟุศศิลัต : 31-32)
หนึ่งในความใฝ่ฝันปรารถนาของปุถุชน คือการได้มีคู่ครอง หากความหวังของเขาไม่อาจเป็นจริงในดุนยา อัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงให้เขาได้แต่งงานสมหวังในอาคิเราะหฺ และหากการแต่งงานคือความสุขสดชื่นอย่างหนึ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานให้แก่บ่าวในโลกนี้ จากความหมายอายะฮฺข้างต้นทำให้สามารถเข้าใจได้ว่า พระองค์จะไม่ทรงปิดกั้นความสุขประการนี้อันเป็นศูนย์รวมของความสุขทั้งหลายในโลกหน้าเช่นกัน ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกันนี้ว่า :
“และในสวนสวรรค์นั้น จะมีสิ่งที่จิตใจของพวกเขาต้องการ และสายตาของพวกเขาชื่นชมยินดี และพวกเจ้าจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล”
( อัศศุครุฟ : 71 )
เชค อิบนิ อุซัยมีน ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า หากเธอปรารถนาที่จะแต่งงาน ในสวรรค์ สิ่งที่เธอปรารถนาก็ย่อมจะเกิดขึ้นจริง ดังความหมายโดยรวมของอายะฮฺเหล่านี้
( เชค มุฮัมมัด บิน ซอและหฺ อัลอุซัยมีน , ม.ป.ป)
สถานภาพของผู้หญิง ผู้หญิงในโลกดุนยาจะอยู่ในสภาพต่อไปนี้ ไม่ประการใดก็ประการหนึ่ง ได้แก่
1. เสียชีวิตก่อนที่จะแต่งงาน
2. เสียชีวิตหลังจากหย่าร้าง ก่อนที่จะแต่งงานใหม่
3. ได้แต่งงาน แต่สามีไม่ได้เข้าสวรรค์ด้วย (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองเราจากสภาพดังกล่าว)
4. เสียชีวิตหลังจากแต่งงาน
5. สามีเสียชีวิต และไม่ได้แต่งงานกับใครอีกจนกระทั่งเธอเสียชีวิต
6. สามีเสียชีวิต และแต่งงานใหม่
ทุกๆ สภาพของผู้หญิงข้างต้น เธอจะได้แต่งงานอีกครั้งบนสวรรค์ดังนี้
1 . ผู้หญิงที่เสียชีวิตก่อนที่จะแต่งงาน อัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้เธอได้แต่งงานกับผู้ชายบนโลกดุนยา ดังหะดีษที่ว่า :
( ما في الجنة أعزب ) “ในสวรรค์นั้นจะไม่มีคนโสด”
(บันทึกโดย อิมามมุสลิม)
เชค อิบนิ อุซัยมีน กล่าวว่า หากหญิงคนใดไม่ได้แต่งงานในดุนยา อัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงให้เธอได้แต่งงานกับผู้ที่รื่นรมย์แก่สายตาของเธอในสวรรค์ ความสุขไม่ได้จำกัดอยู่แค่กับบุรุษเพศ แต่ความสุขเป็นของทั้งชายและหญิง และความสุขหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ก็คือ การแต่งงานมีคู่ครอง
2 . หญิงที่เสียชีวิตในสภาพที่เธอหย่าร้างกับสามี เธอก็จะได้แต่งงานเช่นเดียวกับประเภทแรก
3 . หญิงที่สามีของเธอไม่ได้เป็นชาวสวรรค์ เธอก็จะได้แต่งงานใหม่
เชค อิบนิ อุซัยมีน ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ อธิบายว่า : หากผู้หญิงได้ขึ้นสวรรค์ โดยที่เธอยังไม่ได้แต่งงาน หรือสามีของเธอไม่ได้ขึ้นสวรรค์ด้วย เมื่อเธอได้เข้าสวรรค์แล้ว บนสวรรค์จะมีชายที่ยังไม่ได้แต่งงานเช่นกัน เขาก็จะได้แต่งงานกับเธอ
4 . ส่วนหญิงที่เสียชีวิตหลังจากที่แต่งงานแล้ว และเธอได้เข้าสวรรค์ เธอก็จะได้เป็นภรรยาของสามีที่เธอแต่งงานด้วยก่อนเสียชีวิต
5 . ส่วนหญิงที่สามีของเธอเสียชีวิตก่อน และเธอไม่ได้แต่งงานใหม่จนกระทั่งเสียชีวิต เธอก็จะได้เป็นภรรยาของเขาอีกครั้งในสวรรค์ ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า :
“พวกเขาและบรรดาคู่ครองของพวกเขาจะอยู่ภายใต้ร่มเงา”
(ยาซีน : 56)
“พวกเจ้าจงเข้าไปในสวนสวรรค์ ทั้งตัวของพวกเจ้าและคู่ครองของพวกเจ้า อย่างแช่มชื่นแจ่มใส”
(อัศศุครุฟ : 70)
6 . หญิงที่สามีเสียชีวิตไป แล้วเธอได้แต่งงานใหม่ ในสวรรค์เธอก็จะได้เป็นภรรยาของสามีคนสุดท้ายดังฮะดีษที่ว่า
( المرأة لآخر أزواجها ) “ผู้หญิงนั้นสำหรับสามีคนสุดท้ายของเธอ”
และจากคำพูดที่ท่านฮุซัยฟะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮอันฮุ กล่าวแก่ภรรยาของท่านว่า :
“ หากเธอปรารถนาที่จะเป็นภรรยาของฉันอีกในสวรรค์ ก็จงอย่าได้แต่งงานกับใครอื่นอีกหลังจากฉัน เพราะแท้จริง ผู้หญิงจะเป็นกรรมสิทธิ์ของสามีคนสุดท้ายของเธอในโลกดุนยา ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ จึงทรงห้ามบรรดาภรรยานบีไม่ให้แต่งงานใหม่ เพราะนางเหล่านั้นจะเป็นภรรยาของท่านนบีในสวรรค์”
( สุลัยมาน บิน ซอและหฺ อัลคุร่อชียฺ , ม.ป.ป )
หรือในอีกทัศนะหนึ่งระบุว่า เธอสามารถเลือกสามีที่มีนิสัย และมารยาทดีที่สุด จากบรรดาสามีที่เธอเคยแต่งงานด้วยในโลกดุนยาเป็นคู่ครอง ( อัลลอฮฺ ทรงทราบดีที่สุด)
หญิงชราจะกลับมาเป็นสาวบริสุทธิ์
ผู้หญิงจะได้พำนักอยู่ในสวรรค์ในสภาพที่เธอกลับมาเป็นสาวแรกรุ่นอีกครั้ง ดังที่พระองค์ตรัสว่า :
“แท้จริงเราได้บังเกิดนางเหล่านั้นขึ้นมาอีกครั้ง และเราได้ทำให้พวกนางกลายเป็นสาวพรหมจรรย์”
(อัลวากิอะฮฺ : 35)
หมายถึง พระองค์ได้ทรงทำให้ร่างกายหญิงชรากลับมาเป็นสาวแรกรุ่นเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงทำให้ชายชรากลับมาหนุ่มแน่น (เชค มุฮัมมัด ซอและหฺ อัลมุนญิด, ม.ป.ป)
และมีหะดีษระบุว่า :
إن الجنة لايدخلها عجوز …. إن الله تعالى إذا أدخلهن الجنة حولهن أبكارا
“แท้จริง คนชราจะไม่ได้เข้าสวรรค์… แท้ที่จริงแล้ว เมื่ออัลลอฮฺ ให้เธอเหล่านั้นเข้าสวรรค์ พระองค์จะทรงทำให้เธอเป็นสาวบริสุทธิ์”
เหตุใดจึงมีดุอาในละหมาดญะนาซะฮฺว่า ให้พระองค์เปลี่ยนสามีที่ดีกว่า ?
เวลาที่เราขอดุอาขณะละหมาดญะนาซะฮฺ เราขอว่า
( وأبدلها زوجا خيرا من زوجها ) “ขออัลลอฮฺ ทรงเปลี่ยนให้แก่เธอ ซึ่งสามีที่ดีกว่าสามีของเธอ”
คำถามคือ ถ้าหากผู้หญิงคนนั้นแต่งงานแล้ว เหตุใดเราจึงขอดุอาเช่นนี้ให้กับเธอ ทั้งๆ ที่เราทราบดีว่า หากเธอได้เป็นชาวสวรรค์ สามีของเธอในโลกดุนยาก็จะยังคงเป็นสามีของเธออีกในโลกอาคิเราะฮฺ ?
คำตอบในที่นี้คือ คำตอบของท่านเชค อิบนิ อุซัยมีน ที่อธิบายไว้มีความหมายโดยสรุปว่า
“หากว่าผู้หญิงคนนั้นไม่ได้แต่งงาน ความหมายของดุอาในที่นี้หมายถึง สามีที่ดีกว่าสามีที่ถูกกำหนดไว้ให้เธอในสวรรค์ และหากว่าหญิงคนนั้นแต่งงานแล้ว ความหมายที่ว่าดีกว่าสามีของเธอ ก็คือ ดีกว่าสามีคนเดิมในด้านคุณลักษณะต่างๆ ในดุนยา เพราะการปรับเปลี่ยนในที่นี้สามารถหมายรวมถึงการเปลี่ยนตัวตนหรือเปลี่ยนคุณลักษณะ”
ใครประเสริฐกว่ากันระหว่าง หญิงผู้ศรัทธากับฮูรุ้ลอีน ?
หญิงผู้ศรัทธาที่เป็นชาวสวรรค์นั้น ประเสริฐกว่า “ฮูรุ้ลอีน” เพราะเธอต้องอดทนพากเพียรในการฏออะฮฺ ในการทำอิบาดะฮฺ เธอจึงได้รับความประเสริฐกว่านางสวรรค์เป็นหลายเท่าตัว อีกทั้งอัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงให้เธอมีความวิจิตรงดงามกว่านางสวรรค์อีกด้วย (และอัลลอฮฺ นั้น เป็นผู้ทรงทราบดีที่สุด)
ลูกหลานจะอยู่ร่วมด้วยในสวรรค์
อีกความกรุณาอันใหญ่หลวงประการหนึ่งก็คือ หากทั้งสามีและภรรยาได้เข้าสวรรค์ อัลลอฮฺ จะทรงรวมบุตรหลานของเขาทั้งสองไว้ในสวรรค์ด้วย ดังดำรัสของพระองค์ที่ตรัสถึงมลาอิกะฮฺผู้แบกบัลลังก์ ขณะกล่าววิงวอนแก่ศรัทธาชนว่า :
“ข้าแต่พระเจ้าของเรา และขอพระองค์ทรงให้พวกเขาได้เข้าในสรวงสวรรค์หลากหลายอันสถาพร ซึ่งพระองค์ได้ทรงสัญญาแก่พวกเขา พร้อมทั้งผู้กระทำความดีจากบรรพบุรุษของพวกเขา และคู่ครองของพวกเขาและลูกหลานของพวกเขา แท้จริงพระองค์ท่านนั้นเป็นผู้ทรงมีอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ”
(ฆอฟิร : 8)
และอีกอายะฮฺหนึ่งที่ว่า :
“และบรรดาผู้ศรัทธา บรรดาลูกหลานของพวกเขาจะดำเนินตามพวกเขาด้วยการศรัทธา เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขา และเราจะไม่ให้การงานของพวกเขาลดหย่อนลงจากพวกเขาแต่อย่างใด”
(อัฏฏู๊ร : 21)
สวรรค์ของผู้หญิงมีหนทางให้แสวงหามากมาย สำคัญอยู่ที่การศึกษาหาความรู้ รู้ถูกรู้ผิด และยึดมั่นปฏิบัติตนอยู่บนความถูกต้องอย่างไม่อ่อนไหว แม้เพศหญิงจะเป็นเพศที่บอบบางอ่อนไหวง่ายก็จริง แต่ความเข้มแข็ง ยืนหยัดและมั่นคงในหน้าที่ของผู้ศรัทธาไม่ได้จำกัดความสามารถอยู่ที่เพศชายเท่านั้น การแสวงหาใคร่รู้ถึงผลตอบแทนในโลกหน้าจะไม่มีประโยชน์ใดๆ หากไม่ได้ตระเตรียมเสบียงเพื่อเตรียมตัวพำนักในแดนไกล ดุนยาคือทางผ่านอันแสนสั้น แต่ที่คงเหลือคือความอมตะนิจนิรันดร์ ไม่ในสวรรค์ก็ในเพลิงไฟ
ท่านร่อซู้ล ได้แนะแนวหญิงผู้ศรัทธาถึงวิธีการที่จะทำให้ได้เข้าสวรรค์อย่างง่ายดาย ท่านกล่าวว่า :
( إذا صلت المرأة خمسها وصامت شهرها وحصنت فرجها وأطاعت زوجها قيل لها : ادخلي الجنة من أي أبواب الجنة شئت )
“ เมื่อสตรีละหมาดครบห้าเวลา ถือศีลอดในเดือนของเธอ รักษาอวัยวะสงวน และเชื่อฟังสามีของเธอ
จะมีผู้กล่าวแก่เธอว่า : จงเข้าสู่สววรค์ทางประตูใดก็ได้ที่เธอปรารถนาเถิด”
(บันทึกโดย อิบนิ ฮิบบาน)
ขออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา โปรดทรงให้ความดีเป็นเรื่องง่ายดาย และให้หัวใจของเราคล้อยตามความดีนั้น โปรดประทานสรวงสวรรค์ และดลบรรดาลสิ่งที่จะทำให้เข้าใกล้สรวงสวรรค์ และขอคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากขุมนรก และสิ่งที่ทำให้เข้าใกล้ขุมนรก เพื่อที่เราจะได้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ได้พบกับ สิ่งที่สายตาไม่เคยแลเห็น เสียงที่หูไม่เคยได้ยิน และหัวใจของเราไม่เคยนึกฝันมาก่อนด้วยเถิด อามีน
ที่มา:https://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=47&id=3709
รางวัลตอบแทนของผู้หญิงในสวรรค์
โดย … อุมมุ อุ้ลยา
บางครั้งผู้หญิงอาจมีคำถามค้างคาอยู่ในใจเวลาที่ได้อ่านอัลกุรอานเกี่ยวกับอายะฮฺที่กล่าวถึงผลตอบแทนของผู้ชายที่เป็นชาวสวรรค์ว่า เขาจะได้รับเกียรติให้ครองคู่กับฮูรุ้ลอีน ( นางสวรรค์ที่มีนัยน์ตาคมโต ) บนสววรค์ คำถามจึงผุดขึ้นมาในหัวของคนเราว่า “แล้วผู้หญิงจะได้รับอะไร ? มีนายสวรรค์หรือไม่? แล้วสามีที่แต่งงานอยู่กินกันไปอยู่ที่ไหน? ฯลฯ”
ต่อไปนี้คือคำตอบที่จะไล่เรียงให้ท่านทราบว่า ผลตอบแทนหรือรางวัลของสตรีมุสลิมะฮฺในสรวงสวรรค์นั้นคืออะไร ? ( และอัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงเป็นผู้รอบรู้ที่สุด)
อันดับแรก เราในฐานะผู้ศรัทธาต้องยอมรับก่อนว่า อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงมีสิทธิ์และอำนาจโดยสมบูรณ์ในการทำตามพระประสงค์ของพระองค์ พระองค์ไม่ทรงถูกสอบถาม หรือตั้งข้อสงสัยใดๆ ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า :
“พระองค์ไม่ทรงถูกสอบถามในสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำ แต่พวกเขาต่างหากที่ถูกสอบถาม”
(อัลอัมบิยาอฺ : 23)
และเราในฐานะผู้เป็นบ่าวจะต้องยอมรับโดยดุษฎีว่า พระองค์จะไม่ทรงอธรรมปวงบ่าวของพระองค์โดยเด็ดขาดแม้แต่เพียงเล็กน้อย ดังที่พระองค์ตรัสว่า
“และผู้ใดที่กระทำความดีจากทั้งชายและหญิง โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา พวกเขาเหล่านั้นจะได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรมแม้ (จะมีขนาดเพียง) ร่องอินทผาลัมก็ตาม”
( อันนิสาอฺ : 124 )
ท่านอิบนิ กะซีร ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ อธิบายว่า อายะฮฺนี้เป็นการบรรยายถึงความดีงาม ความเมตตากรุณาของพระองค์ในการตอบรับการงานที่ดีจากปวงบ่าวทั้งชายและหญิง ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ต้องมีอีหม่าน (ศรัทธา)
ดังนั้น คำถามที่ถูกตั้งขึ้นเกี่ยวกับสวรรค์และผลตอบแทนต่างๆ นั้น จึงต้องไม่ถูกถามเพราะความเคลือบแคลงสงสัย แต่ถามเพราะใคร่รู้ เพื่อเพิ่มศรัทธา เพื่อเติมเชื้อเพลิงให้กระตือรือร้นในการอิบาดะฮฺ ซึ่งโดยปกติแล้วคนเราไม่ว่าชายหรือหญิงล้วนแล้วแต่ปรารถนาและมีความหวังเสมอเมื่อเอ่ยถึงสวรรค์และความสุขต่างๆ ที่จะได้รับบนสวรรค์ แต่ความหวังนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ไม่ได้เป็นความหวังเล่นๆ ที่ไร้สาระ หวังที่ไม่ทำการงานที่ดีใดๆ เพื่อให้สมหวัง
( สุลัยมาน บิน ซอและหฺ อัลคุร่อชียฺ , ม.ป.ป )
อัลลอฮฺ ตรัสความว่า
“และนั่นคือ สรวงสวรรค์ ที่พวกเจ้าถูกให้รับเป็นมรดก ตามที่พวกเจ้าได้กระทำ (ความดี)ไว้”
(อัศศุครุฟ : 72 )
รางวัลตอบแทนนี้จะได้รับทั้งชายกับหญิงหรือไม่ ?
ผลตอบแทนที่อัลลอฮฺ ตะอาลาจะทรงประทานให้บนสวรรค์นั้นครอบคลุมทั้งชายและหญิง ดังดำรัสของพระองค์ที่ความว่า
“แท้จริงข้า (อัลลอฮฺ) จะไม่ทำให้การงานของผู้กระทำจากชายหรือหญิงนั้น สูญหายเป็นอันขาด”
(อาละอิมรอน : 195)
เมื่อพระองค์ตรัสแก่บ่าวแล้วว่าพระองค์จะไม่ทรงอธรรม และพระองค์จะไม่ทรงทำให้ความดีที่กระทำด้วยศรัทธา ด้วยความถูกต้องและบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ต้องสูญเปล่า ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่า หากผู้หญิงได้เป็นชาวสวรรค์เธอจะได้รับผลตอบแทนตามความดีที่เธอทำเช่นเดียวกับผู้ชาย จะมีชีวิตใหม่หลังจากฟื้นคืนชีพที่รื่นรมย์และผาสุก ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสยืนยันไว้เช่นกันความว่า
“ผู้ใดก็ตามจากชายหรือหญิงที่กระทำความดี โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้น เราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดีงาม และแน่นอน เราจะตอบแทนพวกเขา ซึ่งรางวัลของพวกเขาที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขากระทำไว้”
(อันนะฮลฺ : 97)
ท่านอิบนิ กะซีร ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ อธิบายว่า นี่คือพันธะสัญญาที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ให้ไว้แก่ผู้ที่ทำความดี อันหมายถึง ความดีตามกิตาบุ้ลลอฮฺ (อัลกุรอาน) และตามซุนนะฮฺของท่านนบี ทั้งชายและหญิงจากลูกหลานนบีอาดัม โดยที่หัวใจของเขาศรัทธาต่ออัลลอฮฺและร่อซู้ล และเป็นการงานที่ถูกต้องตามบทบัญญัติ อัลลอฮฺ จะทรงให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในโลกดุนยา และจะตอบแทนในสิ่งที่ดียิ่งกว่าในโลกอาคิเราะฮฺ และคำว่า“ หะยาต ฏ็อยยิบะฮฺ “ (ชีวิตที่ดี) นั้น หมายรวมถึงความสบายใจ ความสะดวกสบายที่ได้รับในทุกๆ ด้าน
(เชค มุฮัมมัด ซอและหฺ อัลมุนญิด,ม.ป.ป)
หากผู้ชายมีนางสวรรค์เป็นคู่ครอง ผู้หญิงเล่าจะมีใครเคียงคู่ ?
เชค อิบนิ อุซัยมีน ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ ได้อธิบายว่า
“ อัลลอฮฺ ทรงตรัสถึงภรรยา (ในสวรรค์) สำหรับผู้เป็นสามีทั้งหลายก็เพราะ สามีเป็นผู้ปรารถนา เป็นผู้มีความต้องการในสตรีเพศ ด้วยเหตุนี้บรรดาภรรยาจึงถูกระบุไว้สำหรับบุรุษเพศเมื่ออยู่ในสวรรค์ ขณะเดียวกันพระองค์ไม่ได้ทรงกล่าวถึงบรรดาสามีสำหรับผู้เป็นภรรยา ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงจะไร้ซึ่งคู่ครองบนสวรรค์ หากแต่ความจริงแล้วเธอจะได้แต่งงานกับลูกหลานนบีอาดัม”
“และสำหรับพวกเจ้าในสรวงสวรรค์นั้น จะได้สิ่งที่จิตใจของพวกเจ้าปรารถนา และสำหรับพวกเจ้าในสรวงสวรรค์นั้น จะได้ในสิ่งที่พวกเจ้าเรียกร้อง เป็นการต้อนรับด้วยความเมตตาจากพระผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ”
(ฟุศศิลัต : 31-32)
หนึ่งในความใฝ่ฝันปรารถนาของปุถุชน คือการได้มีคู่ครอง หากความหวังของเขาไม่อาจเป็นจริงในดุนยา อัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงให้เขาได้แต่งงานสมหวังในอาคิเราะหฺ และหากการแต่งงานคือความสุขสดชื่นอย่างหนึ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานให้แก่บ่าวในโลกนี้ จากความหมายอายะฮฺข้างต้นทำให้สามารถเข้าใจได้ว่า พระองค์จะไม่ทรงปิดกั้นความสุขประการนี้อันเป็นศูนย์รวมของความสุขทั้งหลายในโลกหน้าเช่นกัน ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกันนี้ว่า :
“และในสวนสวรรค์นั้น จะมีสิ่งที่จิตใจของพวกเขาต้องการ และสายตาของพวกเขาชื่นชมยินดี และพวกเจ้าจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล”
( อัศศุครุฟ : 71 )
เชค อิบนิ อุซัยมีน ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า หากเธอปรารถนาที่จะแต่งงาน ในสวรรค์ สิ่งที่เธอปรารถนาก็ย่อมจะเกิดขึ้นจริง ดังความหมายโดยรวมของอายะฮฺเหล่านี้
( เชค มุฮัมมัด บิน ซอและหฺ อัลอุซัยมีน , ม.ป.ป)
สถานภาพของผู้หญิง ผู้หญิงในโลกดุนยาจะอยู่ในสภาพต่อไปนี้ ไม่ประการใดก็ประการหนึ่ง ได้แก่
1. เสียชีวิตก่อนที่จะแต่งงาน
2. เสียชีวิตหลังจากหย่าร้าง ก่อนที่จะแต่งงานใหม่
3. ได้แต่งงาน แต่สามีไม่ได้เข้าสวรรค์ด้วย (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองเราจากสภาพดังกล่าว)
4. เสียชีวิตหลังจากแต่งงาน
5. สามีเสียชีวิต และไม่ได้แต่งงานกับใครอีกจนกระทั่งเธอเสียชีวิต
6. สามีเสียชีวิต และแต่งงานใหม่
ทุกๆ สภาพของผู้หญิงข้างต้น เธอจะได้แต่งงานอีกครั้งบนสวรรค์ดังนี้
1 . ผู้หญิงที่เสียชีวิตก่อนที่จะแต่งงาน อัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้เธอได้แต่งงานกับผู้ชายบนโลกดุนยา ดังหะดีษที่ว่า :
( ما في الجنة أعزب ) “ในสวรรค์นั้นจะไม่มีคนโสด”
(บันทึกโดย อิมามมุสลิม)
เชค อิบนิ อุซัยมีน กล่าวว่า หากหญิงคนใดไม่ได้แต่งงานในดุนยา อัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงให้เธอได้แต่งงานกับผู้ที่รื่นรมย์แก่สายตาของเธอในสวรรค์ ความสุขไม่ได้จำกัดอยู่แค่กับบุรุษเพศ แต่ความสุขเป็นของทั้งชายและหญิง และความสุขหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ก็คือ การแต่งงานมีคู่ครอง
2 . หญิงที่เสียชีวิตในสภาพที่เธอหย่าร้างกับสามี เธอก็จะได้แต่งงานเช่นเดียวกับประเภทแรก
3 . หญิงที่สามีของเธอไม่ได้เป็นชาวสวรรค์ เธอก็จะได้แต่งงานใหม่
เชค อิบนิ อุซัยมีน ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ อธิบายว่า : หากผู้หญิงได้ขึ้นสวรรค์ โดยที่เธอยังไม่ได้แต่งงาน หรือสามีของเธอไม่ได้ขึ้นสวรรค์ด้วย เมื่อเธอได้เข้าสวรรค์แล้ว บนสวรรค์จะมีชายที่ยังไม่ได้แต่งงานเช่นกัน เขาก็จะได้แต่งงานกับเธอ
4 . ส่วนหญิงที่เสียชีวิตหลังจากที่แต่งงานแล้ว และเธอได้เข้าสวรรค์ เธอก็จะได้เป็นภรรยาของสามีที่เธอแต่งงานด้วยก่อนเสียชีวิต
5 . ส่วนหญิงที่สามีของเธอเสียชีวิตก่อน และเธอไม่ได้แต่งงานใหม่จนกระทั่งเสียชีวิต เธอก็จะได้เป็นภรรยาของเขาอีกครั้งในสวรรค์ ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า :
“พวกเขาและบรรดาคู่ครองของพวกเขาจะอยู่ภายใต้ร่มเงา”
(ยาซีน : 56)
“พวกเจ้าจงเข้าไปในสวนสวรรค์ ทั้งตัวของพวกเจ้าและคู่ครองของพวกเจ้า อย่างแช่มชื่นแจ่มใส”
(อัศศุครุฟ : 70)
6 . หญิงที่สามีเสียชีวิตไป แล้วเธอได้แต่งงานใหม่ ในสวรรค์เธอก็จะได้เป็นภรรยาของสามีคนสุดท้ายดังฮะดีษที่ว่า
( المرأة لآخر أزواجها ) “ผู้หญิงนั้นสำหรับสามีคนสุดท้ายของเธอ”
และจากคำพูดที่ท่านฮุซัยฟะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮอันฮุ กล่าวแก่ภรรยาของท่านว่า :
“ หากเธอปรารถนาที่จะเป็นภรรยาของฉันอีกในสวรรค์ ก็จงอย่าได้แต่งงานกับใครอื่นอีกหลังจากฉัน เพราะแท้จริง ผู้หญิงจะเป็นกรรมสิทธิ์ของสามีคนสุดท้ายของเธอในโลกดุนยา ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ จึงทรงห้ามบรรดาภรรยานบีไม่ให้แต่งงานใหม่ เพราะนางเหล่านั้นจะเป็นภรรยาของท่านนบีในสวรรค์”
( สุลัยมาน บิน ซอและหฺ อัลคุร่อชียฺ , ม.ป.ป )
หรือในอีกทัศนะหนึ่งระบุว่า เธอสามารถเลือกสามีที่มีนิสัย และมารยาทดีที่สุด จากบรรดาสามีที่เธอเคยแต่งงานด้วยในโลกดุนยาเป็นคู่ครอง ( อัลลอฮฺ ทรงทราบดีที่สุด)
หญิงชราจะกลับมาเป็นสาวบริสุทธิ์
ผู้หญิงจะได้พำนักอยู่ในสวรรค์ในสภาพที่เธอกลับมาเป็นสาวแรกรุ่นอีกครั้ง ดังที่พระองค์ตรัสว่า :
“แท้จริงเราได้บังเกิดนางเหล่านั้นขึ้นมาอีกครั้ง และเราได้ทำให้พวกนางกลายเป็นสาวพรหมจรรย์”
(อัลวากิอะฮฺ : 35)
หมายถึง พระองค์ได้ทรงทำให้ร่างกายหญิงชรากลับมาเป็นสาวแรกรุ่นเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงทำให้ชายชรากลับมาหนุ่มแน่น (เชค มุฮัมมัด ซอและหฺ อัลมุนญิด, ม.ป.ป)
และมีหะดีษระบุว่า :
إن الجنة لايدخلها عجوز …. إن الله تعالى إذا أدخلهن الجنة حولهن أبكارا
“แท้จริง คนชราจะไม่ได้เข้าสวรรค์… แท้ที่จริงแล้ว เมื่ออัลลอฮฺ ให้เธอเหล่านั้นเข้าสวรรค์ พระองค์จะทรงทำให้เธอเป็นสาวบริสุทธิ์”
เหตุใดจึงมีดุอาในละหมาดญะนาซะฮฺว่า ให้พระองค์เปลี่ยนสามีที่ดีกว่า ?
เวลาที่เราขอดุอาขณะละหมาดญะนาซะฮฺ เราขอว่า
( وأبدلها زوجا خيرا من زوجها ) “ขออัลลอฮฺ ทรงเปลี่ยนให้แก่เธอ ซึ่งสามีที่ดีกว่าสามีของเธอ”
คำถามคือ ถ้าหากผู้หญิงคนนั้นแต่งงานแล้ว เหตุใดเราจึงขอดุอาเช่นนี้ให้กับเธอ ทั้งๆ ที่เราทราบดีว่า หากเธอได้เป็นชาวสวรรค์ สามีของเธอในโลกดุนยาก็จะยังคงเป็นสามีของเธออีกในโลกอาคิเราะฮฺ ?
คำตอบในที่นี้คือ คำตอบของท่านเชค อิบนิ อุซัยมีน ที่อธิบายไว้มีความหมายโดยสรุปว่า
“หากว่าผู้หญิงคนนั้นไม่ได้แต่งงาน ความหมายของดุอาในที่นี้หมายถึง สามีที่ดีกว่าสามีที่ถูกกำหนดไว้ให้เธอในสวรรค์ และหากว่าหญิงคนนั้นแต่งงานแล้ว ความหมายที่ว่าดีกว่าสามีของเธอ ก็คือ ดีกว่าสามีคนเดิมในด้านคุณลักษณะต่างๆ ในดุนยา เพราะการปรับเปลี่ยนในที่นี้สามารถหมายรวมถึงการเปลี่ยนตัวตนหรือเปลี่ยนคุณลักษณะ”
ใครประเสริฐกว่ากันระหว่าง หญิงผู้ศรัทธากับฮูรุ้ลอีน ?
หญิงผู้ศรัทธาที่เป็นชาวสวรรค์นั้น ประเสริฐกว่า “ฮูรุ้ลอีน” เพราะเธอต้องอดทนพากเพียรในการฏออะฮฺ ในการทำอิบาดะฮฺ เธอจึงได้รับความประเสริฐกว่านางสวรรค์เป็นหลายเท่าตัว อีกทั้งอัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงให้เธอมีความวิจิตรงดงามกว่านางสวรรค์อีกด้วย (และอัลลอฮฺ นั้น เป็นผู้ทรงทราบดีที่สุด)
ลูกหลานจะอยู่ร่วมด้วยในสวรรค์
อีกความกรุณาอันใหญ่หลวงประการหนึ่งก็คือ หากทั้งสามีและภรรยาได้เข้าสวรรค์ อัลลอฮฺ จะทรงรวมบุตรหลานของเขาทั้งสองไว้ในสวรรค์ด้วย ดังดำรัสของพระองค์ที่ตรัสถึงมลาอิกะฮฺผู้แบกบัลลังก์ ขณะกล่าววิงวอนแก่ศรัทธาชนว่า :
“ข้าแต่พระเจ้าของเรา และขอพระองค์ทรงให้พวกเขาได้เข้าในสรวงสวรรค์หลากหลายอันสถาพร ซึ่งพระองค์ได้ทรงสัญญาแก่พวกเขา พร้อมทั้งผู้กระทำความดีจากบรรพบุรุษของพวกเขา และคู่ครองของพวกเขาและลูกหลานของพวกเขา แท้จริงพระองค์ท่านนั้นเป็นผู้ทรงมีอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ”
(ฆอฟิร : 8)
และอีกอายะฮฺหนึ่งที่ว่า :
“และบรรดาผู้ศรัทธา บรรดาลูกหลานของพวกเขาจะดำเนินตามพวกเขาด้วยการศรัทธา เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขา และเราจะไม่ให้การงานของพวกเขาลดหย่อนลงจากพวกเขาแต่อย่างใด”
(อัฏฏู๊ร : 21)
สวรรค์ของผู้หญิงมีหนทางให้แสวงหามากมาย สำคัญอยู่ที่การศึกษาหาความรู้ รู้ถูกรู้ผิด และยึดมั่นปฏิบัติตนอยู่บนความถูกต้องอย่างไม่อ่อนไหว แม้เพศหญิงจะเป็นเพศที่บอบบางอ่อนไหวง่ายก็จริง แต่ความเข้มแข็ง ยืนหยัดและมั่นคงในหน้าที่ของผู้ศรัทธาไม่ได้จำกัดความสามารถอยู่ที่เพศชายเท่านั้น การแสวงหาใคร่รู้ถึงผลตอบแทนในโลกหน้าจะไม่มีประโยชน์ใดๆ หากไม่ได้ตระเตรียมเสบียงเพื่อเตรียมตัวพำนักในแดนไกล ดุนยาคือทางผ่านอันแสนสั้น แต่ที่คงเหลือคือความอมตะนิจนิรันดร์ ไม่ในสวรรค์ก็ในเพลิงไฟ
ท่านร่อซู้ล ได้แนะแนวหญิงผู้ศรัทธาถึงวิธีการที่จะทำให้ได้เข้าสวรรค์อย่างง่ายดาย ท่านกล่าวว่า :
( إذا صلت المرأة خمسها وصامت شهرها وحصنت فرجها وأطاعت زوجها قيل لها : ادخلي الجنة من أي أبواب الجنة شئت )
“ เมื่อสตรีละหมาดครบห้าเวลา ถือศีลอดในเดือนของเธอ รักษาอวัยวะสงวน และเชื่อฟังสามีของเธอ
จะมีผู้กล่าวแก่เธอว่า : จงเข้าสู่สววรค์ทางประตูใดก็ได้ที่เธอปรารถนาเถิด”
(บันทึกโดย อิบนิ ฮิบบาน)
ขออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา โปรดทรงให้ความดีเป็นเรื่องง่ายดาย และให้หัวใจของเราคล้อยตามความดีนั้น โปรดประทานสรวงสวรรค์ และดลบรรดาลสิ่งที่จะทำให้เข้าใกล้สรวงสวรรค์ และขอคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากขุมนรก และสิ่งที่ทำให้เข้าใกล้ขุมนรก เพื่อที่เราจะได้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ได้พบกับ สิ่งที่สายตาไม่เคยแลเห็น เสียงที่หูไม่เคยได้ยิน และหัวใจของเราไม่เคยนึกฝันมาก่อนด้วยเถิด อามีน
ที่มา:https://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=47&id=3709
Tags: